น่าเลื่อมใสศรัทธา!! เผย "ตำนานข้าวมธุปายาส" ของนางสุชาดาที่ถวายแก่พระพุทธเจ้าในเช้าวันตรัสรู้ สู่ "ประเพณีกวนข้าวทิพย์" ในวันวิสาขบูชา !!!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

น่าเลื่อมใสศรัทธา!! เผย "ตำนานข้าวมธุปายาส" ของนางสุชาดาที่ถวายแก่พระพุทธเจ้าในเช้าวันตรัสรู้ สู่ "ประเพณีกวนข้าวทิพย์" ในวันวิสาขบูชา !!!

       นับตั้งแต่พระมหาเสด็จออกบวชเป็นต้นมาจนถึงวันที่เห็นอยู่ในภาพนี้  เป็นเวลาย่างเข้าปีที่ ๖ ตอนนี้พระมหาบุรุษเริ่มเสวยอาหารจนพระวรกายมีกำลังเป็นปกติแล้ว และวันนี้เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ  เดือน  ๖  ก่อนพระพุทธเจ้านิพพาน ๔๕  ปี  สตรีที่กำลังถวายของแด่พระมหาบุรุษคือนางสุชาดา  เป็นธิดาของคหบดีผู้หนึ่งในหมู่บ้าน ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  ของที่นางถวายคือข้างมธุปายาส   คือ   ข้าวที่หุงด้วยนมโคล้วน  เป็นอาหารจำพวกมังสวิรัติ  ไม่ปนเนื้อ  ไม่เจือปลา  ใช้สำหรับบวงสรวงเทพเจ้าโดยเฉพาะ

        ปฐมสมโพธิเล่าว่า  นางสุชาดาเคยบนเทพเจ้าไว้ที่ต้นไทรเพื่อให้ได้สามีผู้มีชาติสกุลเสมอกันและได้ลูกที่มีบุญ   เมื่อนางได้สมปรารถนาแล้ว   จึงหุงข้าวมธุปายาสเพื่อแก้บน  ก่อนถึงวันหุง  นางสุชาดา  สั่งคนงานให้ไล่ต้อนฝูงโคนมจำนวนหนึ่งพันตัวเข้าไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือ ให้แม่โคกินชะเอมเครือ  กินอิ่มแล้วไล่ต้อนออกมา   แล้วแบ่งแม่โคนมออกเป็นสองฝูงๆ  ละ  ๕๐๐  ตัว  แล้วรีดเอานมจากแม่โคนมฝูงหนึ่งมาให้แม่โคนมอีกฝูงหนึ่งกิน แบ่งและคัดแม่โคนมอย่างนี้เรื่อยๆ  ไปจนเหลือแม่โคนม  ๘  ตัว  เสร็จแล้วจึงรีดน้ำนมจากแม่โคนมทั้ง  ๘  มาหุงข้าวมธุปายาส

น่าเลื่อมใสศรัทธา!! เผย "ตำนานข้าวมธุปายาส" ของนางสุชาดาที่ถวายแก่พระพุทธเจ้าในเช้าวันตรัสรู้ สู่ "ประเพณีกวนข้าวทิพย์" ในวันวิสาขบูชา !!!

        หุงเสร็จแล้ว  นางสุชาดาสั่งให้นางทาสีหญิงรับใช้ไปทำความสะอาดปัดกวาดบริเวณต้นไทร  นางทาสีไปแล้วกลับมารายงานให้นางสุชาดาทราบว่า เวลานี้รุกขเทพเจ้าที่จะรับเครื่องสังเวยได้สำแดงกายให้ปรากฏ  นั่งรออยู่ที่โคนต้นไทรแล้ว  นางสุชาดาดีใจเป็นกำลัง จึงยกถาดข้าวมธุปายาสขึ้นทูนหัวเดินมาที่ต้นไทรพร้อมกับนางทาสี   ก็ได้เห็นจริงอย่างนางทาสีเล่า   นางจึงน้อมถาดข้าวมธุปายาสเข้าไปถวาย พระมหาบุรุษทรงรับแล้วพระเนตรดูนาง  นางทราบพระอาการกิริยาว่า พระมหาบุรุษไม่มีบาตรหรือภาชนะอย่างอื่นรับอาหาร นางจึงกล่าวคำมอบถวายข้าวมธุปายาสพร้อมทั้งถาดนั้น
ถวายเสร็จแล้วก็ไหว้    แล้วเดินกลับบ้านด้วยความยินดี   และด้วยความสำคัญหมายว่า   พระมหาบุรุษนั้นเป็นรุกขเทพเจ้า

