วันร่ำไห้ในแผ่นดิน ร.๕ !! "พระองค์เจ้าชายอุรุพงศ์ฯ" พระราชโอรสอันเป็นที่รักยิ่ง..สิ้นพระชนม์ในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระพุทธเจ้าหลวง

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

วันร่ำไห้ในแผ่นดิน ร.๕ !! "พระองค์เจ้าชายอุรุพงศ์ฯ" พระราชโอรสอันเป็นที่รักยิ่ง..สิ้นพระชนม์ในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระพุทธเจ้าหลวง

            เรื่องราวของความรักความผูกพันของพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระองค์เจ้าชายอุรุพงศ์รัชสมโภช เป็นความรักระหว่างพ่อและลูก ที่มีความสนิทสนมกันมากและเป็นพระราชโอรสที่รักยิ่งขิงพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ สำหรับความรักที่มีต่อพระองค์เจ้าอุรุพงศ์ในขณะนั้น คงจะเป็นแบบ  รักมาก  รักมากที่สุด  รักจนไม่มีอะไรเปรียบได้ 

          "..... พระองค์ที่ ๗๕  พระองค์เจ้าชายอุรุพงศ์รัชสมโภช  ประสูติวันที่ ๑๕ ตุลาคม  พ.ศ.๒๔๓๖ เป็นพระโอรสองค์ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาเลื่อน (นิยะวานนท์)  สิ้นพระชนม์พระชันษาเพียง ๑๗ ปี เมื่อ ๒๐ กันยายน  พ.ศ.๒๔๕๒ ....."

              

วันร่ำไห้ในแผ่นดิน ร.๕ !! "พระองค์เจ้าชายอุรุพงศ์ฯ" พระราชโอรสอันเป็นที่รักยิ่ง..สิ้นพระชนม์ในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระพุทธเจ้าหลวง

               พระองค์เจ้าชายอุรุพงศ์รัชสมโภช ประสูติวันที่ ๑๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๓๖ เป็นพระโอรสพระองค์ที่ ๗๕ องค์ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาเลื่อน สิ้นพระชนม์พระชันษา ๑๗ ปี เมื่อ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๕๒ ตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชบิดา เป็นวันโศกเศร้ายิ่งของพระองค์ และอีกเพียงปีเดียว พระองค์ก็เสด็จสวรรคต ประมาณ ๑ เดือนหลังจากทำบุญครบปีวันสิ้นพระชนม์ของลูกรัก พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภชนั้น พระรูปโฉมเป็นอย่างที่ชาวบ้านพูดกันว่าน่ารัก ทรงคล่องแคล่ว ว่องไว เป็นที่สบพระราชอัธยาศัยในพระราชบิดายิ่งนัก เมื่อเสด็จประพาสยุโรปเพื่อรักษาพระองค์ครั้งหลัง ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์ฯ ก็ตามเสด็จด้วย เป็นพระราชโอรสคู่พระทัย ๒ พระองค์ กับสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต 

               ในพระราชนิพนธ์ “ไกลบ้าน” อันเป็นพระราชหัตถเลขาพระราชทานมายัง สมเด็จหญิงน้อย กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี ทรงรับสั่งเล่าถึงพระองค์อุรุพงศ์ฯ อยู่เสมอดังเช่น…
"...คนอื่น ๆ ที่มาด้วยกัน อ้วนขึ้นทุกคน อุรุพงศ์เห็นจะยิ่งกว่าเพื่อน แก้มเป็นกระติก เพราะแกลงมืออ้วนมาเสียแต่อยู่ในเรือแล้ว มาถึงที่นี่เข้าแก้มแดง /พ่อตำน้ำพริก ขาดน้ำตาล ใช้น้ำตาลกรวดแทน ช่างประดักประเดิดเสียจริง ๆ แก้อย่างไรมันก็ปร่าอยู่นั้นเอง ถ้าเป็นที่บางกอกก็โทษถึงไม่เสวย ได้อินเวนต์ยำลูกแอปเปอลอร่อยดีมาก ควรจะพากลับเข้าไปถึงบางกอกได้ กินกันอร่อยดี แต่เสือพริกอุรุพงศ์ไม่ใคร่พอ อยากแต่จะเผ็ดให้มากอย่างเดียว…"

