บิดเบือนขนาดนี้...ยังกล้าใช้!!? ชาวธรรมกายปักธง "ธงฉัพพรรณรังสี - ธงประจำพระพุทธศาสนา" รอบอาณาเขตวัด !!!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

บิดเบือนขนาดนี้...ยังกล้าใช้!!? ชาวธรรมกายปักธง "ธงฉัพพรรณรังสี - ธงประจำพระพุทธศาสนา" รอบอาณาเขตวัด !!!

             สืบเนื่องจากกรณีการบุกตรวจค้นวัดพระธรรมกายของเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ร่วมกับสำนักพระพุทธศาสนา เจ้าคณะจังหวัดปทุมฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ช่วงเวลาประมาณ 01.00น.ของวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา โดยเว็บไซต์ของราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการให้อำนาจกำหนดพื้นที่ควบคุมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ 15 ก.พ. 60

         จากภาพลูกศิษย์ได้ทำธงหลากหลายสีมาผูกติดไว้กับแผงกั้นที่บริเวณข้างคลองแอล เมื่อสอบถามว่าเป็นธงอะไร ทางลูกศิษย์บอกว่าเป็นธงศาสนาพุทธสากล จึงได้ตรวจสอบข้อมูลของธง และได้ข้อมูลว่าธงนั้นเรียกอีกอย่างว่า "ธงฉัพพัณณรังสี"

               ธงฉัพพรรณรังสิ : ธงศาสนาพุทธ

             หรือ ธงประจำศาสนาพุทธ สำหรับเมืองไทย ธงนี้อาจจะไม่คุ้นตากันสักเท่าไหร่ เพราะบ้านเราเลือกใช้ธงธรรมจักรเป็นธงประจำพุทธศาสนา แต่ในสากลทั่วโลกที่นับถือพุทธศาสนา นิยมใช้ธงฉัพพรรณรังสีนี้เป็นสัญลักษณ์ มารู้จักกับธงฉัพพรรณรังสีกันครับ

 

ธงศาสนาพุทธที่ใช้ทั่วไปเป็นสากลมีชื่อเรียกว่าว่า ธงฉัพพรรณรังสี เริ่มปรากฏการใช้ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ (เทียบแบบสากลคือราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙)

 

บิดเบือนขนาดนี้...ยังกล้าใช้!!? ชาวธรรมกายปักธง "ธงฉัพพรรณรังสี - ธงประจำพระพุทธศาสนา" รอบอาณาเขตวัด !!!

๐ลักษณะ๐

คำว่า "ฉัพพรรณรังสี" อันเป็นชื่อของธง แปลว่ารัศมี ๖ สี (มาจากคำสมาสในภาษาบาลี "ฉ" (หก) + "วณฺณ" (สี) + "รํสี" (รังสี, รัศมี)) มีที่มาจากสีของรัศมีซึ่งกล่าวกันว่าแผ่ออกจากพระกายของพระพุทธเจ้า คือ

สีนีละ(น้ำเงิน) - สีเขียวเหมือนดอกอัญชัน (คือเป็นสีน้ำเงิน)

สีปีตะ(เหลือง) - สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง

สีโรหิตะ(แดง) - สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อน

สีโอทาตะ(ขาว) - สีขาวเงินยวง

สีมัญเชฏฐะ(สีส้ม) - สีแสดเหมือนหงอนไก่

สีประภัสสร(ใส) - สีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก (คือสีทั้ง ๕ ข้างต้นรวมกัน)

ผู้ออกแบบธงได้นำสีทั้งหกตามบรรยายข้างต้นมาดัดแปลงเป็นผืนธง โดยมีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งเป็นแถบเรียงเป็นแนวตั้งความกว้างเท่ากัน ๖ แถบ เรียงลำดับแถบสีจากด้านซ้าย (ซึ่งเป็นด้านต้นของธง) ไปทางขวาดังนี้ แถบแรกสีน้ำเงิน แถบที่ ๒ สีเหลือง แถบที่ ๓ สีแดง แถบที่ ๔ สีขาว แถบที่ ๕ สีแสด ส่วนแถบสุดท้ายหรือแถบสีประภัสสร เป็นแถบสีที่เกิดจากการนำแถบสีทั้ง ๕ สีแรกในตอนต้นมาเรียกลำดับใหม่ในแนวตั้ง

บิดเบือนขนาดนี้...ยังกล้าใช้!!? ชาวธรรมกายปักธง "ธงฉัพพรรณรังสี - ธงประจำพระพุทธศาสนา" รอบอาณาเขตวัด !!!

