“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ” เมื่อครั้งทรงพระราชทานสัมภาษณ์ลงหนังสือในหลวงของเรา ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ (รายละเอียด)

ติดตามต่อที่ http://www.tnews.co.th/

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานสัมภาษณถึงทูลหม่อมพ่อ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชลงในหนังสือในหลวงของเรา ซึ่งจัดทำขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๑๙เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธ.ค.๒๕๑๙ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท

สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่โปรดคือ การกระทำที่ผิดทำนองคลองธรรม ไม่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ต่อประชาชนชาวไทย

“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ” เมื่อครั้งทรงพระราชทานสัมภาษณ์ลงหนังสือในหลวงของเรา ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ (รายละเอียด)

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชวาทเพื่อถือเป็นหลักในการปฏิบัติงานอย่างไร?

สมเด็จพระเทพฯ : พระบรมราโชวาทส่วนใหญ่เป็นหลักตามพุทธศาสนา เช่น หลักของการเสียสละ ซึ่งมีทั้งการเสียสละสิ่งของ สละความสุขส่วนตัว หรือหลักในการปฏิบัติงาน เช่น การสังเกต ให้มีความคิดที่จะใช้สิ่งที่มีอยู่ปรับปรุงให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ” เมื่อครั้งทรงพระราชทานสัมภาษณ์ลงหนังสือในหลวงของเรา ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ (รายละเอียด)

การช่วยแบ่งเบาพระราชภาระของล้นเกล้าฯ โดยการตามเสด็จฯไปในงานพระราชพิธีต่างๆ หรือตามเสด็จประพาสเยี่ยมราษฎรในเขตทุรกันดาร ตลอดจนเสด็จแทนพระองค์ในงานพระราชพิธีใหญ่ๆในต่างประเทศ ทูลกระหม่อมทรงถือเป็นหน้าที่ต้องปฏิบัติ หรือทรงมีพระราชดำริอย่างไรเกี่ยวกับพระราชภาระเหล่านี้?

สมเด็จพระเทพฯ : ช่วยแล้วแต่จะทรงใช้ในงานจิปาถะต่างๆ ไม่ได้มีหน้าที่แน่นอน นอกจากได้สนองพระเดชพระคุณในการคอยดูแลสอดส่องทุกข์สุข และให้กำลังใจประชาชน คอยดูแลในด้านงานอาชีพ

“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ” เมื่อครั้งทรงพระราชทานสัมภาษณ์ลงหนังสือในหลวงของเรา ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ (รายละเอียด)

ประชาชนส่วนใหญ่ใคร่จะเห็นพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชเกษมสำราญ ไม่อยาก จะเห็นทรงตรากตรำพระวรกายในการเสด็จประพาสตามถิ่นทุรกันดาร ที่เต็มไปด้วยภัยอันตรายจากผู้ก่อการร้าย ทรงคิดว่ามีทางใดบ้างที่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินจะสนองพระมหากรุณาธิคุณได้บ้าง?

สมเด็จพระเทพฯ : เวลาที่ทรงพระสำราญคือ เวลาที่เสด็จฯออกวางโครงการพัฒนาประเทศ และเห็นว่าพระราชดำริคงจะมีประโยชน์ต่อประชาชน ในเวลาที่เห็นผลจากโครงการต่างๆ อีกประการหนึ่ง สิ่งที่ทำให้ทรงพระสำราญ คือการที่ได้ทอดพระเนตรเห็นประชาชนมีน้ำใจต่อท่าน และประชาชนด้วยกัน ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินจะมีส่วนช่วยพระองค์ท่านได้โดยการช่วยตัวเอง ช่วยเพื่อนร่วมชาติคนอื่นๆ มีความรักความสามัคคีกัน ทำตนเป็นพลเมืองดี เห็นแก่ชาติบ้านเมือง

“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ” เมื่อครั้งทรงพระราชทานสัมภาษณ์ลงหนังสือในหลวงของเรา ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ (รายละเอียด)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระ ราชทานคำแนะนำ หรืออบรมทูล กระหม่อมอย่างไรบ้าง?

สมเด็จพระเทพฯ : พระราชทานคำแนะนำในทุกด้านที่ไปทูลถาม เพราะทรงทราบทุกเรื่อง นอกจากนั้นยังทรงสนับสนุนในการค้นคว้าหาความรู้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ทรงสนับสนุนให้ใช้ความคิดในทุกด้าน ไม่เคยทรงเบื่อที่จะฟังการออกความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ จะทรงช่วยวิจารณ์ความคิดนั้นๆ และพระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมด้วย

“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ” เมื่อครั้งทรงพระราชทานสัมภาษณ์ลงหนังสือในหลวงของเรา ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ (รายละเอียด)

ไม่เพียงเฉพาะสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แต่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯทุกพระองค์ ล้วนดำเนินรอยตามพระยุคลบาท ที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์เพื่ออาณาประชาราษฎร์อยู่เสมอมา นับเป็นความโชคดีของคนไทย ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากทุกๆพระองค์ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเอาพระทัยใส่ในการเลี้ยงดูพระราชโอรสพระราชธิดาทุกพระองค์ ให้มีความเสียสละ มีความรับผิดชอบต่อสถานภาพในแต่ละพระองค์ ดังที่ สมเด็จพระ นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะ บุคคลต่างๆที่เข้าเฝ้าฯถวายพระพรชัยมงคล ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๒๒ ว่า

“…เมื่อคนเขายกย่องนับถือให้เป็นประมุขเท่าไร เราต้องรู้สึกว่าเราต้องทำงานให้หนักกว่าทุกคนต้อง มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละข้อสำคัญเป็นคนดี ให้รู้จักเสียสละ ยิ่งเกิดมาในตำแหน่งลูกของประมุข แล้ว ก็ยิ่งต้องเสียสละมากขึ้น ต้องทั้งเรียนและต้องทั้งทำงานไปด้วย และก็ต้องพยายามทำให้ได้ดี…”

“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ” เมื่อครั้งทรงพระราชทานสัมภาษณ์ลงหนังสือในหลวงของเรา ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ (รายละเอียด)

ที่มา: welovemyking.com