พระมหากษัตริย์ผู้เป็น “ปราชญ์แห่งการพัฒนาพลังงาน”และ”พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย”ที่คนไทยไม่เคยลืม"พ่อหลวงรัชกาลที่ ๙"

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์   http://panyayan.tnews.co.th

พระมหากษัตริย์ผู้เป็น “ปราชญ์แห่งการพัฒนาพลังงาน”และ”พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย”ที่คนไทยไม่เคยลืม"พ่อหลวงรัชกาลที่ ๙"

พระมหากษัตริย์ผู้เป็น “ปราชญ์แห่งการพัฒนาพลังงาน”และ”พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย”ที่คนไทยไม่เคยลืม"พ่อหลวงรัชกาลที่ ๙"

ปี 2544 ในหลวง ร.9 เองก็มีสติกเกอร์ติดรถยนต์ส่วนพระองค์เหมือนกัน รถพระที่นั่งของในหลวงติดสติกเกอร์ว่า “รถคันนี้ใช้น้ำมันปาล์ม 100%” ซึ่งหมายถึงไบโอดีเซลจากปาล์ม อันเป็นหนึ่งในผลลัพธ์จากวิสัยทัศน์อันเฉียบคมของในหลวง ร.9 ที่ทรงตระหนักถึงปัญหาพลังงานในเมืองไทย เพราะประชาชนต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับน้ำมันในแต่ละปีเป็นจำนวนมหาศาล จึงโปรดฯ ให้มีการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับพลังงานทดแทน มาใช้แทนพลังงานสิ้นเปลืองที่นับวันจะมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ

พระมหากษัตริย์ผู้เป็น “ปราชญ์แห่งการพัฒนาพลังงาน”และ”พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย”ที่คนไทยไม่เคยลืม"พ่อหลวงรัชกาลที่ ๙"
ติดตามข่าวเพิ่มเติมที่ :"ก็นี่ร้านเรา เรามาขายไม่ได้รึ" หนึ่งในพระราชอารมณ์ขันของในหลวงร.๙ ที่ใครๆก็ไม่คาดคิดถึง

พระมหากษัตริย์ผู้เป็น “ปราชญ์แห่งการพัฒนาพลังงาน”และ”พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย”ที่คนไทยไม่เคยลืม"พ่อหลวงรัชกาลที่ ๙"
รถคันที่ติดสติกเกอร์นี้เป็นรถพระที่นั่งที่ใช้เมื่อเสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เขื่อนคลองท่าด่าน จ.นครนายก เมื่อปี 2544 เป็นประจักษ์พยานที่ชัดเจนว่า รถยนต์ที่เติมด้วยน้ำมันปาล์ม 100% นั้นสามารถใช้เติมแทนน้ำมันดีเซลและใช้วิ่งได้จริงโดยไม่ทำให้เครื่องยนต์มีปัญหา ตัวน้ำมันไบโอดีเซลจากปาล์มนี้เป็นผลผลิตจากอาคารไบโอดีเซลในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา  และในวันที่ 9เมษายน พ.ศ.2544 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายอ าพล เสนาณรงค์ องคมนตรีเป็นผู้แทนพระองค์ ยื่นจดสิทธิบัตร ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์คือ "การใช้น้ ามันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ ามันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล" สิทธิบัตรเลขที่ 10764และในปีเดียวกัน ส านักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้จัดส่งผลงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปร่วมแสดงในงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ "BRUSSELS EUREKA 2001" ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม จัดโดย TheBelgian Chamber of Inventor ซึ่งเป็นองค์กรจัดแสดงผลงานการประดิษฐ์คิดค้น รวมทั้งมอบรางวัลให้แก่นักประดิษฐ์ หรือนักวิจัยที่มีผลงานดีเด่น อันก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของโลก ได้มีมติทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทอง ถ้วยรางวัล พร้อมประกาศนียบัตรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณในพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ได้แก่ โครงการทฤษฎีใหม่ โครงการฝนหลวง และ โครงการน้ำมัน ไบโอดีเซล สูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม นำมาซึ่งความปลาบปลื้มปีติยินดีแก่ประชาชนชาวไทยทั้งมวล

พระมหากษัตริย์ผู้เป็น “ปราชญ์แห่งการพัฒนาพลังงาน”และ”พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย”ที่คนไทยไม่เคยลืม"พ่อหลวงรัชกาลที่ ๙"
ติดตามข่าวเพิ่มเติมที่ :เล่าเรื่องใกล้เบื้องพระยุคลบาท...เมื่อในหลวงรัชกาลที่๙ ทรงฝึกแบดมินตันกับอดีตแชมเปี้ยนโลก!!!

พระมหากษัตริย์ผู้เป็น “ปราชญ์แห่งการพัฒนาพลังงาน”และ”พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย”ที่คนไทยไม่เคยลืม"พ่อหลวงรัชกาลที่ ๙"
ความจริงในหลวงทรงมองขาดเรื่องวิกฤติพลังงานขาดแคลนมาตั้งแต่ปี 2504 โดยตรัสว่าค่ารถจะแพง ก็แปลว่าน้ำมันจะแพง เผอิญยุคนั้นเมืองไทยกำลังฮิตปลูกต้นยูคาลิปตัสกันทั่วไป ก็ทรงปรารภว่าถ้าปลูกยูคาลิปตัส กว่าจะตัดไปขายได้ก็ 3 ปี ระหว่างนั้นชาวบ้านจะเอาอะไรกิน แต่ถ้าปลูกอ้อย ปลูกทุกปีขายได้ทุกปี แล้วก็เอาอ้อยมาทำแอลกอฮอล์ได้จนเมื่อปี 2528 จึงโปรดฯ ให้ปลูกอ้อยในบริเวณโครงการส่วนพระองค์ และทรงให้ศึกษาจะเอาไปทำเอธิลแอลกอฮอล์เพื่อนำไปผสมกับน้ำมันเบนซิน หลังจากที่ทดลองอยู่เป็นสิบปี ในที่สุดก็ได้สูตรที่ลงตัวผสมได้เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ โดยโปรดฯให้ทดลองใช้กับรถยนต์ของโครงการส่วนพระองค์ทุกคัน ปรากฏว่าวิ่งได้ดี นอกจากนี้ยังทรงให้ทดลองนำพืชอื่นๆ ที่เกษตรกรในภูมิภาคต่างๆ ปลูก เช่น มะพร้าว สบู่ดำ งา และทานตะวัน มาสกัดเป็นน้ำมันไบโอดีเซล สำหรับเติมแทนน้ำมันเหมือนกัน อย่างไรก็ตามเนื่องจากสมัยนั้นราคาน้ำมันเครื่องต่ำมาก ต้นทุนการผลิตของทั้งไบโอดีเซลและแก๊สโซฮอล์จึงยังสูงกว่า ทำให้กระแสพลังงานทางเลือกยังจุดไม่ติดในระยะแรก แต่ก็ไม่ทรงท้อและรับสั่งว่า “...ให้ดำเนินการต่อไป อย่าทิ้ง แม้ใครจะเลิกทำ...” เพราะทรงหนักแน่นอย่างนั้นเอง วันนี้คนไทยจึงมีพลังงานทดแทนในราคาย่อมเยาไว้ใช้เป็นทางเลือก
ที่มา : FB เพจ สานต่อที่พ่อทำ และ ธนัช สุขวิมลเสรี. ในหลวงกับพระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน.  Engineering Today. Hilight. ปีที่ 5 ฉบับที่ 60 (ธันวาคม 2550)

พระมหากษัตริย์ผู้เป็น “ปราชญ์แห่งการพัฒนาพลังงาน”และ”พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย”ที่คนไทยไม่เคยลืม"พ่อหลวงรัชกาลที่ ๙"
ติดตามข่าวเพิ่มเติมที่ :2พระบิดาข้าวไทย !!! รัฐบาลประกาศเฉลิมพระเกียรติ"ในหลวงร.9" พร้อม"รัชกาลที่5" พระบิดาปฏิรูปฯและพัฒนาข้าวไทย
ข่าวโดย :  กิตติ จิตรพรหม ทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ – ทีนิวส์