ย้อนวันวานกับเรื่องราวสุดแสนประทับใจ..สมเด็จพระเทพฯ และพระสหาย เมื่อครั้งเป็นนิสิตใหม่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภาพหาชมยาก)

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

 

ขอย้อนวันวาน กับเรื่องราวสุดแสนประทับที่จะสร้างรอยยิ้มให้คนไทยเราในช่วงนี้ กับเรื่องราวที่แสนประทับใจ ของสมเด็จพระเทพฯ และพระสหาย เมื่อครั้งเป็นนิสิตใหม่จุฬาฯ และเหตุผลที่พระองค์ทรงเลือกที่จะสอบเข้าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี ๒๕๑๖ ซึ่ง จากเฟซบุ๊ก หอประวัติจุฬาฯ และเป็นพระราชนิพนธ์ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากวารสารจามจุรี “รำลึกถึงเทวาลัยถิ่นอักษร” มีนาคม ๒๕๔๐

 

สมเด็จพระเทพฯ และพระสหายเมื่อครั้งเป็นนิสิตใหม่จุฬาฯ

ย้อนวันวานกับเรื่องราวสุดแสนประทับใจ..สมเด็จพระเทพฯ และพระสหาย เมื่อครั้งเป็นนิสิตใหม่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภาพหาชมยาก)

“ข้าพเจ้าสอบเข้าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ เหตุผลใหญ่ที่สอบเข้าคณะนี้ก็คงเหมือนคนอื่นๆ คือเป็นคณะที่คะแนนสูงสุด อีกประการหนึ่งในช่วงที่สอบเข้าข้าพเจ้าไม่ค่อยสบายจึงเลือกคณะที่ไม่ต้องสอบหลายวิชา และไม่ต้องสอบวิชาพิเศษ ถ้าสบายดีคงต้องเลือกคณะที่มีวิชาพิเศษ เช่น โบราณคดี หรือ ครุ-พละเอาไว้ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าคงต้องติดอักษรฯ เพราะคะแนนออกมาไม่เลวนัก จำได้ว่า เมื่อประกาศผลการสอบ หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่า “ที่หนึ่งตกอันดับ” เนื่องจากข้าพเจ้าสอบชั้น ม.ศ. ๕ ได้ที่ ๑ แต่มาเข้าคณะอักษรศาสตร์ได้เป็นที่ ๔

ย้อนวันวานกับเรื่องราวสุดแสนประทับใจ..สมเด็จพระเทพฯ และพระสหาย เมื่อครั้งเป็นนิสิตใหม่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภาพหาชมยาก)

 

การเรียนปีที่ ๑ เป็นปีที่ข้าพเจ้าคิดว่าเรียนลำบาก แต่ก็ตื่นเต้น ท้าทาย และสนุกสนาน เพราะว่าจะต้องทำความรู้จักอาจารย์และเพื่อนใหม่ๆ มากมาย ทั้งเพื่อนในคณะและต่างคณะ ทั้งที่เป็นรุ่นพี่และรุ่นเดียวกัน บางทีจำไม่ได้ แต่ก่อนเคยอยู่โรงเรียนจิตรลดาซึ่งมีนักเรียนน้อย รู้จักกันหมดทุกคน นับว่าต้องปรับตัวอยู่มาก มานึกย้อนหลังแล้วรู้สึกว่า ครูบาอาจารย์เพื่อนฝูง เขาก็อดทนกับข้าพเจ้าพอใช้ ข้าพเจ้ามักพูดช้าตะกุกตะกัก เขาก็ยอมฟังดี นานๆ ก็ว่าเอาบ้างว่าพูดแบบนี้น่ารำคาญ ต่อมาข้าพเจ้าพูดดีขึ้นก็ชมเชย ครั้นพูดได้ดีแล้ว ข้าพเจ้าเลยไม่ยอมหยุดพูด กลายเป็นคนพูดมาก ทุกชั่วโมงต้องหาเรื่องพูดในห้อง ซักถามอาจารย์บ้าง ตอบคำถามบ้าง การพยายามจดจำชื่ออาจารย์และเพื่อนๆ ให้ได้ บางทีก็ยากสำหรับผู้มาใหม่ อาจารย์บางท่านมีหลายชื่อ ทั้งชื่อจริงและชื่อที่นิสิตตั้ง ก็ต้องจำให้ได้ทั้งสองชื่อหรือหลายชื่อ เมื่อพี่ใช้ให้ไปส่งหนังสือตามโต๊ะจะได้ส่งถูก สำหรับเพื่อน ในวันแรกๆ ก็จำไม่ได้ เช่น ฝาแฝด ป้อม-อ้วน มาคนละทีก็ไม่ทราบว่าใครเป็นป้อมใครเป็นอ้วน…”

จาก “รำลึกถึงเทวาลัยถิ่นอักษร” พระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากวารสารจามจุรี มีนาคม ๒๕๔๐

ย้อนวันวานกับเรื่องราวสุดแสนประทับใจ..สมเด็จพระเทพฯ และพระสหาย เมื่อครั้งเป็นนิสิตใหม่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภาพหาชมยาก)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จฯ มาร่วมกิจกรรมรับน้องใหม่ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ พระองค์ทรงเป็นนิสิตใหม่คณะอักษรศาสตร์ที่ชาวจุฬาฯ ภาคภูมิใจยิ่ง

ย้อนวันวานกับเรื่องราวสุดแสนประทับใจ..สมเด็จพระเทพฯ และพระสหาย เมื่อครั้งเป็นนิสิตใหม่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภาพหาชมยาก)

 

และอีกตอนหนึ่งที่แสดงถึงความมานะในการเรียนรู้ และทรงมีพระอารมณ์ขัน ทรงเรียกการเรียนผ่านเทปเสียงนี้ว่า การเรียนด้วย “เทปาจารย์” ในพระราชนิพนธ์เรื่อง “รำลึกถึงเทวาลัยถิ่นอักษร” ของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

 

“ระหว่างที่เรียนตั้งแต่ปีที่หนึ่ง ข้าพเจ้าต้องตามสเด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปต่างจังหวัด ไม่สามารถอยู่เรียนได้ครบถ้วน ข้าพเจ้าต้องทำหนังสือราชการขอมหาวิทยาลัยไม่ให้นับเวลาเรียน ซึ่งเขาก็ไม่นับ ถ้าเขานับ ข้าพเจ้าก็ต้องออกไปเรียนมหาวิทยาลัยเปิด วิธีการเรียนของข้าพเจ้าคือส่งคนมาอัดเทปไปฟังเวลาอยู่ต่างจังหวัด ข้าพเจ้าส่งการบ้าน รายงาน และเข้าสอบเหมือนนิสิตอื่น ข้าพเจ้าเรียกอาจารย์ที่พูดในเทปทั้งหลายว่าเทปาจารย์…”

ย้อนวันวานกับเรื่องราวสุดแสนประทับใจ..สมเด็จพระเทพฯ และพระสหาย เมื่อครั้งเป็นนิสิตใหม่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภาพหาชมยาก)

 

นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าของพระสหายร่วมชั้นปีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า

“…เรื่องที่ประทับใจมาก คือ การวางพระองค์เป็นเหมือนนิสิตทั่ว ๆ ไป ไม่ทรงถือพระองค์ และทรงเอื้ออารีต่อผู้อื่น เมื่อทรงเข้าศึกษาในคณะอักษรศาสตร์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดาฯ ในสายตาของนิสิตร่วมชั้นเรียน ทรงเป็นเจ้าฟ้าสูงศักดิ์ ในตอนแรก ใครๆ ก็เกร็งและเกรง ไม่กล้าเข้าไปพูดคุยกับพระองค์ กลัวว่าจะใช้คำราชาศัพท์ไม่ถูกต้องจะถูกตำหนิได้ แต่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงวางพระองค์เป็นกันเอง และโปรดให้ปฏิบัติต่อพระองค์เหมือนนิสิตนักศึกษาทั่วไป ไม่ทรงใช้สิทธิพิเศษใดๆ ประกอบกับมีพระอารมณ์ดี มีพระอารมณ์ขันและทรงอนุญาตให้เพื่อนๆ ไม่ต้องใช้ราชาศัพท์ครบถ้วนตามราชประเพณี ทำให้เพื่อนนิสิตกล้าเข้าไปพูดคุย และในที่สุดก็พบว่า สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นี้มีน้ำพระราชหฤทัยกว้างขวางเป็นมิตร

ย้อนวันวานกับเรื่องราวสุดแสนประทับใจ..สมเด็จพระเทพฯ และพระสหาย เมื่อครั้งเป็นนิสิตใหม่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภาพหาชมยาก)

 

ในพระกระเป๋าจะมีของใช้ต่างๆ ให้เพื่อนๆ ขอยืมได้ เช่น กาว กรรไกร หรือแม้แต่ยาดม ทรงชอบเล่นสนุก ครึกครื้น ทรงกีฬา ดนตรีไทย ทรงร่วมกิจกรรมของคณะและมหาวิทยาลัยอย่างแข็งขัน การเรียนก็เอาพระราชหฤทัยใส่และชอบช่วยเหลือเพื่อนๆ เช่น ทรงติว ทรงเก็งข้อสอบ (แม่นมาก) หรือตอบคำถามครูในชั้นเรียนช่วยชีวิตเพื่อนๆ ที่ตอบไม่ได้อยู่เสมอๆ ทรงเป็นนิสิตที่เรียนเก่งมาก แต่ไม่ใช่เรียนอย่างเดียว ทรงทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่วนรวมด้วย…”

จากบทความ “ความทรงจำที่ไม่ลบเลือน” ของ ผศ.ดร.สุกัญญา บำรุงสุข พระสหายร่วมชั้นปีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหนังสือ “ดั่งดวงแก้ว ส่องสว่าง ทางสายงาม”

ย้อนวันวานกับเรื่องราวสุดแสนประทับใจ..สมเด็จพระเทพฯ และพระสหาย เมื่อครั้งเป็นนิสิตใหม่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภาพหาชมยาก)

 

“…เวลาทูลกระหม่อมเสด็จฯ ไปต่างประเทศหรือต่างจังหวัด หรือทรงมีพระราชภารกิจอย่างอื่น ทำให้ต้องทรงขาดเรียน พวกเราจะรู้สึกหงอยๆ ไปเหมือนกัน เวลาเรียนจะมีเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานนำเทปมาอัดการเรียนการสอนเก็บไว้ถวายพระองค์ท่าน รวมทั้งเก็บเอกสารประกอบการสอนต่าง ๆ ไว้ด้วย และเมื่อกลับมาเรียนอีกครั้งก็ทรงสามารถต่อเรื่องได้ติดโดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด การเรียนในระบบเกรดทำให้พวกเราต้องทำงานกันหนักมาก เพราะมีผู้ที่คอยทำให้เกรดสูงอยู่คือ ทูลกระหม่อมนั่นเอง นิสิตรุ่นนั้นจึงต้องขยันกันมาก เพราะไม่เช่นนั้นจะโดนตัดเกรดไป รุ่นนั้นถ้าจำไม่ผิดมีคนได้รับเกียรตินิยมกันมากเหลือเกิน จนเวลารับปริญญา ผู้คนในหอประชุมถึงกับร้องอื้อฮือ เพราะพนักงานอ่านรายชื่อนิสิตที่รับปริญญาเกียรตินิยมอันดับหนึ่งไม่หมดเสียที ก็ปีนั้น คณะอักษรศาสตร์ได้เกียรตินิยมมากเกือบครึ่งรุ่นทีเดียวแหละ… “

จากหนังสือ “เราทั้งผอง อักษรา เทวาลัย” โดย ยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง

ย้อนวันวานกับเรื่องราวสุดแสนประทับใจ..สมเด็จพระเทพฯ และพระสหาย เมื่อครั้งเป็นนิสิตใหม่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภาพหาชมยาก)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้คะแนนสะสมเฉลี่ย 3.98 เป็นที่หนึ่งของชั้น และได้รับพระราชทานเหรียญทองในฐานะที่ทรงสอบได้คะแนนสูงสุดในกลุ่มบัณฑิตวิชาเอก สาขาประวัติศาสตร์ ผู้ที่จะได้รับพระราชทานเหรียญทองนั้น จะต้องได้รับทุนเรียนดีทุกปีการศึกษา สอบได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง และเป็นที่หนึ่งในวิชาเอกนั้นๆ ในระหว่างที่เรียนปริญญาตรีนั้นด้วย

ย้อนวันวานกับเรื่องราวสุดแสนประทับใจ..สมเด็จพระเทพฯ และพระสหาย เมื่อครั้งเป็นนิสิตใหม่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภาพหาชมยาก)

ข้อมูลและภาพจากเฟซบุ๊ก หอประวัติจุฬาฯ