๐ความหมาย๐

สีในธงฉัพพรรณรังสีแต่ละสีมีความหมายอื่นแฝงดังต่อไปนี้

สีนีละ(น้ำเงิน): พระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันแผ่ไพศาลไปทั่วสกลจักรวาล

สีปีตะ(เหลือง): มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง คือ การหลีกเหลี่ยงความสุดโต่งทั้งปวง

สีโรหิตะ(แดง): การอำนวยพรให้ประสบความสำเร็จ สมบูรณ์พร้อมด้วยสติปัญญา คุณงามความดี ความเป็นผู้มีโชค และเกียรติยศทั้งปวง

สีโอทาตะ(ขาว): ความบริสุทธิ์แห่งพระธรรม ซึ่งเป็นของที่ไม่จำกัดกาล (อกาลิโก) และนำชนไปสู่ความหลุดพ้น

สีมัญเชฏฐะ(ส้ม): พระปัญญาคุณแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สีประภัสสร(ใส): ความจริงทั้งหมดในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

คำถามว่า หากธรรมบิดเบือนคำสอนทางพุทธศาสนาแล้ว ยังสามารถใช้่ธงนี้ได้หรือไม่ ? 

คลิกอ่าน : อ่านให้เข้าใจ แชร์ไปให้ถึงสาวก! คำสอนธรรมกายบิดเบือนขนาดไหน ?? โดยเฉพาะคำสอนเรื่อง "นิพพาน" !!

๐ประวัติ๐

               ธงนี้ออกแบบโดยพุทธสมาคมโคลอมโบ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ พันเอกเฮนรี เอส. โอลคอตต์ เป็นผู้แก้ไขให้เป็นแบบที่ใช้ในปัจจุบัน เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ที่ประเทศศรีลังกา ต่อมาองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (World Fellowship of Buddhists - WFB) ได้ประกาศให้ธงนี้เป็นธงพุทธศาสนาสากลเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ณ กรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา

บิดเบือนขนาดนี้...ยังกล้าใช้!!? ชาวธรรมกายปักธง "ธงฉัพพรรณรังสี - ธงประจำพระพุทธศาสนา" รอบอาณาเขตวัด !!!

             พันเอก เฮนรี สตีล โอลคอต (สิงหล: කර්නල් හෙන්රි ස්ටීල් ඔල්කට්; อังกฤษ: Henry Steel Olcott; 2 สิงหาคม ค.ศ. 1832 – 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1907) เป็นข้าราชการทหาร นักหนังสือพิมพ์ และนักนิติศาสตร์ชาวอเมริกันซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นประธานคนแรกแห่งสมาคมเทวปรัชญา

 

            โอลคอตเป็นผู้มีชื่อเสียงชาวอเมริกาเชื้อสายยุโรปคนแรกที่เข้ารีตเป็นพุทธศาสนิกชน การต่าง ๆ ที่เขาปฏิบัติในภายหลังในฐานะประธานสมาคมเทวปรัชญานั้นมีส่วนช่วยฟื้นฟูการศึกษาพุทธศาสนา โอลคอตยังชื่อว่าเป็นนักนวนิยมทางพุทธที่ลงทุนลงแรงไปในการตีความพุทธศาสนาผ่านมุมมองแบบตะวันตก

 

             นอกจากนี้ เขายังเป็นหัวเรือในการฟื้นฟูพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา จึงได้รับการยกย่องเรื่องนี้ในประเทศศรีลังกา โดยชาวศรีลังกากล่าวขานกันว่า เขา "เป็นวีรบุรุษคนหนึ่งซึ่งฝ่าฝันเพื่อเอกราชของเรา และเป็นนักบุกเบิกการรื้อฟื้นทางศาสนา ชาตินิยม และวัฒนธรรมในยุคปัจจุบัน"

 

 

 

จินต์จุฑา รายงาน