เจ้าฟ้านักอ่าน เจ้าหญิงนักเขียน จากพระนามเล่นสู่ที่มาของพระนามแฝงในพระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระเทพฯ

ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่ http://panyayan.tnews.co.th/

เจ้าฟ้านักอ่าน เจ้าหญิงนักเขียน จากพระนามเล่นสู่ที่มาของพระนามแฝงในพระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระเทพฯ

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถทรงปลูกฝังให้พระราชโอรสพระราชธิดาทรงรักการอ่านหนังสือตั้งแต่พระชนม์เพียง ๖-๗ พรรษา หรือกล่าวได้ว่าตั้งแต่ทรงเริ่มอ่านหนังสือออก ทรงใช้วิธีหัดให้ทรงอ่านหนังสือวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เช่น พระอภัยมณี อิเหนา รามเกียรติ์ เป็นต้น จนทรงท่องจำกลอนได้หลายบท นอกจากนี้ ยังทรงซื้อหนังสืออื่น ๆ มาทรงอ่าน แล้วทรงเล่าพระราชทานพระราชโอรสพระราชธิดา เป็นต้นว่า หนังสือนิทานสำหรับเด็ก ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญ พุทธศาสนา เรื่องเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมทั้งของไทยและต่างประเทศ หนังสือพิมพ์ ทรงสอนให้ทรงจดและทรงท่องคำศัพท์ และทรงจัดหาครูผู้ทรงคุณวุฒิมาถวายพระอักษรวิชาต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพื้นความรู้ทางวิชาการด้านอักษรศาสตร์ดีมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์

เมื่อทรงเจริญพระชันษา นอกจากจะทรงศึกษาในชั้นเรียนปกติแล้ว ยังทรงปรึกษาขอคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิอยู่เสมอ และทรงศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เองด้วย

เช่น เมื่อเสด็จพระราชดำเนินเยือนสถานที่ต่าง ๆ ก็จะทรงศึกษาประวัติความเป็นมา ชีวิตความเป็นอยู่ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของสถานที่เหล่านั้น

เจ้าฟ้านักอ่าน เจ้าหญิงนักเขียน จากพระนามเล่นสู่ที่มาของพระนามแฝงในพระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระเทพฯ

ด้านการอ่านนั้น ทำให้พระองค์ทรงเชี่ยวชาญทางด้านภาษาศาสตร์ วรรณคดี และศิลปะไทย

เมื่อทรงจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พระองค์พอรู้แน่ว่าอย่างไรก็คงไม่ได้เรียนแผนกวิทยาศาสตร์ จึงพยายามหัดเรียนภาษาบาลี อ่านเขียนอักษรขอม

เนื่องจากในสมัยนั้น ผู้ที่จะเรียนภาษาไทยให้กว้างขวาง ลึกซึ้ง จะต้องเรียนทั้งภาษาบาลี สันสกฤต และเขมร ซึ่งภาษาบาลีนั้น เป็นภาษาที่พระองค์สนพระทัยตั้งแต่ทรงพระเยาว์

แต่ได้เริ่มเรียนอย่างจริงจังในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนสามารถจำการแจกวิภัตติเบื้องต้นที่สำคัญได้ และเข้าพระทัยโครงสร้างและลักษณะทั่วไปของภาษาบาลีได้

 

เจ้าฟ้านักอ่าน เจ้าหญิงนักเขียน จากพระนามเล่นสู่ที่มาของพระนามแฝงในพระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระเทพฯ

ในส่วนของด้านงานพระราชนิพนธ์

พระองค์ยังทรงมีนามแฝงอื่นๆนอกจากพระนาม "สิรินธร" ทรงใช้นามปากกาในการพระราชนิพนธ์หนังสืออีก 4 พระนาม ได้แก่

 

1. "ก้อนหินก้อนกรวด" เป็นพระนามแฝงที่ทรงหมายถึง พระองค์และพระสหาย สามารถแยกได้เป็น ก้อนหิน หมายถึง พระองค์เอง ส่วนก้อนกรวด หมายถึง กุณฑิกา ไกรฤกษ์ พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า “เราตัวโตเลยใช้ว่า ก้อนหิน หวานตัวเล็ก เลยใช้ว่า ก้อนกรวด รวมกันจึงเป็น ก้อนหิน-ก้อนกรวด” นามปากกานี้ ทรงใช้ครั้งเดียวตอนประพันธ์บทความ "เรื่องจากเมืองอิสราเอล" เมื่อปี พ.ศ. 2520

2. "แว่นแก้ว" เป็นชื่อที่พระองค์ทรงตั้งขึ้นเอง ซึ่งพระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า "ชื่อแว่นแก้ว นี้ตั้งเอง เพราะตอนเด็กๆ ชื่อลูกแก้ว ตัวเองอยากชื่อแก้ว ทำไมถึงเปลี่ยนไปไม่รู้เหมือนกัน แล้วก็ชอบเพลงน้อยใจยา นางเอกชื่อ แว่นแก้ว" พระนามแฝง แว่นแก้วนี้ พระองค์เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2521 เมื่อทรงพระราชนิพนธ์และทรงแปลเรื่องสำหรับเด็ก ได้แก่ แก้วจอมซน แก้วจอมแก่น และขบวนการนกกางเขน

 

เจ้าฟ้านักอ่าน เจ้าหญิงนักเขียน จากพระนามเล่นสู่ที่มาของพระนามแฝงในพระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระเทพฯ

เจ้าฟ้านักอ่าน เจ้าหญิงนักเขียน จากพระนามเล่นสู่ที่มาของพระนามแฝงในพระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระเทพฯ

3. "หนูน้อย" พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า "เรามีชื่อเล่นที่เรียกกันในครอบครัวว่า น้อย เลยใช้นามแฝงว่า หนูน้อย" โดยพระองค์ทรงใช้เพียงครั้งเดียวในบทความเรื่อง “ป๋องที่รัก” ตีพิมพ์ในหนังสือ 25 ปีจิตรลดา เมื่อปี พ.ศ. 2523

4. "บันดาล" พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า "ใช้ว่า บันดาลเพราะคำนี้ผุดขึ้นมาในสมอง เลยใช้เป็นนามแฝง ไม่มีเหตุผลอะไรในการใช้ชื่อนี้เลย" ซึ่งพระองค์ทรงใช้ในงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ทรงทำให้สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ. 2526

เรียบเรียงข่าวจาก : เว็บ “sirindhorn” , วิกิพีเดีย

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม : พระผู้เป็นแบบอย่าง!!! คลายสงสัย หลังโลกออนไลน์แชร์ภาพนี้ ขณะ "สมเด็จพระเทพฯ" ระหว่างรอรับเสด็จในหลวง ร.10 ในงานพระราชพิธี #ทรงพระเจริญ 

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม : ปิติล้นความสุข!! โซเชียลแชร์เรื่องประทับใจ "สมเด็จพระเทพฯ" เสด็จฯอุทัยธานี กับจุดเริ่มต้นห้องสมุดจากแรงบันดาลใจจากเจ้าฟ้านักประพันธ์ #ขอทรงพระเจริญ

 

 

โดย : ไญยิกา เมืองจำนงค์ (ทีมข่าวปัญญาญาณ ทีนิวส์)