สุดภาคภูมิใจ ประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดิน!!  กรมศิลป์ดำเนินการอนุรักษ์แหล่งเตาเผา เครื่องสังคโลก เก่าแก่อายุกว่า600ปี !!

www.tnews.co.th

กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร ได้เผยแพร่ข้อความผ่านทางเพจ ถึงการดำเนินการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย ปีงบประมาณ 2560

ดังนี้

การดำเนินงานโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย ปีงบประมาณ 2560 (ระยะที่ 2) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีขนาด 2x2 เมตร จำนวน 2 หลุม และขุดแต่งเตาทุเรียงบริเวณทิศเหนือของวัดพระพายหลวงที่มีการสำรวจและทำผังไว้แล้วจำนวน 50 เตา ซึ่งบางส่วนเคยได้รับการดำเนินงานทางโบราณคดีมาแล้ว โดยคณะทำงานได้ค้นพบเตาเผาที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ดินเพิ่มหลายเตาด้วยกัน เช่น เตาหมายเลข 51 ที่แต่เดิมมีลักษณะเป็นเนินดิน เห็นเพียงอิฐของส่วนปล่องเพียงเล็กน้อย ตอนแรกสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเตาตะกรับหรือเตาเผาชนิดระบายความร้อนไหลผ่านในแนวขึ้น (Up-draft kiln type) แต่เมื่อขุดค้นจึงพบว่าเป็นเตาประทุนหรือเตาเผาชนิดระบายความร้อนไหลผ่านในแนวนอน (Cross-draft kiln type) ขนาดประมาณ 3x8 เมตร ซึ่งเป็นเตาที่ใช้ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาประเภทเนื้อแกร่ง เช่น เครื่องสังคโลกสุโขทัย เครื่องประดับสถาปัตยกรรมต่าง ๆ

สุดภาคภูมิใจ ประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดิน!!  กรมศิลป์ดำเนินการอนุรักษ์แหล่งเตาเผา เครื่องสังคโลก เก่าแก่อายุกว่า600ปี !!

สุดภาคภูมิใจ ประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดิน!!  กรมศิลป์ดำเนินการอนุรักษ์แหล่งเตาเผา เครื่องสังคโลก เก่าแก่อายุกว่า600ปี !!

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยยังได้ส่งตัวอย่างถ่านจากหลุมขุดค้น TP.1 และ TP.2 จากการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย พ.ศ. 2559 เพื่อหาอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวีธี AMS Dating ซึ่งการกำหนดอายุมีวิธีทางวิทยาศาสตร์หลากหลายในการหาค่าอายุ แต่วิธีวิทยาศาสตร์ที่นิยมกันมากในปัจจุบัน คือ วิธีการ เรดิโอคาร์บอน หรือ คาร์บอน-14 และ เทอร์โมลูมิเนสเซน ทั้งนี้การหาค่าอายุของแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัยเลือกใช้วิธีการหาค่าอายุคาร์บอน-14 ด้วยวิธี AMS Dating (Accelerator mass spectrometry) เป็นวิธีที่มีจุดเด่นตรงที่ใช้ตัวอย่างถ่านเพียง 1-2 มิลลิกรัมเท่านั้นก็สามารถหาค่าอายุได้ ซึ่งอายุที่ได้มีค่าคลาดเคลื่อนเพียง 10-15 ปีเท่านั้น สำหรับการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการแห่งนี้ ใช้วิธีหาค่าอายุตามหลักการของลิบบี้ ซึ่งในการคำนวณจะใช้ค่าครึ่งชีวิตที่ 5568 ปี และใช้ปี ค.ศ. 1950 เป็นจุดศูนย์ของปีในการนับค่าอายุ

ตัวอย่างถ่านจากแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัยนั้น ได้ส่งไปกำหนดค่าอายุที่ห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยไวกาโต้ (The University of Waikato Radiocabon Dating Laboratory) ประเทศนิวซีแลนด์ จำนวน 2 ตัวอย่าง เป็นตัวอย่างที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีด้วยหลักวิชาการอย่างเป็นระบบ ซึ่งทั้ง 2 ตัวอย่างนี้ มาจากชั้นวัฒนธรรมชั้นล่างสุดที่มีการเริ่มใช้พื้นที่เป็นครั้งแรก และไม่มีการปนเปื้อนแต่อย่างใด

ผลการคำนวณหาค่าอายุหากต้องการระบุให้ชัดเจน ควรใช้ค่าอายุที่ได้ (Conventional age) โดยไม่ต้องทำการบวกลบปี เพราะเป็นค่าตัวกลางที่น่าจะเป็นที่สุดในช่วงค่าอายุ ดังนี้

สุดภาคภูมิใจ ประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดิน!!  กรมศิลป์ดำเนินการอนุรักษ์แหล่งเตาเผา เครื่องสังคโลก เก่าแก่อายุกว่า600ปี !!

ตัวอย่างถ่านที่ 1 จากหลุมขุดค้นที่ 1 สามารถกำหนดอายุ 629 ปีมาแล้ว คำนวณตามหลักการ ค.ศ.1950-629 = ค.ศ.1321 หรือตรงกับปี พ.ศ.1864 เป็นชั้นกิจกรรมที่น่าจะเกิดขึ้นในสมัยพญาเลอไทย

สุดภาคภูมิใจ ประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดิน!!  กรมศิลป์ดำเนินการอนุรักษ์แหล่งเตาเผา เครื่องสังคโลก เก่าแก่อายุกว่า600ปี !!

ตัวอย่างถ่านที่ 2 จากหลุมขุดค้นที่ 2 สามารถกำหนดอายุ 640 ปีมาแล้ว คำนวณตามหลักการ ค.ศ.1950-640 = ค.ศ.1310 หรือตรงกับปี พ.ศ.1853 เป็นชั้นกิจกรรมที่น่าจะเกิดขึ้นในสมัยพญาเลอไทย เช่นกัน

ทั้งนี้จากตัวอย่างถ่านทั้งสองตัวอย่างให้ค่าอายุที่ใกล้เคียงกัน แม้จะมาจากคนละหลุมขุดค้นแต่ก็อยู่ในบริเวณเดียวกันทำให้ค่าอายุที่ได้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น หากพิจารณาตามค่าอายุดังกล่าวข้างต้น จึงมีความเป็นไปได้ว่าเตาเผาภาชนะทั้งสองนี้ เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงกลาง-ปลายรัชสมัยของพญาเลอไทย สะท้อนให้เห็นถึงการผลิตภาชนะดินเผาในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ถึง ต้นพุทธศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะข้อมูลหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับตัวอย่างถ่าน แสดงให้เห็นว่าพื้นที่รอบเตาเผาภาชนะถูกใช้ในการคัดแยกเบื้องต้นหลังการเผา ซึ่งอาจมีสองลักษณะด้วยกัน คือ การคัดแยกผลิตภัณฑ์ที่เสียหายจากการเผา ทั้งที่เกิดจากการบิดเบี้ยวของภาชนะ หรือการเสียหายเพราะหลอมติดแน่นกับกี๋ กับอีกลักษณะหนึ่ง คือ การคัดแยกภาชนะดินเผาที่ยังพอใช้ได้ โดยจัดวางคว่ำเรียงกันค่อนข้างเป็นระเบียบ

สุดภาคภูมิใจ ประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดิน!!  กรมศิลป์ดำเนินการอนุรักษ์แหล่งเตาเผา เครื่องสังคโลก เก่าแก่อายุกว่า600ปี !!

สุดภาคภูมิใจ ประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดิน!!  กรมศิลป์ดำเนินการอนุรักษ์แหล่งเตาเผา เครื่องสังคโลก เก่าแก่อายุกว่า600ปี !!

เบื้องต้นสามารถสรุปได้ว่า น่าจะเริ่มมีการเข้ามาใช้พื้นที่บริเวณแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย เพื่อผลิตเครื่องปั้นดินเผาสังคโลก ในช่วงรัชสมัยของพญาเลอไทย หรือประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นชั้นวัฒนธรรมสมัยแรก ต่อมาในชั้นวัฒนธรรมสมัยหลัง เริ่มเข้ามาปรับถมพื้นที่ และตั้งเตาอิฐบนดินผลิตสังคโลกจำนวนมาก น่าจะตั้งแต่สมัยพระยาลิไทเรื่อยมาจนสิ้นสุดการผลิตราวพุทธศตวรรษที่ 22-23 ในสมัยที่สุโขทัยอยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยาแล้ว

 

ที่มา : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร