ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

"กลิ่นหอมของข้าวไทยไม่มีอะไรมาเทียบเคียงได้" พระราชดำรัสในหลวง ร.๙ จุดกำเนิด"ข้าวหอมมะลิไทย"ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ณ ทุ่งกุลาร้องไห้(ชมคลิป)

         ประเทศไทย ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดในสังคมการเกษตรกรรมของประเทศไทยและสามารถนำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมากทุก ๆ ปี โดยประเทศไทยสามารถส่งออกข้าวมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกมาตลอดระยะเวลากว่าหลายสิบปี และในปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้นทุกปี สำหรับข้าวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศไทย คือ ข้าวหอมมะลิที่เป็นข้าวพันธุ์หลักที่สามารถส่งไปขายในตลาดที่สำคัญ ๆ ทั่วโลก

          ข้าวหอมมะลิ นับเป็นข้าวที่มีชื่อเสียงระดับโลกประเทศไทยผลิตข้าวหอมมะลิและส่งออกมาเป็น เวลาหลายปีมาแล้วโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิส่วนใหญ่ที่ปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนภาค ตะวันออกเฉียงเหนือเป็นข้าวหอมมะลิ คือ สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ (Khao Dawk Mali 105) และ ๑๕ เท่านั้น

          คนไทยปลูกและกินข้าวมานานจนกลายเป็นอาหารประจำชาติยิ่งกว่านั้นประเทศไทย ยังเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันและจากการที่ข้าวหอมมะลิของไทยได้สร้างชื่อเสียงในตลาดโลกมาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ประเทศมหาอำนาจที่มีความได้เปรียบทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งความเชี่ยวชาญทางด้านกฏหมายระหว่างประเทศ ได้พยายามที่จะพยายามที่จะพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมให้มีความคล้ายคลึงกับข้าวหอมมะลิไทย รวมทั้งได้พยายามหาช่องทางด้านกฏหมายเพื่อเป็นเจ้าของสิทธิบัตรในข้าวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวขาวดอกมะลิหรือข้าวหอมมะลิ ข้าวชั้นหนึ่งของโลกที่ชาวนาไทยคัดเลือกพันธุ์และดูแลรักษามานานหลายชั่วอายุคน เรื่องนี้ดูเผิน ๆ อาจจะคิดว่าเป็นเพียงเรื่องผลประโยชน์ทางการค้า แต่ถ้าพิจารณากันให้ถึงที่สุดแล้ว นี่เป็นการคุกคามต่อการรักษาเอกลักษณ์อันโดดเด่นของข้าวไทยอีกครั้งจากมหาอำนาจยักษ์ใหญ่แห่งโลกทุนนิยม หลังจากความพยายามครั้งแล้วครั้งเล่า ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนของไทยจะต้องร่วมมือกันหาทางปกปักษ์รักษาข้าวหอมมะลิของไทย ให้คงความเป็นข้าวของไทยอย่างเต็มความภาคภูมิต่อไปตราบชั่วลูกหลาน...

"กลิ่นหอมของข้าวไทยไม่มีอะไรมาเทียบเคียงได้" พระราชดำรัสในหลวง ร.๙ จุดกำเนิด"ข้าวหอมมะลิไทย"ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ณ ทุ่งกุลาร้องไห้(ชมคลิป)

         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับข้าวไทยเป็นอย่างมาก ในภาพนี้คือภาพแห่งประวัติศาสาตร์ บริเวณทุ่งมะขามหย่อง ปัจจุบันกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเกี่ยวข้าวในโครงการส่งเสริมอาชีพปลูกข้าวนาปรัง แก่เกษตรกร

         เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙ เวลา ๑๖.๕๒ น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน ไปยังบริเวณพระราชานุสาวรีย์สมเด็จสุริโยทัย ทุ่งมะขามหย่อง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อทอดพระเนตรการเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังที่ใช้น้ำเพาะปลูกจากอ่างเก็บน้ำในพื้นที่รอบพระราชานุสาวรีย์ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตามแนวพระราชดำริ ทั้งนี้จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เกิดสภาวะน้ำท่วมอย่างรุนแรง เมื่อเดือนตุลาคม ปี ๒๕๓๘ ทำให้บริเวณโดยรอบพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมในครั้งนั้นด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้ปล่อยน้ำเข้าบริเวณพื้นที่ทั้งหมดของพระราชานุสาวรีย์ เพื่อเป็นการผ่อนคลายความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรที่ถูกน้ำท่วมและเป็นการเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรในฤดูแล้งอีกทางหนึ่ง และน้ำที่ได้เก็บกักไว้ในอ่างเพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์ตามแนวพระราชดำริด้านการเกษตรกรรมในช่วงฤดูแล้งนั้น ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้สนองพระราชดำริส่งเสริมอาชีพแก่ราษฎร รวม ๔ โครงการ คือ โครงการส่งเสริมอาชีพปลูกข้าวนาปรัง , โครงการส่งเสริมอาชีพปลูกพืชอายุสั้นและไม้ผล , โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปลา และโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน ผลการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการใช้น้ำ ที่ได้รับพระราชทานได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถชดเชยความเสียหายที่ได้รับจากน้ำท่วม เป็นการผ่อนคลายความเดือดร้อนของราษฎร 

       

"กลิ่นหอมของข้าวไทยไม่มีอะไรมาเทียบเคียงได้" พระราชดำรัสในหลวง ร.๙ จุดกำเนิด"ข้าวหอมมะลิไทย"ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ณ ทุ่งกุลาร้องไห้(ชมคลิป)

          และในโอกาสเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ็าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเกี่ยวข้าวในนา ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมอาชีพการปลูกข้าวนาปรัง เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เกษตรกรที่ประกอบอาชีพทำนา ทอดพระเนตรการเก็บเกี่ยวข้าว พร้อมทั้งทรงเยี่ยมและมีพระราชปฎิสันถารถึงสภาพความเป็นอยู่ของราษฏรอย่างทั่วถึงนอกจากนี้ยังได้เสด็จไปทอดพระเนตรการปรับปรุงอ่างเก็บน้ำบริเวณพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ที่ได้มีพระราชดำริให้กรมชลประทาน กรมโยธาธิการ และกรมพัฒนาที่ดิน ปรับปรุงอ่างเก็บน้ำ โดยขุดดินก้นอ่างให้มีความลึกโดยเฉลี่ยประมาณ ๑ เมตร เพื่อกักเก็บน้ำให้มากกว่าเดิม โดยดินที่ขุดได้ส่วนหนึ่งให้นำไปทางสัญจรทางด้านทิศเหนือ ขนานไปกับคันกั้นน้ำให้ประชาชนใช้เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างถนนริมแม่น้ำกับถนนสายใหญ่ , ดินอีกส่วนหนึ่งให้นำไปทำถนนเสริมคันกั้นน้ำเดิมให้สูงถึงระดับ ๖.๒๐ เมตร คือ เพิ่มจากเดิม ๓๐ - ๔๐ เซนติเมตร กรณีที่มีน้ำไหลหลากมากเหมือนปี ๒๕๓๘ จะได้ระบายน้ำเข้ามาในอ่างเก็บน้ำ น้ำจะได้ไม่ท่วมหลังคันกั้นน้ำ ซึ่งจะทำให้มีน้ำกักเก็บไว้ใช้ในฤดูแล้งมากขึ้น สำหรับการขุดดินในอ่างน้ำได้ยึดความลาดของอ่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยลาดลงไปก้นอ่าง หรือระดับน้ำที่ต้องการ 

          ปัจจุบันบริเวณพื้นที่ทุ่งภูเขาทอง ตำบลลุมพลี และทุ่งมะขามหย่อง ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นพื้นที่แก้มลิง เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และยังเป็นพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ทางจังหวัดจึงตั้งชื่อพื้นที่ทั้งสองแห่งนี้ว่า "ผืนแผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ" เพื่อถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ นั้นเองพสนิกรชาวไทยได้ชื่นชมพระบารมีของการรเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมทุ่งมะขามหย่องกันอีกครั้ง ยังความปลาบปลื้มใจของพวกเราชาวไทยตราบเท่าจนทุกวันนี้

 

 

ที่มาจาก : FB ปิดทอง ที่หลังองค์พระปฏิมา

ขอบคุณคลิปจาก : GI Thailand