ธรรมเนียมประเพณีการโกนหัวไว้ทุกข์ และการแต่งกายสีขาวถวายแก่พระมหากษัตริย์แต่โบราณที่เปลี่ยนไปเพราะพระประสงค์ของ รัชกาลที่ ๕ และธรรมเนียมใหม่

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์   http://panyayan.tnews.co.th

ธรรมเนียมประเพณีการโกนหัวไว้ทุกข์ และการแต่งกายสีขาวถวายแก่พระมหากษัตริย์แต่โบราณที่เปลี่ยนไปเพราะพระประสงค์ของ รัชกาลที่ ๕ และธรรมเนียมใหม่

ธรรมเนียมประเพณีการโกนหัวไว้ทุกข์ และการแต่งกายสีขาวถวายแก่พระมหากษัตริย์แต่โบราณที่เปลี่ยนไปเพราะพระประสงค์ของ รัชกาลที่ ๕ และธรรมเนียมใหม่

ในสมัยโบราณ ธรรมเนียมการไว้ทุกข์ในงานพระบรมศพ ก่อนรัชกาลสมัยในรัชกาลที่ ๖ของไทยมีอยู่ 2 วิธี หนึ่งคือการไว้ทุกข์ด้วย ‘สี’ ของเครื่องแต่งกาย และสองคือการโกนผม ซึ่งต่อมาทั้งธรรมเนียมไว้ทุกข์ในงานพระบรมศพพระมหากษัตริย์ของประเทศไทย ด้วยการแต่งกายด้วยชุดขาว และการโกนผม ได้เปลี่ยนแปลงเป็นการแต่งกายด้วยชุดดำ และยกเลิกการโกนผม ไปตามเงื่อนไขของแต่ละยุคสมัย ซึ่งธรรมเนียมประเพณีแต่เดิมเท่าที่สืบค้นพอสรุปได้ดังนี้

ธรรมเนียมประเพณีการโกนหัวไว้ทุกข์ และการแต่งกายสีขาวถวายแก่พระมหากษัตริย์แต่โบราณที่เปลี่ยนไปเพราะพระประสงค์ของ รัชกาลที่ ๕ และธรรมเนียมใหม่
ติดตามข่าวเมเติมที่ :ราชรถที่ใช้ในพระราชพิธีเชิญพระโกศพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทำไมถึงต้องเป็น”ราชรถปืนใหญ่”

 

ธรรมเนียมประเพณีการโกนหัวไว้ทุกข์ และการแต่งกายสีขาวถวายแก่พระมหากษัตริย์แต่โบราณที่เปลี่ยนไปเพราะพระประสงค์ของ รัชกาลที่ ๕ และธรรมเนียมใหม่

ในพระราชนิพนธ์ของ “ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล” พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ในพระนิพนธ์ที่ชื่อ ‘สีไว้ทุกข์ในสมัย ร.5’ ว่า แต่เดิม ‘สี’ ของเครื่องแต่งกาย ที่ใช้สำหรับไว้ทุกข์มี 3 สี 1) สีดำ 2) สีขาว และ 3) สีม่วงแก่หรือน้ำเงินแก่
        ‘สีดำ’ ใช้สำหรับผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มีอายุแก่กว่าผู้ตาย
        ‘สีขาว’ ใช้สำหรับผู้เยาว์ หรือผู้ที่มีอายุอ่อนกว่าผู้ตาย
ส่วน ‘สีม่วงแก่’ หรือ ‘สีน้ำเงินแก่’ ใช้สำหรับผู้ที่ไม่ได้ญาติกับผู้ตายแต่อย่างใด
ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ยังทรงระบุไว้ด้วยว่า ในงานพระบรมศพที่พระมหาปราสาท เวลาที่จะไปเฝ้าพระบรมศพ ทุกคนต้อง ‘นุ่งขาว’ ไม่มีใครแต่งดำได้ในเวลางาน จะนุ่งดำได้เฉพาะเวลาอยู่บ้าน หรือไปไหนมาไหนตามปกติ
ที่ใช้เฉพาะ ‘สีดำ’ สำหรับไว้ทุกข์อย่างเช่นทุกวันนี้ เป็นเพียงธรรมเนียมที่ปรับใช้ใหม่ในยุคหลังเพื่อความสะดวกเท่านั้น

ธรรมเนียมประเพณีการโกนหัวไว้ทุกข์ และการแต่งกายสีขาวถวายแก่พระมหากษัตริย์แต่โบราณที่เปลี่ยนไปเพราะพระประสงค์ของ รัชกาลที่ ๕ และธรรมเนียมใหม่
ติดตามข่าวเมเติมที่ :รอยยิ้มของพ่อ!! เสร็จแล้วพระวิษณุเทพ ถอดเค้าโครงจากพระพักตร์และรอยพระสรวลของในหลวง ร.9 ประดับพระเมรุมาศ
 

ธรรมเนียมประเพณีการโกนหัวไว้ทุกข์ และการแต่งกายสีขาวถวายแก่พระมหากษัตริย์แต่โบราณที่เปลี่ยนไปเพราะพระประสงค์ของ รัชกาลที่ ๕ และธรรมเนียมใหม่

ส่วนการโกนผม  เป็นการแสดงความเคารพอาลัยตามโบราณราชประเพณี ในอดีตเมื่อเจ้านายเสียชีวิต ผู้ที่สังกัดมูลนายจะต้องโกนผมเพื่อไว้ทุกข์ต่อนายของตนเอง ยกเว้นแต่การสวรรคตของพระมหากษัตริย์ที่ต้องโกนผมทุกคน  ซึ่งในประกาศบางฉบับในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังช่วยให้ทราบด้วยว่า การโกนผมไว้ทุกข์ยังเป็นธรรมเนียมของราษฎรโดยทั่วไป ที่บิดามารดา และสามี เสียชีวิต ของชนชาวไทยมาแต่เดิม ธรรมเนียมการโกนผมไว้ทุกข์ให้กับเจ้านาย และพระมหากษัตริย์ได้ถูกยกเลิกในสมัยรัชกาลที่ ๖ โดยมีความว่า”พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัสไว้ก่อนเสด็จสวรรคตให้ยกเลิกการโกนผมแทนการไว้ทุกข์” ตามประกาศของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ความว่า
"มีรับสั่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ซึ่งได้สำเร็จราชการแผ่นดิน ให้ประกาศจงทราบทั่วกันว่า สมเด็จพระบรมชนกนารถ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรพระโรคพระธาตุพิการมาแต่ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พระโรคกลายไปในทางพระวักกะพิการ แพทย์ได้ประกอบพระโอสถถวาย พระอาการหาคลายไม่ ถึง ณ วันเสาร์ ที่ ๒๒ ตุลาคม เสด็จสวรรคต เวลา ๒ ยาม กับ ๔๕ นาที จะได้เชิญพระบรมศพสู่พระโกษฐ์แห่จากพระราชวังดุสิต ไปประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม
ความเศร้าโศรกสาหัสอันบังเกิดขึ้นในพระบรมราชวงษ์ครั้งนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทรงแน่ในพระหฤทัยว่า จะเปนความเศร้าโศรกแก่ประชาชนทั้งหลายทั่วไปในพระราชอาณาจักร เพราะเหตุที่สมเด็จพระบรมชนกาธิราชได้ทรงพระกรุณาทนุบำรุงมาทั่วกัน
อนึ่งตามโบราณราชประเพณี ในเวลาเมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จสวรรคต พระบรมวงษานุวงษ์แลข้าราชการ ราษฎรทั้งหลายต้องโกนผมแทนการไว้ทุกข์ทั่วทั้งพระราชอาณาจักร แต่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกนารถ ได้ทรงมีพระราชดำรัสสั่งไว้ว่า การไว้ทุกข์ดังเช่นที่กล่าวมาแล้วนั้น ย่อมเปนเครื่องเดือดร้อนอยู่เป็นอันมากให้ยกเลิกเสียทีเดียว
ประกาศมา ณ วันที่ ๒๓ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๙"

หมายเหตุ
- คงการเขียนและสะกดตามอย่างเอกสารจดหมายเหตุ
- เวลา ๒ ยาม ๔๕ นาที หรือเท่ากับ เวลา ๐ นาฬิกา ๔๕ นาที ของคืนวันที่ ๒๒ นับเป็นวันใหม่ คือ วันที่ ๒๓
ที่มาของเอกสารจดหมายเหตุ : ร.๖ บ ๑.๑/๑ ประกาศยกเลิกการโกนผมแทนการไว้ทุกข์
ที่มาข่าว : FB สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
-    สาระน่ารู้จากเอกสารจดหมายเหตุ ตอน "ประกาศยกเลิกการโกนผมแทนการไว้ทุกข์"
และ https://thematter.co/pulse/ancient-mourning-clothes/10851

ธรรมเนียมประเพณีการโกนหัวไว้ทุกข์ และการแต่งกายสีขาวถวายแก่พระมหากษัตริย์แต่โบราณที่เปลี่ยนไปเพราะพระประสงค์ของ รัชกาลที่ ๕ และธรรมเนียมใหม่
ติดตามข่าวเมเติมที่ :ยิ่งดูยิ่งใจหาย..ชมเครื่องกระดาษ(กงเต๊ก) จำลองเป็นรูปพระตำหนักเปี่ยมสุขและของใช้ส่วนพระองค์ ของในหลวงรัชกาลที่๙ อันแสนงดงาม ในพิธีบำเพ็ญกุศล

ข่าวโดย :  กิตติ จิตรพรหม ทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ – ทีนิวส์