ทำไม อ.ปรีดี พนมยงค์ ถึงน่านับถือมากกว่า "นิธิ-ชาญวิทย์" ? ...บทความโดย ดร. เวทิน ชาติกุล

ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่ http://www.tnews.co.th

ทำไม อ.ปรีดี พนมยงค์ ถึงน่านับถือมากกว่า "นิธิ-ชาญวิทย์" ? / เวทิน ชาติกุล / เพจเปาบุ้นจุ้น

 

ประโยค "อ. ปรีดี พนมยงค์ น่านับถือกว่า "นิธิ-ชาญวิทย์" เป็นประโยคที่เป็นจริงด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว

ง่ายๆ เพราะ "นิธิ-ชาญวิทย์" เองก็เคารพนับถือ อ.ปรีดี และคงไม่ปฏิเสธเรื่องนี้

จะไม่นับถือได้อย่างไรในเมื่อ "นิธิ-ชาญวิทย์" ซึ่งรวมถึงศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ได้ช่วยกัน "สร้าง" ประวัติศาสตร์แบบ "ปรีดีนิยม" จนกลายเป็นกระแสหลักยึดกุมการ "อ่าน" ประวัติศาสตร์การเมืองไทยมาได้หลายสิบปีแล้ว และได้ช่วยกันยกสถานะ อ.ปรีดี พนมยงค์ ให้กลายเป็น "ปรีดี พนมยงค์" มาจนถึงทุกวันนี้

ข้อสังเกตุ คนกลุ่มนี้มักจะเรียกตัวเองว่า "ราษฏร์นิยม" บ้าง, ฝ่ายประชาธิปไตยบ้าง กลุ่มหัวก้าวหน้าบ้าง (แต่มักถูกเรียกจากฝ่ายตรงข้ามว่า "ลัทธิตาสว่าง" หรือที่หนักกว่านั้นคือ "ลิเบอร่าน") และพยายามให้นิยามฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นฝ่ายนิยมเจ้า ฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตย ฝ่ายสนับสนุนรัฐประหาร คลั่งเผด็จการ ฯลฯ

ทำไม อ.ปรีดี พนมยงค์ ถึงน่านับถือมากกว่า "นิธิ-ชาญวิทย์" ? ...บทความโดย ดร. เวทิน ชาติกุล

 

ทำไม อ.ปรีดี พนมยงค์ ถึงน่านับถือมากกว่า "นิธิ-ชาญวิทย์" ? ...บทความโดย ดร. เวทิน ชาติกุล

ใครที่โตมาหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ถ้าสนใจการเมือง หาตำรามาอ่านก็จะได้สัมผัสกับประวัติศาสตร์สายปรีดีนิยมนี้แบบเต็มๆ คณะราษฏร์ดี การเปลี่ยนแปลง 2475 เป็นการอภิวัฒน์ประชาธิปไตย เป็นการปฏิวัติ ไม่ใช่การทำรัฐประหาร จนรวมไปถึงการสร้างคติที่ว่า "ปรีดี" เป็นพระเอก "จอมพล.ป" เป็นผู้ร้าย ทหาร=เผด็จการ=อำนาจนิยม=ล้าหลัง=เลว ประชาธิปไตย=เสรีนิยม=ก้าวหน้า=ดี ส่วนใหญ่มาอารมณ์นี้หมด (ซึ่งก็เข้าใจได้ในบริบทที่ครั้งหนึ่งโปรปาเกนด้าชุด "ปลุกผีคอมมิวนีสต์" ระบาดหลังปี 2500)

 

โดยทั้งนี้ประวัติศาสตร์แบบปรีดีนิยม พยายามไม่ให้ "ความหมาย" กับ "คำบอกเล่า" "เรื่องราว" "ปากคำ" ของฝ่ายตรงข้ามที่สูญเสียอำนาจจากการทำ "รัฐประหาร" ยึดอำนาจในปี 2475 หรือกระทั่งกลบเกลื่อนไม่พูดถึงด้านที่เป็นลบหรือชั่วร้ายของการยึดอำนาจในครั้งนั้น

 

 

จนกระทั่งเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา...

ข้อมูลที่อาจไม่เคยได้ยินได้ฟัง หรืออาจเคยรับฟังแต่ไม่เคยได้ยิน เกี่ยวกับ อ.ปรีดีและคณะราษฏร์ ได้ถูกนำกลับมาให้ "ความหมาย" และ "ความสำคัญ" อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา

อ้าว!! คณะราษฏร์นี่มันคณะรัฐประหารนี่หว่า! คณะราษฏร์ แย่งอำนาจกันเองด้วยโว้ย! ไม่นับที่คณะราษฏร์รังแกพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ คณะราษฏร์ทำไม่ดี โน่นนี่นั่น บลา บลา บลา ภาพของ "ปรีดี" ที่เคยเป็นพระเอก ภาพของ "จอมพล.ป." ที่เคยเป็นผู้ร้าย มันก็อาจจะไม่ใช่แล้ว???

แล้วทำไมผมถึงบอกว่า อ.ปรีดี น่านับถือ?

เพราะหนึ่งในข้อมูลที่ "ขุด" กันออกมานั้น มีการให้สัมภาษณ์ของ อ.ปรีดี กับ เอเซียวีค ในปี 2522 ที่น่าสนใจยิ่ง...

ทำไม อ.ปรีดี พนมยงค์ ถึงน่านับถือมากกว่า "นิธิ-ชาญวิทย์" ? ...บทความโดย ดร. เวทิน ชาติกุล

 

เอเซียวีคถามว่า "ท่าน (อ.ปรีดี) คิดว่าอะไรที่น่าจะเป็นความผิดอันใหญ่หลวงของท่าน? ถ้าท่านมีอำนาจกลับไปและแก้ไขเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตของท่าน การตกลงใจหรือการกระทำอันไหนที่ท่านอยากเปลี่ยนมากที่สุด?

นี่คือ คำตอบของ อ.ปรีดี

 

"ถ้าท่านถามถึงว่าอะไรที่ข้าพเจ้าจะทำ ถ้าข้าพเจ้ากลับไปเป็นนายกรัฐมนตรี..เอาละ ข้าพเจ้าขอตอบว่า ข้าพเจ้าไม่สนใจที่จะกลับสู่การเมืองอีกหรอก เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้าแก่มากแล้ว แต่ข้าพเจ้าตอบท่านได้ถึงความผิดในอดีตของข้าพเจ้า"

"ในปี ค.ศ.๑๙๒๕ เมื่อเราเริ่มจัดตั้งแกนกลางของพรรคอภิวัฒน์ในปารีส ข้าพเจ้ามีอายุเพียง ๒๕ ปี เท่านั้น หนุ่มมาก หนุ่มทีเดียว ขาดความจัดเจน แม้ว่าข้าพเจ้าได้รับปริญญาแล้วและได้คะแนนสูงสุด แต่ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าทางทฤษฎี (ของกฎหมายเปรียบเทียบ)"

"ข้าพเจ้าไม่มีความเจนจัด และโดยปราศจากความเจนจัด บางครั้งข้าพเจ้าประยุกต์ทฤษฎีอย่างนักตำรา"

"ข้าพเจ้าไม่ได้นำเอาความเป็นจริงในประเทศของข้าพเจ้ามาคำนึงด้วย ข้าพเจ้าติดต่อกับประชาชนไม่พอ ความรู้ทั้งหมดของข้าพเจ้า เป็นความรู้ตามหนังสือ"

 

"ข้าพเจ้าไม่ได้เอาสาระสำคัญของมนุษย์มาคำนึงด้วยให้มากเท่าที่ข้าพเจ้าควรจะมี"

"ในปี ค.ศ.๑๙๓๒ ข้าพเจ้าอายุ ๓๒ ปี พวกเราได้ทำการอภิวัฒน์ แต่ข้าพเจ้าก็ขาดความจัดเจน และครั้นข้าพเจ้ามีความจัดเจนมากขึ้น ข้าพเจ้าก็ไม่มีอำนาจ"

 

ตั้งใจอ่านให้ดีๆ ตั้งใจอ่านให้ละเอียด แล้วลองคิดดู จะเคยดีเคยเลวอย่างไร คนที่กล้าพูดถึงความผิดพลาดของตนเองอย่างตรงไปตรงมาแบบนี้ในช่วงไม้ใกล้ฝั่ง ยังจะน่านับถือหรือไม่?

อ.ปรีดี พนมยงค์ ที่พูดประโยคข้างต้น อาจเป็นคนละคนกับ "ปรีดี พนมยงค์" ที่ถูก "นิธิ-ชาญวิทย์" และพวก "สร้าง" ขึ้นในตำราประวัติศาสตร์แบบปรีดีนิยม???

และผมก็ไม่คิดและไม่หวังว่าจะได้ยินถ้อยคำแบบที่ อ.ปรีดี พูด #ไม่มีความเจนจัด #ประยุกต์ทฤษฏีอย่างนักตำรา #ไม่ได้เอาความเป็นจริงในประเทศมาคำนึง มาจาก "นิธิ-ชาญวิทย์" (และนักประวัติศาสตร์ที่สืบสายปรีดีนิยม)

 

ทั้งๆที่จะว่าไป ตอนนี้ความอาวุโสและอายุอานามก็ไม่ห่างจากวัยที่อ.ปรีดีได้พูดถ้อยคำเหล่านี้ออกมาแล้ว
.
เวทิน ชาติกุล / เพจเปาบุ้นจุ้น