ค่ำคืนมงคล!! วันเพ็ญพุธ ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนของภาคเหนือ ค่ำคืนที่พระอุปคุตจำแลงกายเป็นสามเณรออกมาโปรดสัตว์!!

ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่ http://www.tnews.co.th

"วันเป็งปุ๊ด (เพ็ญพุธ)" หรือประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน เป็นประเพณีของทางภาคเหนือ ในทุกปีที่มีวันขึ้น 15 ค่ำ ที่ตรงกับวันพุธโดยไม่เจาะจงว่าต้องอยู่ในเดือนใด พระภิกษุสามเณรทุกรูปจะออกบิณฑบาตในตอนเที่ยงคืน โดยมีความแตกต่างของการนับเวลาคือ ที่ จังหวัดเชียงใหม่ จะตักบาตรคืนวันอังคารหลังเวลา 00.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เข้าสู่วันพุธ ในขณะที่จังหวัดเชียงราย ลำปาง และแม่ฮ่องสอน จะใส่ตักบาตรในคืนวันพุธเวลา 24.00 น. เป็นต้นไป

บรรดาพุทธศาสนิกชนชาวเหนือจะเตรียมข้าวสารอาหารแห้งไว้คอยใส่บาตรตั้งแต่หลังเที่ยงคืน โดยจะไปคอยใส่บาตรที่หน้าบ้าน ตามถนนสายต่างๆ หรือตามแยกใกล้ชุมชน เป็นต้น

ค่ำคืนมงคล!! วันเพ็ญพุธ ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนของภาคเหนือ ค่ำคืนที่พระอุปคุตจำแลงกายเป็นสามเณรออกมาโปรดสัตว์!!

(ภาพจาก http://www.madchima.org)

 

ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่เข้าใจว่าทางภาคเหนือคงรับเอามาจากประเทศพม่า มีความเชื่อว่า พระอุปคุตซึ่งเป็นภิกษุที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นองค์อุปัชฌาย์ เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เสด็จลงไปจำศีลภาวนาอยู่ ณ สะดือทะเล

ในรอบ ๑ ปี จะขึ้นมาโปรดชาวเมืองก่อนเวลารุ่งอรุณชาวพม่ามักตื่นแต่ดึก เพื่อเตรียมอาหารไว้ใส่บาตรพระอุปคุตโดยมีคติความเชื่อว่า หากผู้ใดได้ทำบุญตักบาตรพระอุปคุตแล้วจะได้บุญใหญ่หลวง เกิดโชคลาภและความเป็นสิริมงคลในชีวิต

ค่ำคืนมงคล!! วันเพ็ญพุธ ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนของภาคเหนือ ค่ำคืนที่พระอุปคุตจำแลงกายเป็นสามเณรออกมาโปรดสัตว์!!

 

คติความเชื่อนี้จึงทำให้พุทธศาสนิกชนถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ

ในประเทศไทยการใส่บาตรเที่ยงคืนนี้ชาวเหนือเชื่อกันว่าพระอุปคุตจะแปลงกายเป็นสามเณรออกมาโปรดสัตว์ถ้าผู้ใดได้ใส่บาตรกับพระอุปคุตแล้วบุคคลนั้น จะประสบแต่ความสุขร่ำรวยด้วยทรัพย์สินเงินทองได้อานิสงส์แรง ดังนั้นเมื่อถึงวันเพ็ญตรงกับวันพุธชาวเหนือทุกคนจะไปคอยใส่บาตรเป็นพิเศษ

พระอุปคุต พระอุปคุปต์ หรือ พระบัวเข็ม เป็นพระภิกษุองค์สำคัญองค์หนึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช[1] และเป็นปฐมาจารย์แห่งนิกายสรวาสติวาทชื่อ "อุปคุต" แปลว่า ผู้คุ้มครองรักษา

 

ประวัติ

เชื่อกันมาว่า พระอุปคุตมีอิทธิฤทธิ์ปราบท้าววสวัตตี มีเรื่องเล่ามาว่าประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 2 หลังพุทธปรินิพพาน ณ นครปาตลีบุตราชธานี (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ ภาคใต้ของประเทศอินเดีย) พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ครองราชสมบัติในขณะนั้น ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้ฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งหมดที่พระองค์สร้างอย่างยิ่งใหญ่ ตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน แต่ถูกพญามารมาผจญ ท่านจึงนิมนต์พระอุปคุตไปปราบพญามารจนยอมแพ้จากนั้นพระอุปคุตก็มีชื่อเสียงในทางปราบมาร ท่านมีอีกชื่อว่า "พระบัวเข็ม"

 

ปัจจุบันยังมีความเชื่อในหมู่ชาวไทยวนว่า พระบัวเข็มหรือพระอุปคุตยังมีชีวิตอยู่ ในทุกวันขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ชาวไทยวนจะเรียกว่าเป็น "วันเป็งปุ๊ด" พระอุปคุตจะออกบิณฑบาตในร่างเณรน้อย และจะออกมาเวลาเที่ยงคืน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเพณีตักบาตรกลางคืนขึ้น

ค่ำคืนมงคล!! วันเพ็ญพุธ ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนของภาคเหนือ ค่ำคืนที่พระอุปคุตจำแลงกายเป็นสามเณรออกมาโปรดสัตว์!!