กางแผนที่เมืองสงขลา !! สำนักศิลปากรสงขลาขุดพบ "ประตูสุรามฤทธิ์และประตูศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์" ประตูเมืองโบราณ จังหวัดสงขลา !!!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

กางแผนที่เมืองสงขลา !! สำนักศิลปากรสงขลาขุดพบ "ประตูสุรามฤทธิ์และประตูศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์" ประตูเมืองโบราณ จังหวัดสงขลา !!!

กางแผนที่เมืองสงขลา !! สำนักศิลปากรสงขลาขุดพบ "ประตูสุรามฤทธิ์และประตูศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์" ประตูเมืองโบราณ จังหวัดสงขลา !!! กางแผนที่เมืองสงขลา !! สำนักศิลปากรสงขลาขุดพบ "ประตูสุรามฤทธิ์และประตูศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์" ประตูเมืองโบราณ จังหวัดสงขลา !!!

           เมื่อวันที่ (5มิ.ย.60) เพจ กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร ได้เผยว่า ได้ทำการขุดพบกำแพงเมืองโบราณ ที่จังหวัดสงขลา สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดี โบราณสถานกำแพงเมืองสงขลาด้านทิศตะวันตกบริเวณถนนนครนอก ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา การดำเนินการได้ขุดพบโครงสร้างอิฐขนาดกว้าง ๖๐ เซนติเมตรจำนวน ๒ แนว ก่อตัดแนวกำแพงเมืองซึ่งทำด้วยหิน ซึ่งมีผลให้เกิดช่องว่างในลักษณะของช่องประตู โดยแนวอิฐดังกล่าวมีระยะห่างจากกัน ๑๙๖ เซนติเมตร และบริเวณใกล้ขอบแนวอิฐด้านทิศตะวันตก ปรากฏแนวอิฐก่อเชื่อมแนวอิฐทั้งสองในลักษณะธรณีประตู ทั้งนี้บริเวณขอบของธรณีประตูนี้ได้ขุดพบเสาไม้จำนวน ๒ ต้น โดยเสาไม้ต้นหนึ่งมีครกเหล็กซึ่งใช้รองรับบานประตูสวมอยู่ด้านบน

 

กางแผนที่เมืองสงขลา !! สำนักศิลปากรสงขลาขุดพบ "ประตูสุรามฤทธิ์และประตูศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์" ประตูเมืองโบราณ จังหวัดสงขลา !!! กางแผนที่เมืองสงขลา !! สำนักศิลปากรสงขลาขุดพบ "ประตูสุรามฤทธิ์และประตูศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์" ประตูเมืองโบราณ จังหวัดสงขลา !!!

กางแผนที่เมืองสงขลา !! สำนักศิลปากรสงขลาขุดพบ "ประตูสุรามฤทธิ์และประตูศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์" ประตูเมืองโบราณ จังหวัดสงขลา !!!

กางแผนที่เมืองสงขลา !! สำนักศิลปากรสงขลาขุดพบ "ประตูสุรามฤทธิ์และประตูศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์" ประตูเมืองโบราณ จังหวัดสงขลา !!!

                      จากการศึกษาเอกสารชีวิวัฒน์ พระนิพนธ์ในจอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงษาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งเสด็จประพาสเมืองสงขลาใน พ.ศ.๒๔๒๗ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประตูเมืองสงขลาไว้ตอนหนึ่งว่า "...มีประตูเมืองเปนซุ้มใหญ่โดยรอบ ๑๐ ประตู กว้างประมาณ ๖ ศอก สูง ๓ วา ซุ้มเปนหลังคาจีน ทำนองเปนหอรบ บานประตูมีบานลักด้วย แลมีประตูอีก ๑๐ ประตู เปนประตูช่องกุฏิกว้าง ๔ ศอก สูง ๕ ศอก.." และจากการตรวจสอบแผนที่เมืองสงขลา สมุดไทยเลขที่ ๙๖ แผนที่เมืองสงขลาและระยะทาง ซึ่งสันนิษฐานว่าเขียนขึ้นใน พ.ศ.๒๓๘๒ เปรียบเทียบกับตำแหน่งพื้นที่ซึ่งดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีอยู่ในขณะนี้พบว่าตำแหน่งที่พบโครงสร้างอิฐดังกล่าวตรงกันกับตำแหน่งของประตูช่องกุดที่อยู่ระหว่างประตูเมืองใหญ่สองประตูคือประตูสุรามฤทธิ์ และประตูศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์ และความกว้างของช่องประตูที่พบคือ ๑๙๖ เซนติเมตรนั้นใกล้เคียงกับความกว้างของช่องประตูที่ระบุไว้ในเอกสารชีวิวัฒน์ว่าประตูช่องกุดกว้าง ๔ ศอก (๒๐๐ เซนติเมตร)

กางแผนที่เมืองสงขลา !! สำนักศิลปากรสงขลาขุดพบ "ประตูสุรามฤทธิ์และประตูศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์" ประตูเมืองโบราณ จังหวัดสงขลา !!!

