ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th/

อีกหนึ่งเรื่องความประทับใจที่ รัชกาลที่ 9 ทรงมอบให้ประชาชนของพระองค์ จนทำให้ทราบซึ้งถึงความมีพระมหากรุณาธิคุณ รวมถึงทรงความยุติธรรมแผ่ไพศาลถึงทุกหมู่เหล่า โดยเรื่องเล่านี้เป็นข้อมูลจากหนังสือ เอกกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีเนื้อหาใจความในตอนหนึ่งเกี่ยวกับคำสั่งลงโทษของนิสิตจุฬา มีใจความดังต่อไปนี้

ทรงเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณ !!! ทรงเลือกยกโทษให้คนที่ผิดแล้วรู้ตัว มากกว่าการทำโทษเพื่อทำลายชีวิตเขา #เรื่องเล่าประทับใจ

เมื่อครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2506 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการสั่งลงโทษนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ได้ก่อเหตุทะเลาะวิวาทร้ายแรงกับนิสิตคณะอื่น และโดนทางมหาวิทยาลัยทำโทษขั้นร้ายแรงโดยการไล่ออก ก่อให้เกิดความบาดหมางระหว่างนิสิต และ มหาวิทยาลัย ประกอบด้วยในขณะนั้น ผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดี เป็นรัฐมนตรีคนหนึ่งของรัฐบาลชุดนั้น ทำให้เรื่องรุกรามใหญ่โตถึงกับขนาดเป็นความบาดหมางระหว่างนิสิตประชาชน กับรัฐบาลเลยทีเดียว

นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์จำนวนรวม 9 คน ได้ไปรอเฝ้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ขณะรถยนต์พระที่นั่งกำลังเคลื่อนออกจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  เพื่อเสด็จไปทรงดนตรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระมหากรุณาธิคุณให้จอดรถรับฎีกาไว้ และพระราชทานพระบรมราโชวาทต่อนิสตว่า 
"ในขณะที่ถวายฎีกานั้น จะต้องมีความสำนึกผิดจริงๆ ทางใจด้วย ต้องยอมรับว่าที่ได้กระทำไปแล้ว เป็นความผิดจริง จึงให้อภัยกันได้ ไม่ใช่เป็นการถวายฎีกาแต่เพียงลายลักษณ์อักษร"

ทรงเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณ !!! ทรงเลือกยกโทษให้คนที่ผิดแล้วรู้ตัว มากกว่าการทำโทษเพื่อทำลายชีวิตเขา #เรื่องเล่าประทับใจ

และเมื่อพระองค์เสด็จถึงมหาวิทยาลัย ได้ทรงเล่าเรื่องนี้ให้กับคณะที่ประชุมของมหาวิทยาลัยให้ได้รับทราบ และทรงพระดำรัส กับคณะประชุม อธิบดี และคณาจารย์ว่า
"ฎีกานี้ นิสิตทั้งหลายที่ถูกทำโทษ เขียนมายอมรับว่า ทำผิดจริง การเขียนมายอมรับว่า ทำผิดนี้ แสดงว่าเขรู้ตัวว่าผิด คนเราทำผิดครั้งเดียวนับว่าเก่ง นิสิตพวกนี้ไม่เคยบอกว่าทำผิดมาก่อน การที่พวกเขาทำผิดและฎีกาบอกมาในวันนี้ จึงอยากให้อธิการและอาจารย์อภัยให้พวกเขาเสีย"

ด้วยพระสุรเสียงอันละมุนนี้เอง ผู้ใหญ่ทางมหาวิทยาลัยจึงน้อมรับพระราชดำรัส และให้คณะนิสิตปฏิญาณตน และขอขมาโทษต่ออาจารย์ ทางมหาวิทยาลัยก็ได้คืนสภาพการเป็นนิสิตให้ นับว่าเป็นการคืนอนาคตที่ยาวไกลให้กับนิสิตนักศึกษาที่สำนึกผิดเหล่านั้น 

ทรงเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณ !!! ทรงเลือกยกโทษให้คนที่ผิดแล้วรู้ตัว มากกว่าการทำโทษเพื่อทำลายชีวิตเขา #เรื่องเล่าประทับใจ

และมีการเล่าเสริมอีกว่านิสิตชุดที่ถูกทำโทษทุกคนเรียนจบและมีอนาคตในสายงานที่ดีบ้านเป็นนักการเมืองชื่อดัง บ้างยังแวะเวียนมาทำงานเพื่อสังคมช่วยเหลือสถาบัน ทำให้ตระหนักถึงคำว่า ให้อภัย เป็นการมอบชีวิตให้กับคนได้รู้จักการแก้ไขปรับตัวเป็นคนดี บางทีการทำโทษก็ไม่ต่างจากการทำลายชีวิตของคน คนนึงเลยทีเดียว

ทรงเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณ !!! ทรงเลือกยกโทษให้คนที่ผิดแล้วรู้ตัว มากกว่าการทำโทษเพื่อทำลายชีวิตเขา #เรื่องเล่าประทับใจ

อ้างอิงข้อมูลจาก - หนังสือ เอกกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