ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

สะพานล้ำค่าที่หายไปในอดีต!! เงินพระราชทานจากสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สู่ "สะพานชุดเฉลิม" ด้วยพระเมตตาของเสด็จพ่อ ร.๕ (ชมคลิป) !!

          หลายคนทราบกันดีอยู่ว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕  ทรงได้สร้างถนนหรือสะพานไว้มาก และมีการพระราชทานนามของถนน รอบพระบรมมหาราชวังไว้ด้วย โดยนามของถนนเส้นดังกล่าวมาจากเรื่องลายครามจีนที่เป็นที่นิยมของคนในสมัยนั้น รวมไปถึงสะพานอีกมากมายในพระนคร หลายสะพานอาจถูกทุบทิ้งไปเพราะว่า ต้องการสร้างถนนเพื่อให้ประชาชนสัญจรได้ ทำให้สะดวกสบายมากขึ้นตามกาลเวลา

          ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานเงินตามจำนวนวันของพระชนมายุ วันละ ๑ สลึง เป็นทานในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ต่อมามีพระราชดำริว่า เงินที่พระราชทานนี้จะเป็นคุณก็แต่เฉพาะผู้ได้รับพระราชทานเท่านั้น ไม่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เมื่อเริ่มมีการใช้รถยนต์และตัดถนนขึ้นเป็นจำนวนมาก ในปี๒๔๔๘เป็นต้นมาจึงมีพระราชดำริพระราชทานเงินจำนวนนี้ให้แก่กระทรวงนครบาล เพื่อเป็นทุนสร้างสะพานข้ามคลองในกรุงเทพฯ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไป ถ้าเงินที่พระราชทานไม่พอกับการสร้าง ก็ให้กระทรวงนครบาลจัดงบประมาณสมทบ

สะพานล้ำค่าที่หายไปในอดีต!! เงินพระราชทานจากสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สู่ "สะพานชุดเฉลิม" ด้วยพระเมตตาของเสด็จพ่อ ร.๕ (ชมคลิป) !!

สะพานพระราชทานเนื่องในวันเฉลิมนี้ จะมีคำว่า "เฉลิม" นำหน้า ลงท้ายด้วยตัวเลขพระชนมายุในปีนั้น เรียกกันว่า "สะพานชุดเฉลิม" มีทั้งหมด ๑๗ สะพาน

              สะพานเหล่านี้ออกแบบโดยสถาปนิกชาวยุโรปที่เข้ามารับราชการ ส่วนใหญ่ราวสะพานเป็นเหล็กหล่อลวดลายวิจิตรสวยงาม สั่งเป็นพิเศษมาจากยุโรป กลางสะพานมีแผ่นจารึกชื่อสะพานและพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ประดับอยู่ด้วย ซึ่งราวสะพานเหล่านั้น มาถึงยุคนี้ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ล้ำค่าอย่างมาก นับเป็นสมบัติสำคัญของชาติ

 

สะพานล้ำค่าที่หายไปในอดีต!! เงินพระราชทานจากสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สู่ "สะพานชุดเฉลิม" ด้วยพระเมตตาของเสด็จพ่อ ร.๕ (ชมคลิป) !!

           สะพานชุดเฉลิมทั้ง ๑๗ สะพาน เดิมกำหนดชื่อเป็นตัวเลขปีพระชนมพรรษาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในแต่ละปีที่สร้าง แต่ต่อมามีพระราชปรารภว่าชื่อสะพานที่มีเพียงตัวเลขกำกับยากต่อการเรียก ใน พ.ศ. ๒๔๕๒ จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสะพานทั้ง ๑๕ สะพาน ดังนี้

๑. สะพานเฉลิมศรี 42 สร้างข้ามคลองบางขุนพรหม ที่ถนนสามเสน เปิดใช้เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2438
๒. สะพานเฉลิมศักดิ์ 43 สร้างข้ามคลองอรชร ที่ถนนหัวลำโพงนอก (ปัจจุบันคือ ถนนพระรามที่ 4) หรือบริเวณแยกอังรีดูนังต์ ในปัจจุบัน เปิดใช้เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2439
๓. สะพานเฉลิมเกียรติ 44 สร้างข้ามคลองหัวลำโพง ที่ปลายถนนสาทรเชื่อมถนนหัวลำโพง (ปัจจุบันคือถนนพระรามที่ 4) หรือบริเวณแยกวิทยุ ในปัจจุบัน เปิดใช้เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2440
๔. สะพานเฉลิมยศ 45 สร้างข้ามคลองวัดพระพิเรนทร์ ที่ถนนวรจักร เปิดใช้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441
๕. สะพานเฉลิมเวียง 46 สร้างข้ามคลองตรอกเต๊า ที่ถนนเยาวราช เปิดใช้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442
๖. สะพานเฉลิมวัง 47 สร้างข้ามคลองสะพานถ่าน หรือคลองหลอดวัดราชบพิธ ที่ถนนอุณากรรณ เปิดใช้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443
๗. สะพานเฉลิมกรุง 48 สร้างข้ามคลองวัดจักรวรรดิ ที่ถนนเจริญกรุง เปิดใช้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444
๘. สะพานเฉลิมเมือง 49 สร้างข้ามคลองสาทร ที่ถนนสุรศักดิ์ หรือบริเวณแยกสาทร-สุรศักดิ์ ในปัจจุบัน เปิดใช้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445
๙. สะพานเฉลิมภพ 50 สร้างข้ามคลองหัวลำโพง ที่ปลายถนนสุรวงศ์เชื่อมถนนหัวลำโพง (ปัจจุบันคือถนนพระรามที่ 4) หรือบริเวณแยกอังรีดูนังต์ ในปัจจุบัน เปิดใช้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446
๑๐. สะพานเฉลิมพงษ์ 51 สร้างข้ามคลองสะพานถ่าน หรือคลองหลอดวัดราชบพิธ ที่ถนนเฟื่องนคร เปิดใช้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447
๑๑. สะพานเฉลิมเผ่า 52 สร้างข้ามคลองอรชร ที่ถนนปทุมวัน (ปัจจุบันคือ ถนนพระรามที่ 1) หรือบริเวณแยกเฉลิมเผ่า ในปัจจุบัน เปิดใช้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448
๑๒. สะพานเฉลิมพันธุ์ 53 สร้างข้ามคลองวัดสามจีน หรือวัดไตรมิตรวิทยาราม ที่ถนนเจริญกรุง ตอนปลายถนนเยาวราช เปิดใช้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449
๑๓. สะพานเฉลิมภาคย์ 54 สร้างข้ามคลองสีลม ที่ถนนเจริญกรุง หรือบริเวณแยกบางรัก ในปัจจุบัน เปิดใช้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450
๑๔. สะพานเฉลิมโลก 55 สร้างข้ามคลองบางกะปิ หรือคลองแสนแสบ ที่ถนนราชดำริและถนนเพชรบุรี หรือบริเวณแยกประตูน้ำ ในปัจจุบัน เปิดใช้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451
๑๕. สะพานเฉลิมหล้า 56 สร้างข้ามคลองบางกะปิ หรือคลองแสนแสบ ที่ถนนพญาไท เปิดใช้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452
ต่อมาได้พระราชทานทรัพย์ไว้สำหรับสร้างสะพานใน 2 ปีข้างหน้า แต่ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน สะพานที่ 16 และ 17 จึงมาสำเร็จในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 2 สะพานดังกล่าว ได้แก่

๑๖. สะพานเฉลิมเดช 57 สร้างข้ามคลองหัวลำโพง ที่ปลายถนนสี่พระยาเชื่อมถนนหัวลำโพง (ปัจจุบันคือ ถนนพระรามที่ 4) หรือบริเวณแยกสามย่าน ในปัจจุบัน เปิดใช้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453

๑๗. สะพานเฉลิมสวรรค์ 58 ข้ามคลองโรงไหม ที่ถนนพระอาทิตย์ เปิดใช้เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2455

 

สะพานล้ำค่าที่หายไปในอดีต!! เงินพระราชทานจากสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สู่ "สะพานชุดเฉลิม" ด้วยพระเมตตาของเสด็จพ่อ ร.๕ (ชมคลิป) !!

ปัจจุบันสะพานชุดเฉลิมทั้ง 17 สะพานนี้ ส่วนใหญ่ถูกรื้อถอนไปแล้ว เนื่องจากมีการขยายถนน และการถมคลองเพื่อสร้างถนนแทนที่ สำหรับสะพานชุดเฉลิมที่ถูกรื้อถอนไปแล้ว แต่ยังคงปรากฏร่องรอยให้เห็นอยู่ มี 2 สะพาน ได้แก่

- สะพานเฉลิมเผ่า 52 ยังคงปรากฏเพียงส่วนของราวสะพานที่มีชื่อสะพานจารึกอยู่ในบริเวณริมทางเท้า สามแยกเฉลิมเผ่า ที่ถนนพระรามที่ 1 หลังจากที่มีการบูรณะครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2506

- สะพานเฉลิมพันธุ์ 53 ยังคงปรากฏราวสะพานเหล็กดัด ป้ายชื่อสะพานพร้อมพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ซึ่งถูกนำมาประกอบขึ้นใหม่เป็นสะพานข้ามคลองสาทร ที่ถนนเจริญกรุง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการย้ายราวสะพานดังกล่าวมาประกอบที่นี่ สันนิษฐานว่าคงจะทำในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ส่วนสะพานชุดเฉลิมที่ยังคงปรากฏอยู่และใช้งานได้จนถึงปัจจุบัน มี 2 สะพาน ได้แก่

- สะพานเฉลิมโลก 55

- สะพานเฉลิมหล้า 56 โดยประชาชนนิยมเรียกว่า สะพานหัวช้าง

 

    

สะพานล้ำค่าที่หายไปในอดีต!! เงินพระราชทานจากสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สู่ "สะพานชุดเฉลิม" ด้วยพระเมตตาของเสด็จพ่อ ร.๕ (ชมคลิป) !!

            สะพานเหล่านี้ออกแบบโดยสถาปนิกชาวยุโรปที่เข้ามารับราชการ ส่วนใหญ่ราวสะพานเป็นเหล็กหล่อลวดลายวิจิตรสวยงาม สั่งเป็นพิเศษมาจากยุโรป กลางสะพานมีแผ่นจารึกชื่อสะพานและพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ประดับอยู่ด้วย ซึ่งราวสะพานเหล่านั้น มาถึงยุคนี้ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ล้ำค่าอย่างมาก นับเป็นสมบัติสำคัญของชาติ

 

สะพานล้ำค่าที่หายไปในอดีต!! เงินพระราชทานจากสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สู่ "สะพานชุดเฉลิม" ด้วยพระเมตตาของเสด็จพ่อ ร.๕ (ชมคลิป) !!

            ที่น่าเสียดายอีกสะพาน ก็คือ "สะพานเฉลิมสวรรค์ ๕๘" ซึ่งเป็นสะพานสุดท้ายของสะพานชุดเฉลิม เชื่อมถนนพระอาทิตย์กับถนนราชินีที่ปากคลองคูเมืองเดิมด้านเหนือ แต่เสด็จสวรรคตเสียก่อนสร้าง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงสร้างตามพระราชดำริของพระบรมราชชนก และเสด็จพระราชดำเนินเปิดในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๖ ดังคำกราบบังคมทูลของเจ้าพระยายมราชในวันเปิดสะพานตอนหนึ่งว่า

“...สะพานซึ่งใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้เสด็จมาประทับทอดพระเนตรอยู่ ณ บัดนี้ ได้สร้างขึ้นด้วยเงินประจำพระชนมวารของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ซึ่งพระองค์ทรงพระราชอุทิศสำหรับพระราชกุศลสาธารณทานประจำศก ๑๒๙ อันเป็นปีที่สุดในรัชกาลของพระองค์ จึงยังมิได้ทรงกำหนดที่สร้างแห่งใดแลพระราชทานนามไว้ กรมสุขาภิบาลจึงได้กะจะทำในที่ตำบลนี้ แล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทำ ส่วนจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่เท่าใด ก็ได้พระราชทานพระราชทรัพย์เพิ่มเติมจนสำเร็จ แลพระราชทานนามว่า ‘สะพานเฉลิมสวรรค์ ๕๘’ สะพานนี้ได้สร้างเป็นสะพานรูปโค้ง พื้นที่สะพานกว้าง ๖ วา ๒ ศอก ยาว ๖ วา ๒ ศอก สูงจากระดับน้ำธรรมดา ๑ วา ๒ ศอก เชิงสะพานด้านตะวันตกลาดเป็นท่าลงแม่น้ำทั้ง ๒ ฝั่งคลอง มีลวดลายแลอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ตามสมควรแก่การซึ่งเป็นสะพานพระราชกุศล แลเป็นสะพานที่สุดแห่งสะพานเฉลิมทั้งปวง”

   

ที่มาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/สะพานชุดเฉลิม

              เพจ เรียงร้อยเรื่องเก่า เล่าตำนาน.

ขอบคุณคลิปจาก : หอภาพยนต์ (องค์การมหาชน)