กางแผนที่เมืองสงขลา !! สำนักศิลปากรสงขลาขุดพบ "ประตูสุรามฤทธิ์และประตูศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์" ประตูเมืองโบราณ จังหวัดสงขลา !!!

สร้างเมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง สู่ความรุ่งเรือง และความมั่งคั่งของเมืองท่า จนถึงเมืองท่องเที่ยว

               จากการขยายตัวของเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน ทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดเพื่อการอุปโภคบริโภค ทวีความรุนแรงมากขึ้น ประกอบกับพื้นที่บริเวณสงขลาฝั่งแหลมสน เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงเขา ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเมืองรวมถึง อาจเป็นอุปสรรคของการขยายตัวเป็นเมืองท่าในอนาคต ซึ่งจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ น่าจะเป็นข้อได้เปรียบ แต่เนื่องจากมีพื้นที่ในแนวราบไม่เพียงพอ จึงทำให้พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ไปตั้งเมืองสงขลาใหม่ที่ตำบลบ่อยาง (สถานที่ปัจจุบัน) ตั้งแต่ พ.ศ. 2379 ซึ่งเมืองใหม่ที่สร้างขึ้น ก็ยังคงรักษาความเป็นเมืองท่าไว้อย่างเดิม โดยในเบื้องต้นของการสร้างเมือง พระยาคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) ได้เริ่มสร้างป้อม กำแพงเมืองยาว 1200 เมตร และ ประตูเมือง สิบประตู ตั้งแต่ พ.ศ. 2379 หลังจากนั้นจึงได้วางหลักเมือง (ไม้ชัยพฤษ์พระราชทาน) และสมโภชน์หลักเมืองในปี พ.ศ. 2385 และเรียกบริเวณพื้นที่นี้ว่า "เมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง" ก่อนที่พระยาคีรี (เถี้ยนเส้ง) จะถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2408

ถัดจากนั้น พระยาคีรี ลำดับต่อมา ได้เป็นเจ้าเมืองสงขลาต่อ และ ได้ดำเนินการพัฒนาสงขลาในลักษณะเมืองกันชนระหว่างเมืองปัตตานี ซึ่งเป็นเมืองมุสลิมที่อยู่ทางตอนใต้ของสงขลา และ เมืองนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองพุทธศาสนิกชน โดยเมืองสงขลาได้อยู่ภายใต้การปกครองของสายสกุล ณ สงขลา ซึ่งมี นายเหยียง แซ่เฮา เป็นต้นสกุล รวมเจ้าเมืองสายสกุล ณ สงขลาที่ปกครองเมืองสงขลา บ่อยาง ดังนี้

ลำดับที่ 1. พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) พ.ศ. 2360 – 2390 ผู้เริ่มสร้างเมืองสงขลา บ่อยาง
ลำดับที่ 2. เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง ณ สงขลา) พ.ศ. 2390 – 2408
ลำดับที่ 3. เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) พ.ศ. 2408 – 2427
ลำดับที่ 4. พระยาวิเชียรคีรี (ชุ่ม ณ สงขลา) พ.ศ. 2427 – 2431
ลำดับที่ 5. พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) พ.ศ. 2431 – 2439
หลังจากเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) ได้เป็นเจ้าเมืองสงขลาได้ประมาณปีเศษ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้เสด็จราชดำเนินมายังเมืองสงขลา และได้พระราชทานเงินบางส่วนเพื่อสร้างเจดีย์ บนยอดเขาตังกวน [35] ระหว่างปี พ.ศ. 2437-2439 เมืองสงขลาได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล โดยตั้งมลฑลนครศีธรรมราช ประกอบด้วย นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และ หัวเมืองแขกอีก เจ็ดเมือง โดยมี พระวิจิตร (ปั้น สุขุม) ลงมาเป็นข้าหลวงพิเศษว่าการมณฑลนครศรีธรรมราช ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งอาคารที่ว่าการอยู่ที่เมืองสงขลาบ่อยาง และลดบทบาทเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดยุคการปกครองแบบเจ้าเมืองไปด้วย ทั้งนี้เจ้าเมืองคนสุดท้ายในสายสกุล ณ สงขลา ที่ปกครองเมืองสงขลามามากกว่า แปดรุ่น ต่อมาประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนการปกครองอีกหลายครั้ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2475 รัฐบาลได้เปลี่ยนแปลงการปกครองโดยยกเลิกระบบเดิมทั้งหมด และยกระดับสงขลา ขึ้นเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย

 

ที่มาจาก : เพจ กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร