รำลึกถึงปฐมบูรพาจารย์วิชาการพยาบาล !! 12 พฤษภาคม วันคล้ายวันเกิด "มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล" นางฟ้่าชุดขาว ผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพการพยาบาล!!!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

รำลึกถึงปฐมบูรพาจารย์วิชาการพยาบาล !! 12 พฤษภาคม วันคล้ายวันเกิด "มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล" นางฟ้่าชุดขาว ผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพการพยาบาล!!!

หลายคนอาจทราบว่า เรามีวันพยาบาลแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 21 ตุลาคมของทุกปี แต่อาจไม่ทราบว่าวันที่ 12 พฤษภาคม เป็นวันพยาบาลสากลด้วย ถ้าอยากรู้ว่า "วันพยาบาลสากล" มีความสำคัญอย่างไร และเหตุใดจึงต้องมีวันนี้ขึ้น

 สภาพยาบาลระหว่างประเทศ (International Council of Nurses, ICN) ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพพยาบาล ได้กำหนดให้วันที่ 12 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันพยาบาลสากล (International Nurses Day) โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) 

   รำลึกถึงปฐมบูรพาจารย์วิชาการพยาบาล !! 12 พฤษภาคม วันคล้ายวันเกิด "มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล" นางฟ้่าชุดขาว ผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพการพยาบาล!!!       

          ทั้งนี้เนื่องจากวันที่ 12 พฤษภาคม เป็นวันเกิดของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพการพยาบาล และเป็นผู้ที่มีอุดมการณ์ตั้งใจจะบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อมวลมนุษย์อย่างแท้จริง จนได้รับการยกย่องและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
จุดประสงค์ของการกำหนดวันพยาบาลสากล

          วันพยาบาลสากล ถูกกำหนดขึ้นเพื่อสดุดีคุณงามความดีของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ที่ทำประโยชน์อย่างมากมายให้แก่มวลมนุษย์ รวมทั้งเพื่อเป็นการยกย่อง ให้เกียรติ และให้คนยึดถือเอาเป็นแบบอย่าง อีกทั้งยังมีจุดมุ่งหมายให้พยาบาลทั่วโลกร่วมมือจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แก่สาธารณชน และกำหนดแนวทางเพื่อให้พยาบาลทั่วโลกรณรงค์แก้ไขปัญหาสุขภาพในแต่ละปี

 

รำลึกถึงปฐมบูรพาจารย์วิชาการพยาบาล !! 12 พฤษภาคม วันคล้ายวันเกิด "มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล" นางฟ้่าชุดขาว ผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพการพยาบาล!!!

ประวัติ มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล

          มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล เป็นชาวอังกฤษ เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1820 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ครอบครัวของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล จัดว่ามีฐานะ จึงทำให้เธอได้รับการศึกษาอย่างดี มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล มีความตั้งใจที่จะเป็นพยาบาล ดังนั้นเมื่อเธออายุได้ 20 ปี ได้ขอบิดามารดาเรียนพยาบาล แต่ไม่ได้รับการอนุญาต เนื่องจากในสมัยนั้นงานพยาบาลไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร แต่เธอก็ยังมุ่งมั่นที่จะทำงานเสียสละเพื่อดูแลผู้เจ็บป่วย จนหาโอกาสได้ไปเยี่ยม และดูงานตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ในทวีปยุโรป จนสุดท้ายมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ก็ได้เข้าศึกษาอบรมวิชาพยาบาลที่ประเทศเยอรมนีได้ดังใจฝัน

          ต่อมาในปี ค.ศ. 1857 เกิดสงครามไครเมียขึ้น มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้อาสาสมัครไปช่วยดูแลทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม เธอเสียสละทรัพย์สิน และขอเรี่ยไรจัดหาเครื่องเวชภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือทหาร อีกทั้งยังได้ออกตระเวนตรวจเยี่ยม เพื่อรักษาและให้กำลังใจทหารแม้ในเวลาค่ำคืน จนได้รับสมญานามว่า "สุภาพสตรีแห่งดวงประทีป" (The lady of the lamp)

          ภายหลังสงครามสิ้นสุด มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้ริเริ่มพัฒนากิจการพยาบาลให้ก้าวหน้า จนในที่สุดได้มีผู้ร่วมกันก่อตั้งกองทุนการศึกษาสำหรับพยาบาล "ไนติงเกล" เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน จากนั้นมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ก็ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้จัดระเบียบด้านสุขภาพในกองทัพประเทศอังกฤษ และวางแผนงานด้านสุขาภิบาลในประเทศอินเดีย จนก่อตั้งโรงเรียนพยาบาลที่เป็นต้นแบบของโรงเรียนพยาบาลทั่วโลก นอกจากนี้มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ยังได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในฐานะผู้บุกเบิกวิชาชีพการพยาบาลอีกด้วย

รำลึกถึงปฐมบูรพาจารย์วิชาการพยาบาล !! 12 พฤษภาคม วันคล้ายวันเกิด "มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล" นางฟ้่าชุดขาว ผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพการพยาบาล!!!

วันพยาบาลสากลในประเทศไทย

          สำหรับในประเทศไทยนั้น สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ได้เข้าเป็นองค์กรสมาชิกของสภาพยาบาลระหว่างประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) และได้จัดกิจกรรมวันพยาบาลสากลเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร ทวีลาภ นายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในขณะนั้น ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และองค์การยูนิเซฟ จัดกิจกรรมวันพยาบาลสากล 

          และในปีต่อ ๆ มาก็มีการจัดกิจกรรมเนื่องในวันพยาบาลสากลมาโดยตลอด โดยมีจุดประสงค์สำคัญ เพื่อสดุดีมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล บูรพาจารย์แห่งการพยาบาล รำลึกถึงพระคุณของท่าน และประกาศเกียรติคุณเพื่อให้ประชาชนได้ทราบ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่บทบาทของพยาบาลต่อสุขภาพของประชาชนให้ทราบเป็นประจำทุกปี

 

กิจกรรมในวันพยาบาลสากล

          ในสถานพยาบาล หน่วยงานการแพทย์ที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาล เช่น

          1. จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ นิทรรศการเกี่ยวกับสุขภาพ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอื่น ๆ

          2. จัดให้มีการตรวจสุขภาพ และคัดกรองโรค

          3. จัดกิจกรรมรณรงค์ให้มีการดูแลสุขภาพในครอบครัว

          4. จัดประชุมวิชาการเกี่ยวกับการแพทย์ และการพยาบาล

          5. ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์พยาบาลแก่ประชาชน

          6. ให้การบริการพยาบาลแก่ประชาชน

          7. จัดกิจกรรมรับบริจาคโลหิต

          นอกจากวันพยาบาลสากลจะเป็นวันที่มีความสำคัญต่อผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลทั่วโลกแล้ว สำหรับประชาชนคนทั่วไป ก็ควรต้องรำลึกถึงความสำคัญของวันนี้ และยกย่องมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ในฐานะปฐมบูรพาจารย์วิชาการพยาบาลของโลกเช่นกัน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

- https://hilight.kapook.com

- thainurse.org
- icn.ch