น่าเลื่อมใสศรัทธา!! เผย "ตำนานข้าวมธุปายาส" ของนางสุชาดาที่ถวายแก่พระพุทธเจ้าในเช้าวันตรัสรู้ สู่ "ประเพณีกวนข้าวทิพย์" ในวันวิสาขบูชา !!!

ข้าวมธุปายาส
           พุทธศาสนิกชนทั้งหลายรู้จัก “มธุปายาส” ซึ่งเป็นอาหารโบราณตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจากเรื่องราวในพุทธประวัติ โดยมีนางสุชาดาเป็นผู้ปรุงถวายพระสิทธัตถะบรมโพธิสัตว์ หนังสือ “พระปฐมสมโพธิกถา” พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสมีกล่าวอรรถาธิบาย ขั้นตอนในการหุงข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาไว้เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ถอดความมาได้ดังนี้ 
          “ก่อนที่จะถึงวันวิสาขปุรณมี เพ็ญเดือนหกนางสุชาดาก็ใช้ให้บุรุษทาสีกรรมการทั้งหลายเอาฝูงแม่โคจำนวน 1000 ตัวไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือ เพื่อให้แม่โคทั้งหมดได้บริโภคเครือชะเอม อันจะทำให้น้ำนมมีรสหวานหอม  แล้วแบ่งโคนมออกเป็น 2 พวก

พวกละ 500 ตัว เพื่อรีดเอาน้ำนมจากแม่โค 500 ตัวในกลุ่มแรกมาให้แม่โคอีก 500 ตัวในกลุ่มหลังบริโภค ครั้นแล้วก็แบ่งแม่โคในกลุ่มหลังจำนวน 500 ตัว ออกเป็น 2 พวก พวกละ 250 ตัว แล้วรีดเอาน้ำนมแม่โค 250 ตัวจากกลุ่มแรกมาให้แม่โคอีก 250 ตัว ในกลุ่มหลังบริโภค กระทำการแบ่งกึ่งกันเช่นนี้ลงมาทุกชั้นๆ จนเหลือ 16 ตัว แล้วแบ่งออกเป็น 2 พวก พวกละ 8 ตัว นำน้ำนมของแม่โค 8 ตัวแรกมาให้อีก 8 ตัวสุดท้ายบริโภค ทำเช่นนี้เพื่อจะให้น้ำนมของแม่โค 8 ตัวที่เหลือมีรสหวานอันเลิศจนกระทั่งเหลือแม่โคที่จัดไว้ใช้ 8 ตัว

น่าเลื่อมใสศรัทธา!! เผย "ตำนานข้าวมธุปายาส" ของนางสุชาดาที่ถวายแก่พระพุทธเจ้าในเช้าวันตรัสรู้ สู่ "ประเพณีกวนข้าวทิพย์" ในวันวิสาขบูชา !!!

         ในคืนก่อนวันเพ็ญเดือน 6 หนึ่งวัน นางจึงนำภาชนะมารองเพื่อเตรียมจะรีดน้ำนมใส่ลง ขณะนั้นน้ำนมก็ไหลออกมาเองจนเต็มภาชนะเป็นมหัศจรรย์ปรากฏ นางสุชาดาเห็นดังนั้น ก็รู้สึกปิติยินดีเข้ารับภาชนะซึ่งรองน้ำนมนั้นด้วยมือ ตน นำมาเทลงในภาชนะใหม่แล้วใส่ลงในกระทะนำขึ้นตั้งบนเตา ใส่ฟืนเตรียมก่อเพลิงด้วยตนเอง   เวลานั้นสมเด็จอัมรินทราธิราชก็เสด็จลงจุดไฟให้โชติช่วงขึ้น  ท้าวมหาพรหมทรงนำทิพย์เศวตฉัตร มากางกั้นเบื้องบนภาชนะที่หุงมธุปายาสนั้น ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ได้มาประทับยืนรักษาเตาไฟทั้ง 4 ทิศ  เหล่าเทพยดาทั่วทั้งหมื่นโลกธาติ ต่างพากันนำเอาโภชนาหารอันเป็นทิพย์มาโปรย ใส่ลงในกระทะด้วย  เมื่อน้ำนมเดือดก็ปรากฏเป็นฟองใหญ่ไหลเวียนขวาทั้งสิ้น จะกระเซ็นตกลงพื้นแผ่นดินแม้นสักหยดหนึ่งก็ไม่มี
    
    ครั้นสำเร็จเสร็จสมบูรณ์ดี นางจึงนำมาบรรจุลงในถาดทองคำข้าวมธุปายาสอันหุงเสร็จเรียบร้อยก็พอดี ไม่มีพร่อง ไม่มีเกิน แล้วปิดฝาด้วยถาดทองอีกใบหนึ่งห่อหุ้มด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์ เมื่อนั้นนางก็จัดแต่งอาภรณ์ให้เรียบร้อย ยกถาดทองคำซึ่งบรรจุมธุปายาสอันโอชะทูนขึ้นไว้บนศีรษะของตนแล้วเดินนำไปสู่ ที่ประทับแห่งพระบรมโพธิสัตว์ ข้าวมธุปายาสในครั้งพุทธกาล เป็นอาหารที่ปรุงให้มีรสหวานนุ่ม มีส่วนผสมของ ข้าวอ่อนที่ยังไม่สุกจัดคั้นออกจากรวงเป็นน้ำ แล้วหุงกับน้ำนมสดเจือด้วยน้ำผึ้งมีความข้นพอที่จะปั้นให้เป็นคำได้

น่าเลื่อมใสศรัทธา!! เผย "ตำนานข้าวมธุปายาส" ของนางสุชาดาที่ถวายแก่พระพุทธเจ้าในเช้าวันตรัสรู้ สู่ "ประเพณีกวนข้าวทิพย์" ในวันวิสาขบูชา !!!

 

ประเพณีการกวนข้าวทิพย์ของไทย
    จากคติศรัทธาความเชื่อของชาวพุทธในประเทศไทยได้ขนานนาม “ข้าวมธุปายาส” ว่าเป็น “ข้าวกระยาทิพย์” หรือ “ข้าวทิพย์”  ประเพณีการหุงข้าวทิพย์ในวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนวันวิสาขบูชาพบว่า มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี 
    ประเพณีนี้สืบต่อลงมาจนถึงรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แล้วว่างเว้นไปและกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ถือเป็นโบราณราชประเพณีปฏิบัติสืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้

น่าเลื่อมใสศรัทธา!! เผย "ตำนานข้าวมธุปายาส" ของนางสุชาดาที่ถวายแก่พระพุทธเจ้าในเช้าวันตรัสรู้ สู่ "ประเพณีกวนข้าวทิพย์" ในวันวิสาขบูชา !!!
    สำหรับของที่นำมาปรุง “ข้าวทิพย์” และวิธีการกวนตามแบบไทย มีบันทึกไว้ในหนังสือ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เรียบเรียงได้ดังนี้ 

ของที่นำมาปรุงข้าวทิพย์
ของที่นำมาปรุงข้าวทิพย์ 5 ประเภทคือ
    ก. ประเภทถั่ว
    ข. ประเภทข้าว พืชเป็นหัว เมล็ดธัญพืช
    ค. ประเภทน้ำตาล
    ง. ประเภทน้ำมัน
    จ. ประเภทผลไม้ อันได้แก่ ผลไม้สด ผลไม้คั้นน้ำ ผลไม้แห้ง ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม พร้อมทั้งสมุนไพรปรุงรสได้แก่ ชะเอม


ของปรุง “ข้าวทิพย์” 
เครื่องปรุงทั้ง 5 ประเภทประกอบด้วยของชนิดต่างๆ ดังนี้ 

ก. ประเภทถั่ว ได้แก่
    1. ถั่วราชมาษ 
    2.ถั่วดำ 
    3.ถั่วเหลือง 
    4.ถั่วเขียว 
    5. ถั่วขาว 
    6.ถั่วทอง 
    7.ถั่วลิสง 
    8. ถั่วแม่ตาย

ข.ประเภทข้าว พืชเป็นหัวและเมล็ดธัญพืช ได้แก่ 
    1. ข้าวอ่อนที่คั้นเป็นน้ำนม 
    2.ข้าวสารหอม 
    3. ข้าวเม่า 
    4. ข้าวฟ่าง 
    5.ข้าวตอก
    6. ข้าวโพด 
    7.ขนมปังจืด (ป่นหยาบพอเป็นเกร็ด) 
    8.สาคูวิลาด 
    9. สาคูลาน
    พืชเป็นหัว 
    10. มันเทศ 
    11. เผือก 
    12. แห้วไทย 
    13. แห้วจีน 
    14. กระจับสด 
    เมล็ดธัญพืช
    15.เมล็ดงา 
    16. เมล็ดแตงอุลิด 
    17. ลูกเดือย 
    18. ผลมะกล่ำใหญ่

ค.ประเภทน้ำตาล ได้แก่
    1. น้ำผึ้ง 
    2. น้ำอ้อยสด 
    3. น้ำอ้อยแดง 
    4. น้ำตาลกรวด 
    5. น้ำตาลทราย 
    6. น้ำตาลหม้อ

ง.ประเภทไขมัน ได้แก่ 
    1. เนย 
    2. น้ำนมโค 
    3. มะพร้าวแก่ 
    4. มะพร้าวอ่อน

จ.ประเภทผลไม้ (ใช้ผลไม้แดงและทุกชนิดที่หาได้) 
ผลไม้สดได้แก่
    1. ทับทิม 
    2. ลูกพลับสด 
    3. ละมุด 
    4. สาลี่ 
    5. กล้วยหอม 
    6. กล้วยไข่ 
    7. กล้าย 
    8. น้อยหน่า 
    9. เงาะ 
    10. ลางสาด
    ผลไม้คั้นน้ำ ได้แก่
    1.ส้มเขียวหวาน 
    2. ส้มเกลี้ยง 
    3. ส้มมะเป้น 
    4. ส้มซ่า 
    5. ส้มตรังกานู
    ผลไม้แห้ง ได้แก่
    1. พลับแห้ง 
    2. อินทผลัม 
    3. ลำไย 
    4. พุทราริ้ว 
    5. ลิ้นจี่
    ผลไม้กวน ได้แก่
    1.ทุเรียนกวน 
    2. สัปปะรดกวน
    ผลไม้แช่อิ่ม ได้แก่
    1.ผลชิด 
    2. ผลกระท้อน 

พร้อมทั้งสมุนไพรปรุงรสได้แก่ ชะเอมสด ชะเอมเทศ รวมของทั้งหมด 62 รายการ 

น่าเลื่อมใสศรัทธา!! เผย "ตำนานข้าวมธุปายาส" ของนางสุชาดาที่ถวายแก่พระพุทธเจ้าในเช้าวันตรัสรู้ สู่ "ประเพณีกวนข้าวทิพย์" ในวันวิสาขบูชา !!!

น่าเลื่อมใสศรัทธา!! เผย "ตำนานข้าวมธุปายาส" ของนางสุชาดาที่ถวายแก่พระพุทธเจ้าในเช้าวันตรัสรู้ สู่ "ประเพณีกวนข้าวทิพย์" ในวันวิสาขบูชา !!!

        จากประวัติความเป็นมาและกรรมวิธีในการหุงข้าวมธุปายาส ที่พรรณนามาทั้งหมดจึงสรุปมูลเหตะที่ชาวพุทธทั้งหลายกล่าวยำย่อง “มธุปายาส” ว่าเป็น “ข้าวทิพย์” ได้ 3 ประการคือ

   1. เป็นของที่มีรสอันโอชะล้ำเลิศและกระทำได้ยากผู้ที่จะสามารถปรุงขึ้นได้ ต้องอาศัยบารมี คือมีความพร้อมทั้งกำลังทรัพย์ กำลังกายคือบริวารผู้คน และกำลังสติปัญญาล่วงรู้ขั้นตอนในการปรุง เห็นได้ว่ามิใช่วิสัยของคนธรรมดาจะทำได้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์
   2. เป็นของที่ปรุงขึ้นถวายแด่ผู้มีบุญญาธิการ ผู้ควรสักการะบูชา ปรุงขึ้นเป็นการเฉพาะ เช่น เพื่อเป็นเครื่องสังเวยต่อเทพยดา เป็นต้น รวมความก็คือทั้งผู้ปรุงและผู้รับต่างต้องมีบุญบารมีมากจึงจะกระทำได้
   3. เป็นอาหารที่พระพุทธเจ้าทรงเสวยแล้วสามารถตรัสรู้บรรลุอนุตตรสัมโพธิญาณได้ 

  ฉะนั้น “ข้าวทิพย์” ก็คือ สมญานามอันเกิดจากความรู้สึกที่ลึกซึ้งในจิตใจว่า เป็นของสูงของวิเศษล้ำค่าหาที่เปรียบมิได้นั้นเอง 

น่าเลื่อมใสศรัทธา!! เผย "ตำนานข้าวมธุปายาส" ของนางสุชาดาที่ถวายแก่พระพุทธเจ้าในเช้าวันตรัสรู้ สู่ "ประเพณีกวนข้าวทิพย์" ในวันวิสาขบูชา !!!
ข้อคิดจาก “ข้าวทิพย์”
   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นข้อพิจารณาว่า “ข้าวทิพย์ที่เรากวนอยู่ในราชพิธีทุกวันนี้ เห็นจะเกิดขึ้นด้วยนึกเอาเอง ดูตั้งใจจะให้มีถั่ว งา นม เนยและผลไม้ต่างๆ ให้พร้อมทุกอย่าง เป็นอันรวมรสต่างๆมาลงในอันหนึ่งอันเดียว จนเรียกกันในคำประกาศว่า “อเนกรสปายาส”

พระโบราณจารย์ได้กล่าวอรรถกถาย้ำเตือนพุทธบริษัททั้งหลายเอาไว้ว่า “เป็นพุทธประเพณีที่พระมหาบุรุษบรมโพธิสัตว์ทุกพระองค์ จักต้องได้เสวยข้าวทิพย์เสียก่อน จึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า”  

    คำกล่าวอันเป็นปริศนาธรรมนี้ชี้ชัดว่า ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามแนวทางแห่งพุทธะจักต้องบริโภค “ข้าวอันเป็นทิพย์” คือ อาหารที่บริสุทธิ์สะอาดปราศจากเลือดเนื้อและชีวิตทั้งหลายเสียก่อน อันเป็นหนทางนำไปสู่ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานในที่สุด นี่เป็นหน้าที่แรกเริ่มของผู้ประพฤติธรรมจักต้องขึดถือปฏิบัติด้วยกันทุกคน ดังเช่นที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์

    การรู้จักรับประทานแต่ผักผบไม้และเมล็ดธัญญพืชย่อมทำให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพพลานามัยดี เมื่อสุขภาพกายดีสุขภาพจิตก็ดีและสติปัญญาก็ดีตาม ต่างเกี่ยวเนื่องโยงใยเป็นสายสัมพันธ์กันโดยตลอด การรู้จักความถูกต้องในการกิน ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อชีวิตตนเองและชีวิตผู้อื่นจึงเรียกได้ว่า                            “กินอย่างพุทธะ เพื่อความเป็นพุทธะ กินอย่างถูกต้องเพื่อความถูกต้อง” 

    ความดีงามความบริสุทธิ์สะอาดความเบิกบานทั้งกายและใจก็จะบังเกิดขึ้น อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการปฏิบัติธรรม ฉะนั้นข้าวทิพย์จึงเป็นอาหารสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมโดยแท้ ข้าวทิพย์มิใช่เป็นเพียงสมญานามเท่านั้น แต่ข้าวทิพย์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงเสวยแล้วก็คือ อาหารทิพย์ของมหาชนทั้งโลกนั้นเอง 
 

 

ที่มาจาก : http://www.madchima.org

              http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=137&page=10