ก่อนจะมาเป็นพระฝรั่ง!! เปิดผลวิจัย "พระฝรั่งในเมืองไทย" ของพระอนิลมาน ... เผยเบื้องหลังที่คนไทยจะได้รู้จักฝรั่งหัวใจพุทธมากกว่าที่เคยรู้!!

รู้จริง...รู้แจ้ง...ทุกเรื่องราวแห่งปาฏิหาริย์ http://www.tnews.co.th

งานวิจัยเรื่อง "พระฝรั่งในประเทศไทย" ของพระ ดร.อนิลมาน ธัมมสากิโย ได้เปิดเผยข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับชาวต่างชาติที่เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุในประเทศไทยไว้อย่างน่าสนใจ  แม้ว่างานวิจัยนี้จะตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ หรือราวๆ สิบปีมาแล้ว แต่ข้อมูลเหล่านี้ก็น่าจะยังเป็นประโยชน์ในแง่ของการได้เห็นภาพปรากฏการณ์ "พระฝรั่ง" ในเมืองไทยในช่วงเวลาหนึ่ง และเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจแนวโน้มและทิศทางของพุทธศาสนากับชาวต่างชาติต่อไปในอนาคต

------------------------------------------------------------------------

 

ก่อนจะมาเป็นพระฝรั่ง!! เปิดผลวิจัย "พระฝรั่งในเมืองไทย" ของพระอนิลมาน ... เผยเบื้องหลังที่คนไทยจะได้รู้จักฝรั่งหัวใจพุทธมากกว่าที่เคยรู้!!

สรุปผลการวิจัยเกี่ยวกับการบวชของพระฝรั่งในประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๔๘)

 

อายุ :  ส่วนใหญ่เป็นหนุ่มวัยฉกรรจ์ คือมีอายุระหว่าง 20-30 ปี (59%)  รองลงมาคือ 31-40 ปี (29%)

พรรษา :  ส่วนใหญ่เป็นพระบวชใหม่ คือมีพรรษาระหว่าง 1-5 พรรษา (61%)  รองลงมาคือ 6-10 พรรษา (24%)

การศึกษา :  ส่วนใหญ่มีพื้นฐานการศึกษาอยู่ในระดับดี คือจบปริญญาตรี (56%)  รองลงมาคือจบมัธยมศึกษา (29%)

ศาสนาที่นับถือก่อนบวช :  ส่วนใหญ่เป็นคนไม่มีศาสนา (46%)  รองลงมาคือพุทธศาสนา (37%) และศาสนาคริสต์ (15%)

สถานภาพก่อนบวช :  ส่วนใหญ่เคยแต่งงานแล้ว (61%)  รองลงมาคือเป็นโสด (32%)

ถิ่นกำเนิด :  ส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันและอังกฤษ (27%)

อาชีพก่อนบวช :  ส่วนใหญ่เป็นครู (20%)  รองลงมาเป็นนักศึกษา (14%)

การมาประเทศไทยก่อนบวช :  ส่วนใหญ่ไม่เคยมาประเทศไทย (56%)

วัดที่อุปสมบท :  ส่วนใหญ่อุปสมบทที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี (41%)  ส่วนกลุ่มที่อุปสมบทจากวัดในต่างประเทศแล้วเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนั้นมีจำนวนน้อย (12%)

คณะที่สังกัด :  เกือบทั้งหมดสังกัดคณะมหานิกาย (93%)  ส่วนที่เหลือสังกัดคณะธรรมยุต (7%)

วัดที่อยู่ปัจจุบัน :  ส่วนใหญ่อยู่ที่วัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี (สาขาของวัดหนองป่าพง) (56%)  รองลงมาคือวัดมาบจันทร์ จังหวัดระยอง (สาขาของวัดหนองป่าพงเช่นกัน) (15%)

การศึกษาพุทธศาสนาก่อนบวช :  ส่วนใหญ่เคยศึกษาพุทธศาสนามากกว่า 1 ปี (46%)  รองลงมาคือมากกว่า 10 ปี (29%)

แหล่งข้อมูลในการศึกษาพุทธศาสนา :  ส่วนใหญ่ศึกษาจากการอ่านหนังสือ (39%)  รองลงมาคือศึกษาจากหลักสูตรในโรงเรียน (22%)

หนังสือที่ชอบอ่านและประทับใจ :  ส่วนใหญ่ชอบอ่านพระไตรปิฎกแปล (44%)  รองลงมาคือหนังสือคำสอนของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และคำสอนของคณะศิษย์สายหลวงปู่มั่น ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษ (22%)

คำสอนของพุทธศาสนาที่ชอบมากที่สุด :  ส่วนใหญ่ชอบคำสอนเรื่องอริยสัจสี่ (22%)  รองลงมาคือคำสอนอื่น ๆ ในพระสูตร (13%)

แรงจูงใจในการบวช :  ส่วนใหญ่อยากพ้นทุกข์ (44%)  รองลงมาคืออยากศึกษาพุทธศาสนาอย่างจริงจัง (12%)

เหตุผลในการเลือกประเทศไทยเป็นสถานที่บวช :  ส่วนใหญ่เห็นว่าประเทศไทยมีพระอาจารย์ด้านกรรมฐานพร้อมกว่าที่อื่น (20%)  รองลงมาเห็นว่าพระภิกษุในประเทศไทยเคร่งครัดในพระธรรมวินัย (15%)

เหตุผลในการเลือกวัดที่บวช :  ส่วนใหญ่เลือกเพราะเป็นวัดที่มีการปฏิบัติตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา อย่างจริงจัง (15%)  รองลงมาเลือกเพราะเป็นวัดที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสำหรับการฝึกสมาธิ (12%)

ปัญหาและอุปสรรคของการบวชในประเทศไทย :  ส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับการไม่รู้หรือไม่เข้าใจภาษาไทย (34%)  รองลงมาคือมีปัญหาเกี่ยวกับการต่อวีซ่าและต้องรายงานตัวต่อกองตรวจคนเข้าเมืองทุกสามเดือน (25%)

 

ก่อนจะมาเป็นพระฝรั่ง!! เปิดผลวิจัย "พระฝรั่งในเมืองไทย" ของพระอนิลมาน ... เผยเบื้องหลังที่คนไทยจะได้รู้จักฝรั่งหัวใจพุทธมากกว่าที่เคยรู้!!

[สุเมโธภิกขุ]

 

ก่อนจะมาเป็นพระฝรั่ง!! เปิดผลวิจัย "พระฝรั่งในเมืองไทย" ของพระอนิลมาน ... เผยเบื้องหลังที่คนไทยจะได้รู้จักฝรั่งหัวใจพุทธมากกว่าที่เคยรู้!!

[สุมโนภิกขุ]

 

ก่อนจะมาเป็นพระฝรั่ง!! เปิดผลวิจัย "พระฝรั่งในเมืองไทย" ของพระอนิลมาน ... เผยเบื้องหลังที่คนไทยจะได้รู้จักฝรั่งหัวใจพุทธมากกว่าที่เคยรู้!!

[ชยสาโรภิกขุ]

 

ก่อนจะมาเป็นพระฝรั่ง!! เปิดผลวิจัย "พระฝรั่งในเมืองไทย" ของพระอนิลมาน ... เผยเบื้องหลังที่คนไทยจะได้รู้จักฝรั่งหัวใจพุทธมากกว่าที่เคยรู้!!

[พระอาจารย์ญาณธัมโม]

 

ก่อนจะมาเป็นพระฝรั่ง!! เปิดผลวิจัย "พระฝรั่งในเมืองไทย" ของพระอนิลมาน ... เผยเบื้องหลังที่คนไทยจะได้รู้จักฝรั่งหัวใจพุทธมากกว่าที่เคยรู้!!

[พระอนิลมาน ธัมมสากิโย]

-------------------------------------------------------------------------

ที่มา : รายงานการวิจัยเรื่อง "พระฝรั่งในประเทศไทย" โดย พระ ดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย