ทรงพระปรีชา!! “กษัตริยานุสรณ์” บทกวีที่สมเด็จพระเทพฯนิพนธ์ไว้ตั้งแต่ยังเรียนชั้น มศ.5 เผยความในพระราชหฤทัยที่มาของพระนิพนธ์!

ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่ http://www.tnews.co.th

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงถูกยกย่องให้เป็นนักกวีนิพนธ์ซึ่งพระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพในเรื่องการแต่งบทกวี ถือได้ว่าทรงเป็นเจ้าฟ้าแห่งบทกวีของไทย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้ทรงแต่งพระราชนิพนธ์บทกวีไว้มากมาย อาทิเช่น กษัตริยานุสรณ์ กาลเวลาที่ผ่านเลย ช้างสำคัญ 3 เชือก ความคิดคำนึง เป็นต้น

ซึ่งกษัตริยานุสรณ์เป็นพระราชนิพนธ์ร้อยกรอง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2516 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยใช้เค้าโครงจากเรื่อง ไทยรบพม่า พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ


ทรงพระปรีชา!! “กษัตริยานุสรณ์” บทกวีที่สมเด็จพระเทพฯนิพนธ์ไว้ตั้งแต่ยังเรียนชั้น มศ.5 เผยความในพระราชหฤทัยที่มาของพระนิพนธ์!

 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงอธิบายไว้ในคำนำของหนังสือกษัตริยานุสรณ์ว่า

ขณะที่เริ่มเขียนเรื่อง "กษัตริยานุสรณ์" นี้ ข้าพเจ้ากำลังเรียนหนังสืออยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนจิตรลดา ในวิชาการประพันธ์ อาจารย์สั่งให้แต่งโคลงส่งบ่อยๆ จึงมีความคิดอยากแต่งบทประพันธ์เป็นลิลิตหรือบทประพันธ์ คำโคลงสักเรื่องหนึ่งแต่ยังนึกเรื่องที่จะแต่งให้ถูกใจไม่ได้

ทรงพระปรีชา!! “กษัตริยานุสรณ์” บทกวีที่สมเด็จพระเทพฯนิพนธ์ไว้ตั้งแต่ยังเรียนชั้น มศ.5 เผยความในพระราชหฤทัยที่มาของพระนิพนธ์!

 

พอดีเป็นเวลาที่ ข้าพเจ้าได้โดยเสด็จพระราชดำเนินในการแปรพระราชฐานไปจังหวัดเชียงใหม่ ในเครื่องบินท่านหญิงเป็น "เสมียน" เพราะตอนนั้น "น.ม.ส."(พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจำรัส หรือ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์) ทรงนิพนธ์เรื่อง "สามกรุง" ตอนนั้น "น.ม.ส." ประชวรจ้องมองอะไรไม่เห็น พอไปถึงเชียงใหม่ท่านหญิงประทาน "สามกรุง" ข้าพเจ้า ๑ เล่ม

 

ข้าพเจ้าเริ่มอ่านสามกรุงไปเรื่อยๆ วันหนึ่งก็นึกออกว่าโคลงที่นึกอยากจะแต่งนั้นควรเป็นเรื่อง "อะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวเจ้าพระยาจักรี" ซึ่งเป็นบทยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงวางโครงเรื่องลงในสมุดแล้วใช้เค้าโครงจากหนังสือ ไทยรบพม่า...

 

การแต่งไม่ได้แต่งรวดเดียวจบ แต่แต่งเรื่อยไปวันละบทสองบทตามแต่จะคิดโคลงออก ซึ่งมักเป็นเวลาแปลกๆ เช่น เวลานั่งรถบ้าง เวลาคุยกับใครๆ หรือเวลาเข้านอน ตอนแรกๆไปได้ช้าเพราะต้องเตรียมสอบ ม.ศ. ๕ พอเสร็จแล้วแต่งตามสบาย โดยอ่าน "สามกรุง" ประกอบไปด้วย นับว่าเป็นหนังสือเล่มเดียวที่ใช้ประกอบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย และโคลงที่ข้าพเจ้าแต่งก็บังเอิญเสร็จตอนมหาวิทยาลัยเปิดพอดี เมื่อจบแล้วได้ให้อาจารย์กำชัย ทองหล่อดู อาจารย์กรุณาตั้งชื่อให้ว่า กษัตริยานุสรณ์...

ทรงพระปรีชา!! “กษัตริยานุสรณ์” บทกวีที่สมเด็จพระเทพฯนิพนธ์ไว้ตั้งแต่ยังเรียนชั้น มศ.5 เผยความในพระราชหฤทัยที่มาของพระนิพนธ์!

 

ข้าพเจ้านำขึ้นทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาแทนการถวายรูปเขียนของขวัญอย่างที่เคย ท่านโปรดโคลงบทที่ขึ้นต้นว่า รักชาติ ยอมสละแม้ชีวี มากที่สุด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ม.ล.พวงร้อย อภัยวงศ์ ประพันธ์ทำนองเพลงที่ชื่อว่า ดุจบิดามารดร ใช้ร้องมาจนทุกวันนี้

ทรงพระปรีชา!! “กษัตริยานุสรณ์” บทกวีที่สมเด็จพระเทพฯนิพนธ์ไว้ตั้งแต่ยังเรียนชั้น มศ.5 เผยความในพระราชหฤทัยที่มาของพระนิพนธ์!

 

คำร้อง กษัตริยานุสรณ์เพลงพระราชนิพนธ์

รักชาติยอมสละแม้.............ชีวี

รักเกยรติจงเจตน์พลี...........ชีพได้

รักราชมุ่งภักดี................รองบาท

รักศาสน์ราญเศิกไส้..........เพื่อเกื้อพระศาสนา

อันสยามเป็นบ้านเกิด.........เมืองนอน

ดุจบิดามารดร.................เปรียบได้

ยามสุขสโมสร............ทุกเมื่อ

ยามศึกทุกข์ยากไร้.........ปลาตเร้นฤาควร

 

ที่มา : http://www.bloggang.com

        : Wikipedia

ภาพ : www.10000tipbook.com