สมเด็จพระเทพ โปรดเกล้าฯ รื้อฟื้นโบราณราชประเพณี จัดมหรสพสมโภช งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ให้สมพระเกียรติคุณ ในหลวงร.๙

www.tnews.co.th

การแสดงมหรสพสมโภชเนื่องในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

​             กรมศิลปากร โดยสำนักการสังคีต ได้รับพระราชบัญชาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้จัดการแสดงโขนหน้าพระที่นั่งทรงธรรม (หน้าพระเมรุมาศ) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร  เพื่อรื้อฟื้นการประโคมดนตรี หรือ การประโคมยามค่ำและ การมหรสพ เนื่องจากทรงเห็นว่า เพื่อไม่ให้บรรยากาศเงียบเหงาเหมือนครั้งพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมมาราชธานีในรัชกาลที่ ๗ เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๘ ทั้งยังเป็นการรักษาโบราณราชประเพณีไว้ด้วย

การแสดงมหรสพสมโภชจัดให้มีขึ้นในวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๐ ซึ่งเป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ แสดงพร้อมกันตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐ น. จนถึง ๐๖.๐๐ น. ของวันรุ่งขึ้น รวมระยะเวลาทั้งสิ้น ๑๒ ชั่วโมง โดยมีผู้แสดง และผู้มีส่วนร่วมจากหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งสิ้นกว่า ๒,๐๐๐ คน เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศสูงสุด

สมเด็จพระเทพ โปรดเกล้าฯ รื้อฟื้นโบราณราชประเพณี จัดมหรสพสมโภช งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ให้สมพระเกียรติคุณ ในหลวงร.๙

สมเด็จพระเทพ โปรดเกล้าฯ รื้อฟื้นโบราณราชประเพณี จัดมหรสพสมโภช งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ให้สมพระเกียรติคุณ ในหลวงร.๙

สมเด็จพระเทพ โปรดเกล้าฯ รื้อฟื้นโบราณราชประเพณี จัดมหรสพสมโภช งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ให้สมพระเกียรติคุณ ในหลวงร.๙

 

สมเด็จพระเทพ โปรดเกล้าฯ รื้อฟื้นโบราณราชประเพณี จัดมหรสพสมโภช งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ให้สมพระเกียรติคุณ ในหลวงร.๙

สมเด็จพระเทพ โปรดเกล้าฯ รื้อฟื้นโบราณราชประเพณี จัดมหรสพสมโภช งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ให้สมพระเกียรติคุณ ในหลวงร.๙

สมเด็จพระเทพ โปรดเกล้าฯ รื้อฟื้นโบราณราชประเพณี จัดมหรสพสมโภช งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ให้สมพระเกียรติคุณ ในหลวงร.๙

ประกอบด้วย

๑. การแสดงโขน หน้าพระที่นั่งทรงธรรม (หน้าพระเมรุมาศ) กำหนดจัดการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์

ชุดพระรามข้ามสมุทร – ยกรบ - รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ผู้แสดง คือ นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต นักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปทั่วประเทศ ๑๒ แห่ง และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ผู้แสดง ผู้พากย์ – เจรจา ผู้บรรเลง ขับร้อง และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ประมาณ ๓๐๐ คน

๒. การแสดงมหรสพ ณ เวทีกลางแจ้ง บริเวณสนามหลวงด้านทิศเหนือ มี ๓ เวที ทุกเวทีกำหนดเวลา

เริ่มแสดง ๑๘.๐๐ น. ในวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

จนถึงเวลา ๐๖.๐๐ น. ของวันรุ่งขึ้น โดยการแสดงของทุกเวทีจะหยุดการแสดงเมื่อมีพระราชพิธีในพระเมรุมาศ

ประกอบด้วย

๒.๑ เวทีการแสดงหนังใหญ่เบิกหน้าพระ และโขน เรื่องรามเกียรติ์ โดยนาฏศิลปินของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ร่วมด้วยครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป ๑๒ แห่ง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวน ๑,๐๒๐ คน และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ประมาณ ๑๐๐ คน รวมทั้งสิ้น ๑,๑๒๐ คน นอกจากนี้ ยังมีการแสดงโขนพระราชทานของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ประมาณ ๒๐๐ – ๓๐๐ คน การแสดงมี ๓ ส่วน ได้แก่

- การแสดงหนังใหญ่เบิกหน้าพระ และการแสดงเบิกโรงหนังใหญ่ ชุดจับลิงหัวค่ำ ผู้แสดง

จะเป็นครูอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ร่วมกับครูอาวุโส สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

- การแสดงโขนหน้าจอ และโขนชักรอก เรื่องรามเกียรติ์ ชุดพระรามข้ามสมุทร ชุดศึก

ทศกัณฐ์ครั้งแรก ทัพสิบขุนสิบรถ ชุดท้าวมาลีวราชว่าความ ชุดนางมณโฑหุงน้ำทิพย์ ชุดศึกทศกัณฐ์ขาดเศียรขาดกร

และชุดสีดาลุยไฟ พระรามคืนนคร เป็นการแสดงของกรมศิลปากร

- การแสดงโขนหน้าจอ และโขนชักรอก เรื่องรามเกียรติ์ ชุดรามาวตาร ทศกัณฐ์รบสดายุ

หนุมานถวายพล พิเภกสวามิภักดิ์ เป็นการแสดงของโขนพระราชทาน (มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ)

๒.๒ เวทีการแสดงละคร หุ่นหลวง และหุ่นกระบอก ประกอบด้วย ละคร เรื่องพระมหาชนก

การแสดงหุ่นหลวง ตอนหนุมานเข้าห้องนางวานรินทร์ การแสดงหุ่นกระบอก เรื่องพระอภัยมณี ตอนกำเนิดสุดสาครจนถึงเข้าเมืองการะเวก รำกิ่งไม้เงินทอง ละครใน เรื่องอิเหนา ตอนบุษบาชมศาล – อิเหนาตัดดอกไม้ – ฉายกริช – ท้าวดาหาบวงสรวง และละคร เรื่องมโนห์รา ผู้แสดง บรรเลง ขับร้อง จากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ๓๒๒ คน และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ประมาณ ๑๐๐ คน รวมทั้งสิ้น ๔๒๒ คน

๒.๓ เวทีการบรรเลงดนตรีสากล “ธ คือ ดวงใจไทยทั่วหล้า” เป็นการบรรเลงและขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพลงเทิดพระเกียรติ บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อถวายอาลัย และบทเพลง ที่สื่อความหมายสอดคล้องกับการแสดงแต่ละองก์ ๗ องก์ โดยผู้บรรเลง ขับร้อง และผู้แสดงจาก สำนักการสังคีต กรมศิลปากร สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ วงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ วงสหายพัฒนา โรงเรียนราชินี กรมดุริยางค์ทหารบก กองดุริยางค์ทหารเรือ กองดุริยางค์ทหารอากาศ กองสวัสดิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งใช้ผู้บรรเลง ขับร้อง และผู้แสดง ๗๕๓ คน ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ๑๘๙ คน รวมทั้งสิ้น ๙๔๒ คน

สมเด็จพระเทพ โปรดเกล้าฯ รื้อฟื้นโบราณราชประเพณี จัดมหรสพสมโภช งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ให้สมพระเกียรติคุณ ในหลวงร.๙