พระเมตตาดั่งสายธาร!! ๑๗ พฤษภาคม ในหลวง ร.๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน "ภูมิพล" เขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย!!!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

พระเมตตาดั่งสายธาร!! ๑๗ พฤษภาคม ในหลวง ร.๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน "ภูมิพล" เขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย!!!

      เขื่อนภูมิพล เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกในประเทศไทย ลักษณะเป็นเขื่อนคอนกรีตรูปโค้ง เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2496 แล้วเสร็จทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 เขื่อนนี้เดิมชื่อ เขื่อนยันฮี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นชื่อเขื่อนว่า เขื่อนภูมิพล เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2500  เขื่อนภูมิพลสร้างปิดกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง 250 เมตร สูง 154 เมตร ยาว 486 เมตร ความกว้างของสันเขื่อน 6 เมตร  อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนภูมิพลเป็นเขื่อนโค้งที่สูงเป็นอันดับ 27 ของโลก

พระเมตตาดั่งสายธาร!! ๑๗ พฤษภาคม ในหลวง ร.๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน "ภูมิพล" เขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย!!!

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2504 การก่อสร้างในระยะแรกประกอบด้วย งานก่อสร้างตัวเขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า และอาคารโรงไฟฟ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2507

พระเมตตาดั่งสายธาร!! ๑๗ พฤษภาคม ในหลวง ร.๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน "ภูมิพล" เขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย!!!

     หน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นมาควบคุมการก่อสร้าง บำรุงรักษาและบริหารงานเขื่อนภูมิพล เมื่อ พ.ศ. 2500 เป็นรัฐวิสาหกิจมีชื่อว่า "การไฟฟ้ายันฮี" ซึ่งต่อมาได้ควบรวมกับรัฐวิสาหกิจ "การลิกไนต์" และ "การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ" เป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เมื่อ พ.ศ. 2511 มีผู้ว่าการคนแรกคือนายเกษม จาติกวณิช

พระเมตตาดั่งสายธาร!! ๑๗ พฤษภาคม ในหลวง ร.๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน "ภูมิพล" เขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย!!!

ถ้าเราดูแผนที่ภาคเหนือของประเทศไทยจะเห็นว่า ต้นน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาประกอบด้วยแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน ไหลลงมาบรรจบกันเป็นลำน้ำเจ้าพระยาแท้ ที่จังหวัดนครสวรรค์ เฉพาะแม่น้ำวังนั้น เป็นสาขาของแม่น้ำปิง ประกอบด้วย แควใหญ่น้อยไหลลงมารวมกับแม่น้ำปิงที่เหนือจังหวัดตาก แม่น้ำและแควต่าง ๆ เหล่านี้เป็นแหล่งน้ำที่ส่งน้ำหล่อเลี้ยงพืชผลต้นข้าวในภาคเหนือตลอดลงมาถึงภาคกลาง ในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา แต่น้ำในลำน้ำเหล่านี้ก็มาจากน้ำฝน เมื่อฝนเริ่มตก พื้นดินยังโศกอยู่ ฝนจะถูกดินดูดไว้เสียเกือบหมด ต่อไปเมื่อดินอิ่มน้ำขึ้น น้ำท่า คือน้ำในลำน้ำเหล่านั้นจึงค่อย ๆ มีไหลในลำน้ำ และจะมีระดับสูงขึ้นหรือต่ำลงตามปริมาณฝน ในภาคเหนือ แผ่นดินมีความลาดเทมาก แม่น้ำท่าจะขึ้นจนล้นฝั่ง ไม่กี่วันก็จะยุบลง การเสียหายแก่นาเพราะน้ำท่วมจึงเกือบไม่มี

พระเมตตาดั่งสายธาร!! ๑๗ พฤษภาคม ในหลวง ร.๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน "ภูมิพล" เขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย!!!

          ครั้นน้ำนั้นไหลลงมาถึงพิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ อันเป็นแหล่งบรรจบของแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน น้ำจะมารวมกันมากมายทำให้ท่วมที่ดินในภาคนี้อย่างมากและนานวันทุกปี การที่น้ำเข้าไปนองในทุ่งของภาคนี้เท่ากับธรรมชาติเอาน้ำเข้าไปพักไว้ในอ่างชั่วคราว มิฉะนั้นแล้วน้ำจะไหลประดังลงมาและภาคกลางจะประสบแต่อุทกภัยทุกปี จากนครสวรรค์ลงมา แม่น้ำเจ้าพระยารับน้ำถึงปริ่มตลิ่งได้ 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่พอถึงอ่างทอง ลำแม่น้ำเล็กลง รับน้ำได้เพียง 2,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที น้ำส่วนที่เหลือจึงต้องล้นฝั่ง โดยที่ทุ่งใต้อ่างทองราบกว้าง น้ำจึงแผ่กระจายออกไปได้ทั่วทุ่งในราวเดือนกันยายน – ตุลาคม จนมีคำกล่าวกันว่า เดือน 11 น้ำนอง เดือน 12 น้ำทรง น้ำที่ท้นขึ้นท่วมทุ่งนี้ จะค่อย ๆ ไหลลงสู่ปากอ่าว ทุ่งราบภาคกลางจึงมีน้ำเลี้ยงต้นข้าวอยู่ได้จนถึงเวลาข้าวออกรวงในปีที่เป็นปีน้ำงาม อย่างไรก็ดี ก่อนที่น้ำจะท้นฝั่ง การทำนาต้องอาศัยฝน และเมื่อฝนตกล่าไปก็ได้ เร็วไปก็ได้ ปริมาณก็ไม่สม่ำเสมอ บางทีก็มีทิ้งระยะ โดยเฉพาะในเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม ข้าวกล้าจึงมักจะตายไปเสียตอนหนึ่ง ครั้นแล้วถ้าลงกล้าใหม่ ข้าวยังไม่ทันแตกกอ น้ำนองมาเร็วข้าวก็จมน้ำตายอีก พอปลายฤดู ถ้านองมากเกินไปก็เป็นอุทกภัย ถ้านองอยู่ไม่นาน เพราะน้ำเหนือมีน้อย ระดับน้ำในแม่น้ำลดเร็ว น้ำในทุ่งก็ไหลกลับลงสู่แม่น้ำเสียก่อนข้าวสุก ผลก็คือเกิดการเสียหายอีก การเสียหายเพราะน้ำไม่พอเหมาะพอดีนี้เกิดขึ้นได้ตลอดทั้งฤดูกาล เพื่อผลในการเกษตร รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประกอบโครงการชลประทาน และดำเนินการตามความต้องการของประเทศและกำลังเงินมาแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยลำดับ ถึงสมัยปัจจุบันพัฒนาการเกี่ยวกับน้ำมีความเจริญยิ่งขึ้น นอกจากจะใช้น้ำเพื่อการชลประทานเฉพาะท้องที่เท่านั้น ยังต้องการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์ได้หลายอย่าง โดยวางโครงการพัฒนาให้ตลอดทั้งลุ่มน้ำและสาขา ในการพัฒนาลุ่มน้ำเจ้าพระยานั้น กรมชลประทานได้จัดแยกประเภทใหญ่ ๆ ออกเป็นสองประเภท คือ โครงการเขื่อนตุนน้ำ และโครงการทดและส่งน้ำ เขื่อนภูมิพลที่สร้างขึ้นนี้อยู่ในโครงการเขื่อนตุนน้ำ เป็นเขื่อนแรกและเขื่อนสำคัญดุจแม่เขื่อนของเขื่อนอื่น ๆ ที่จะสร้างขึ้นในภาคเหนือบนแม่น้ำวัง ยม และน่านต่อไปอีก มีเขื่อนท่าปลาที่จะสร้างขึ้นปิดแม่น้ำน่านที่ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นต้น เขื่อนภูมิพลและเขื่อนท่าปลานี้จะช่วยทำให้ทุ่งสามเหลี่ยมบน คือ พื้นที่ระหว่างกำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ พ้นจากน้ำท่วมเป็นการประจำปี ซึ่งจะทำให้ทุ่งสามเหลี่ยมบนนี้ เป็นที่ทำการเพาะปลูกได้อีกประมาณ 5 ล้านไร่ สำหรับพลเมืองจากภาคอื่น ๆ จะได้ย้ายภูมิลำเนาเข้าไปทำมาหากินเป็นจำนวนล้าน ๆ คน ประโยชน์ของการพัฒนาลุ่มน้ำเจ้าพระยานั้น อาจกล่าวสรุปดังนี้

พระเมตตาดั่งสายธาร!! ๑๗ พฤษภาคม ในหลวง ร.๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน "ภูมิพล" เขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย!!!

1. ทำให้อุทกภัยบรรเทาลง โดยการที่สามารถระบายน้ำทิ้งไปด้วยคลองระบายน้ำเสียก่อนน้ำปีหลากได้ ถ้าปีใดน้ำมากก็อาจส่งน้ำไปตามคลอง แล้วแผ่กระจายไว้ในทุ่งได้เป็นจำนวนมาก

2. เก็บตุนน้ำเอาไว้ใช้ตลอดปี เมื่อได้ทำการกักตุนน้ำ เช่นที่เขื่อนภูมิพล ซึ่งเก็บน้ำไว้ใช้งานได้ถึง 8,600 ล้านลูกบาศก์เมตร และโครงการเขื่อนท่าปลาบนแม่น้ำน่าน ซึ่งจะเก็บน้ำปีของแม่น้ำน่านไว้ได้ถึง 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ทุ่งสามเหลี่ยมกำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ และพื้นที่บริเวณใต้ที่แม่น้ำทั้งสี่มาบรรจบกัน ก็ย่อมจะลดภัยจากน้ำท่วมเป็นประจำปีลงได้

3. ทดและส่งน้ำไปใช้ให้ได้อย่างประหยัด และให้ได้อย่างสม่ำเสมอในเวลาเพาะปลูก และระบายน้ำทิ้งให้ได้ทันการเพื่อป้องกันมิให้ดินบูดเน่า ไม่ต้องอาศัยฝนแต่อย่างเดียว ผลผลิตเฉลี่ยเดิมไร่ละ 100-250 ก.ก. ก็จะเพิ่มเป็น 330 ก.ก. สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีพื้นที่ราบ 7 ล้านไร่

พระเมตตาดั่งสายธาร!! ๑๗ พฤษภาคม ในหลวง ร.๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน "ภูมิพล" เขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย!!!

4. ใช้น้ำผลิตไฟฟ้า เมื่อไขน้ำในอ่างกักตุนน้ำ เช่นที่เขื่อนภูมิพล โดยให้ผ่านท่อส่งน้ำเข้าเครื่องกังหัน ก็ยังจะผลิตไฟฟ้าได้ถึง 2,200 ล้านยูนิตต่อปี ไฟฟ้าจำนวนนี้จะช่วยให้เกิดอุตสาหกรรมขึ้น

5. ใช้ลำน้ำในการคมนาคม ในปัจจุบันนี้ มีสินค้าที่ไม่ได้บรรจุหีบห่อ ขนผ่านคลองชลประทานประมาณ ๔ ล้านตันต่อปีค่าขนส่งทางเรือ ทางรถไฟ และทางถนนถูกกว่ากันตามอัตราส่วนดังนี้ ทางเรือ – 1 : ทางรถไฟ - 2 ทางถนน – 5

6. ใช้น้ำในการอุตสาหกรรม

7. จำนวนน้ำที่ไหลผ่านเครื่องกังหันน้ำที่เขื่อนภูมิพล เมื่อไหลลงมาถึงเขื่อนเจ้าพระยาที่ชัยนาท ก็จะทดเอาไปปลูกพืชหมุนเวียนในฤดูแล้งได้อีก 2 ล้านไร่ เป็นมูลค่าปีละประมาณ 800 ล้านบาท เฉพาะประโยชน์ที่จะได้จากเขื่อนภูมิพลโดยเอกเทศ จะเห็นได้ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ในด้านป้องกันน้ำท่วม ทะเลสาปสำหรับเก็บน้ำที่เขื่อนภูมิพล

พระเมตตาดั่งสายธาร!! ๑๗ พฤษภาคม ในหลวง ร.๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน "ภูมิพล" เขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย!!!

        ซึ่งอาจจุน้ำได้ถึง 12,200 ล้านลูกบาศก์เมตรนั้น เป็นอ่างตาย คือเก็บน้ำไว้เฉย ๆ เสีย 3,600 ลูกบาศก์เมตร เพราะฉะนั้น ตอนที่เก็บน้ำไว้เพื่อใช้การจึงมีถึง 8,600 ลูกบาศก์เมตร ในตอนต้นฤดูฝน ทะเลสาปนี้จะไม่เก็บน้ำไว้จนเต็มอ่าง โดยจะเหลือที่ไว้สำหรับบรรจุน้ำจากน้ำฝนในเดือนกันยายนและตุลาคม ซึ่งเป็นเดือนที่ฝนตกชุกประจำปี เพื่อเติมให้เต็มอ่าง ถ้าบังเอิญในเดือนกันยายนมีน้ำบ่ามามาก แต่เดิมเมื่อไม่มีอ่าง ก็เกิดอุทกภัยบนพื้นที่เพาะปลูกด้านท้ายน้ำของเขื่อนได้ ตัวอย่างเช่น ในปี 2502 ทั้ง ๆ ที่มีการแผ่กระจายน้ำ ด้วยคลองส่งน้ำของโครงการเจ้าพระยาอยู่แล้ว แม่น้ำปิงยังหลากมาท่วมพื้นที่เพาะปลูก ตั้งแต่ท้ายเขื่อนลงมาจนถึงทุ่งราบภาคกลางบางส่วน น้ำที่หลากมานั้นมีจำนวนเพียง 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงเห็นได้ว่าปริมาตรของอ่างตอนที่เก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์นั้น จะเก็บน้ำหลากที่กล่าวมานั้นไว้ได้หมด และอุทกภัยคล้ายในปี 2460 ก็จะบรรเทาลง ในด้านการชลประทาน โครงการเขื่อนภูมิพลจะทำการชลประทานให้แก่พื้นที่ในจังหวัดตากและกำแพงเพชร ได้ประมาณ 1,500,000 ไร่ ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง พื้นที่เหล่านี้หากใช้ทำนาจะได้ข้าวเพิ่มขึ้นอีกปีละ 390,000 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท โดยคำนวณราคาข้าวตันละ 1,657 บาท ในฤดูแล้ง น้ำซึ่งไหลผ่านเครื่องกังหันน้ำเขื่อนภูมิพลมีประมาณ 6 เท่าของน้ำธรรมชาติ ปริมาณของน้ำนี้เมื่อใช้ในการชลประะทานให้แก่พื้นที่ในจังหวัดตากและกำแพงเพชร 400,000 ไร่แล้ว ก็ยังเหลือพอสำหรับทำการชลประทานให้แก่พื้นที่ในโครงการเจ้าพระยา 2,500,000 ไร่

พระเมตตาดั่งสายธาร!! ๑๗ พฤษภาคม ในหลวง ร.๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน "ภูมิพล" เขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย!!!

        ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตพืชผลฤดูแล้งขึ้นอีกเป็นมูลค่าปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท ในด้านการคมนาคมทางน้ำ ซึ่งเป็นหัวใจของการขนส่งภาคกลาง เมื่อสร้างเขื่อนภูมิพลเสร็จแล้ว เรือขนาดกินน้ำลึก 2 เมตร จะขึ้นล่องได้ตลอดปีในระหว่างนครสวรรค์ถึงยันฮี เมื่อได้ทำการบีบลำน้ำปิงบางตอนด้วยแล้ว และโดยการถ่ายเรือที่เขื่อนภูมิพล การขนส่งก็จะทำได้ถึงอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะทางทั้งสิ้น 400 กิโลเมตร ในด้านผลิตกำลังไฟฟ้า เขื่อนภูมิพลสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้ 2,230 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี โดยไม่ต้องเสียเชื้อเพลิง ซึ่งเมื่อคำนวณราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะต้องใช้ในการผลิตไฟฟ้าตามปกติในปริมาณเท่านี้แล้ว เขื่อนภูมิพลจะช่วยประหยัดเงินค่าเชื้อเพลิงไว้ได้ถึงปีละ 370 ล้านบาท กำลังไฟฟ้าจะส่งไปยัง 36 จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นจังหวัดภาคกลาง และภาคเหนือ และบางจังหวัดในภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ ๑๗ พฤษภาคม 2507 ซึ่งเป็นวันทำพิธีเปิดเขื่อนภูมิพล จังหวัดภาคกลางและภาคเหนือ 17 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี พระนคร ธนบุรี และสมุทรปราการ ก็เริ่มใช้ไฟฟ้าจากเขื่อนภูมิพลได้พร้อมกันแล้ว โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงสับไกเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เขื่อนนั้นเป็นปฐมฤกษ์ การที่เขื่อนภูมิพลสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นนี้ จะทำให้ค่ากระแสไฟฟ้าในเขตของโครงการเขื่อนภูมิพลลดลงอีกด้วย ค่าก่อสร้างตัวเขื่อน โรงไฟฟ้า

พระเมตตาดั่งสายธาร!! ๑๗ พฤษภาคม ในหลวง ร.๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน "ภูมิพล" เขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย!!!

        รวมทั้งค่าสร้างสายเอก สายรอง และสถานีปลายทางที่จังหวัดต่าง ๆ อันเป็นงานในระยะแรกนั้น เป็นเงินทั้งสิ้น 2,250 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินกู้จากธนาคารโลก 66 ล้านเหรียญอเมริกัน ในส่วนที่เป็นเงินบาทนั้น เป็นค่าซื้อที่ดินและค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ 103 ล้านบาท เป็นค่าภาษี 57 ล้านบาท ในส่วนที่เป็นเงินตราต่างประเทศ เป็นค่าดอกเบี้ยในระหว่างก่อสร้าง 10 ล้านเหรียญอเมริกัน ถึงการสร้างเขื่อนภูมิพลจะต้องใช้เงินมากมายตามจำนวนดังกล่าวมา แต่เมื่อคำนึงถึงผลที่เขื่อนภูมิพลจะช่วยให้เกิดในการพัฒนาประเทศแล้ว จะเห็นว่าประโยชน์ที่จะได้ในภายหน้านั้น ท่วมท้นค่าก่อสร้างเหลือคณนาทีเดียว

 

ที่มาจาก : เพจ  I Will Do for King