               ด้วยความที่เป็นลูกเล็ก ใกล้ชิดสนิทมาแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อถึงคราวที่พระองค์เจ้าอุรุพงศ์ฯ จะต้องเสด็จอยู่ต่างหากจากฝ่ายใน สมเด็จพระราชบิดาก็โปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักพระราชทานใกล้ ๆ กับฝ่ายใน มิให้เสด็จแยกไปเสียทีเดียว โดยโปรดฯ ให้มีกำแพงกั้นด้านหลัง บังตาตอนต่อกับข้างใน เพื่อมิให้แลเห็นกันกับฝ่ายใน พระราชโอรสพระองค์อื่น ๆ โปรดเกล้าฯ ให้เสด็จออกไปทรงศึกษาต่างประเทศทุกพระองค์ สำหรับพระองค์เจ้าอุรุพงศ์ฯ นั้น โปรดจ้างครูฝรั่งมาสอนยังพระตำหนัก

พระพุทธเจ้าหลวงทั้งรัก ทั้งหลง พระองค์เจ้าชายอุรุพงศ์รัชสมโภช ทรงไม่ยอมให้จากไปไหนไกลตา แม้แต่ยามจะหลับก็อยากจะให้บรรทมอยู่ใกล้ๆเรียกว่า

"ถัดจากฝ่ายในก็จะเป็น พระองค์อุรุพงศ์ ก่อนพระโอรสองค์อื่นๆ "

               พระองค์เจ้าอุรุพงศ์ฯ เสด็จอยู่พระตำหนักใหม่เพียงปีครึ่ง ก็ทรงประชวรพระโรคที่เรียกกันว่า “ไส้ตัน” เพียงเดือนเดียวก็สิ้นพระชนม์ คือ วันที่ ๒๐ กันยายน สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงประสบกับความสูญเสียพระราชโอรส-ธิดามาหลายครั้งหลายหน ที่ทรงอาลัยอาวรณ์จนประจักษ์ชัดแก่ตาบุคคลทั้งหลาย ก็เมื่อคราวเสด็จพระองค์หญิงใหญ่ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ฯกรมขุนสุพรรณภาควดี สิ้นพระชนม์คราวหนึ่ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพระองค์แรกคราวหนึ่ง พระองค์หญิงแฝดองค์โต คือพระองค์เจ้าหญิงประภาพรรณพิไลย คราวหนึ่ง และคราวสุดท้ายนี้ก็คือ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์ฯ  ทรงมีลายพระราชหัตถเลขาพระราชทานไปยังพระราชชายา ผู้ประทับอยู่เชียงใหม่ เมื่อพระองค์อุรุพงศ์ฯ สิ้นพระชนม์ ว่าสิ้นสนุกเต็มทีเสียแล้ว...

         จากหนังสือพระราชนิพนธ์ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระองค์เจ้าอุรุพงศ์ฯ ดังนี้...

“...ตั้งแต่เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับจากยุโรปมาแล้วก็สังเกตเห็นได้ว่า ทูลกระหม่อมมีพระอาการประชวรอย่างน่าวิตก, พูดกันอย่างศัพท์สามัญว่า เห็นชัดว่าทรงทุพพลภาพทีเดียว พระองค์เองก็ทรงทราบดีอยู่เช่นนั้น จึ่งได้ทรงพยายามบริหารพระองค์มากทีเดียว มีเสด็จประพาสบ่อย ๆ และออกไปประทับที่เพชรบุรี และเมื่อเสด็จอยู่ในกรุงก็ไม่ใคร่จะเสด็จออกงานต่าง ๆ มักโปรดเกล้าฯ ให้ฉันไปแทนพระองค์เสียเป็นพื้น แต่ก็นับว่าประทังอยู่ได้จนทรงประสบโศกอันใหญ่ คือองค์อุรุพงศ์เจ็บและตายลง ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๕๒ องค์อุรุพงศ์ นั้น ทูลกระหม่อมท่านโปรดของท่านมาก เพราะเป็นพระราชโอรสองค์เล็กและขี้โรค จึ่งได้ทรงโฆษณาว่าจะเอาไว้ใช้เป็นไม้ธารพระกร คือเป็นอุปถากส่วนพระองค์ ไม่ให้รับราชการแผ่นดินเช่นลูกเธอองค์อื่น ๆ องค์อุรุพงศ์เจ็บครั้งที่สุดนั้นหลายวัน ทูลกระหม่อมทรงเป็นห่วงและเสด็จลงไปพยาบาลอยู่เองโดยมากที่ตำหนักราชฤทธิ์รุ่งโรจน์ ต้องอดพระบรรทมและทรงเหน็ดเหนื่อยมากอยู่…

                      ครั้นเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๕๒ มีสวดเสดาะเนื่องในงานเฉลิมพระชนมพรรษา ทูลกระหม่อมได้เสด็จเข้าไปตามธรรมเนียม พอเริ่มสวดมนตร์และโหรบูชานพเคราะห์ ทูลกระหม่อมเสด็จเข้าไปเสวยที่ชานพักตามเคย พอเสด็จลับไปก็ได้ยินเสียงตุบ และเสียงผู้หญิงร้อง ฉันรีบวิ่งเข้าไปที่ชานพัก เห็นทูลกระหม่อมประทับอยู่กับพื้น ท่านรับสั่งให้ฉันช่วยพยุงพระองค์ท่านขึ้น และพาไปประทับเหยียดบนพระเก้าอี้ แล้วจึ่งรับสั่งเล่าว่า ในเวลาที่ทรงก้าวลงจากพื้นพระที่นั่งไพศาลไปสู่ชานพักนั้น ได้ทรงเอาธารพระกรยัน ปลายธารพระกรลื่นไปกับพื้นศิลา พระบาทก็เลยลื่นตามไป จึงได้ทรงกระแทกลง และในที่สุดก็ตรัสว่า แล้วก็นางพวกเหล่านี้ก็นั่งเฉยกันหมด ไม่มีใครมีแก่ใจมาช่วยพ่อจนคนเดียว ฉันกราบทูลว่า ได้เคยนึกวิตกอยู่นานแล้วเมื่อเห็นธารพระกรเล็ก ๆ ทรงยันอย่างเต็มน้ำหนักพระองค์ เห็นว่าควรเกาะคนดีกว่า รับสั่งว่าถูกแล้ว แต่เวลานี้ผู้ที่ได้ตั้งพระราชหฤทัยเอาไว้ใช้เป็นไม้ธารพระกรก็มาทำหน้าที่ไม่ได้เสียแล้ว ฉันเห็นท่าทางว่าท่านทรงห่วงองค์อุรุพงศ์อยู่มาก ฉันก็หมอบนิ่งอยู่จนรับสั่งให้ฉันออกไปนั่งตามที่ก่อน ฉันจึ่งออกไป...”
 

วันร่ำไห้ในแผ่นดิน ร.๕ !! "พระองค์เจ้าชายอุรุพงศ์ฯ" พระราชโอรสอันเป็นที่รักยิ่ง..สิ้นพระชนม์ในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระพุทธเจ้าหลวง

เข้าพิธีโสกัณฑ์(โกนจุก)

 

วันร่ำไห้ในแผ่นดิน ร.๕ !! "พระองค์เจ้าชายอุรุพงศ์ฯ" พระราชโอรสอันเป็นที่รักยิ่ง..สิ้นพระชนม์ในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระพุทธเจ้าหลวง

ฉายพระรูปพร้อมกับเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์(ร.7)

 

          ปวงข้าพระพุทธเจ้า น้อมสำนึกรำลึกในพระคุณพระปิยะมหาราชเจ้าแห่งกรุงสยาม ผู้ทรงเป็นที่รักเทิดทูนยิ่ง ผู้ทรงพระเมตตาคุณและทรงพระมหากรุณาธิคุณอย่างอเนกอนันต์ต่ออาณาประชาราษฎร์และแผ่นดินสยาม ไว้เหนือเกล้าฯ

 

 

ที่มาจาก : เพจ ตามรอยพ่อ

https://th.wikipedia.org/wiki/พระเจ้าบรมวงศ์เธอ_พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช