ย้อนรำลึกปราชญ์แห่งสยาม!! ๕ กรกฎาคม ครบรอบ ๑๙๕ ปี "พระยาศรีสุนทรโวหาร" นักปราชญ์ภาษาไทย "ผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย" #วันนี้ในอดีต!!!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

ย้อนรำลึกปราชญ์แห่งสยาม!! ๕ กรกฎาคม ครบรอบ ๑๙๕ ปี "พระยาศรีสุนทรโวหาร" นักปราชญ์ภาษาไทย "ผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย" #วันนี้ในอดีต!!!

                 เนื่องในวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ครบรอบ ๑๙๕ ปีของพระยาศรีสุนทรโวหาร ผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย  พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นชาวฉะเชิงเทรา ท่านได้รับสมญาว่าเป็นศาลฎีกาภาษาไทย เป็นผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย เรียกว่า "แบบเรียนหลวง" ใช้สอนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และหนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าอีกหลายเรื่อง งานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง คือท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น แม่กองตรวจโคลงบรรยายประกอบรูปภาพเรื่อง "รามเกียรติ์" รอบระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ ๑๐๐ ปี และตัวท่านเองก็ได้รับหน้าที่เป็นผู้แต่งด้วยท่านหนึ่ง

ย้อนรำลึกปราชญ์แห่งสยาม!! ๕ กรกฎาคม ครบรอบ ๑๙๕ ปี "พระยาศรีสุนทรโวหาร" นักปราชญ์ภาษาไทย "ผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย" #วันนี้ในอดีต!!!

               พระยาศรีสุนทรโวหาร น้อย อาจารยางกูร เกิดเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๕ ตรงกับปลายรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เมื่ออายุได้ประมาณ ๕-๗ ปี เรียนหนังสือไทยกับหลวงบรรเทาทุกข์ราษฎร์ กรมการเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพี่ชายใหญ่ของท่าน ในขณะที่หลวงบรรเทาทุกข์ราษฎร อุปสมบทเป็นภิกษุอยู่ที่วัดโสธรวรารามวรวิหาร เมื่ออายุ ๑๕ ปี ท่านได้เข้าไปศึกษาต่อในพระนคร อยู่กับสามเณรน้าชาย ชื่อทัด ณ วัดสระเกศวรวิหาร อายุ ๑๔ ปี บรรพชาเป็นสามเณรเรียนหนังสือไทยกับพระกรรมวาจาจารย์ (จัน) เรียนหนังสือขอมกับพระครุวิหารกิจจานุการ (กรรมวาจาจีน) ศึกษาพระธรรมวินัยจากสำนักต่าง ๆ เช่น

- เรียนคัมภีร์สารสงเคราะห์ สำนักสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
- เรียนคัมภีร์มังคลัตถทีปนีในสำนักพระอุปทยาจารย์ (ศุข)
- เรียนคัมภีร์มูลกัจจายน์ในสำนักสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน)
- เรียนคัมภีร์กังขาวิตรณี ในสำนักอาจารย์เกิด
- เรียนคัมภีร์มหาวงศ์ในสำนักพระครูด้วง
- เรียนคัมภีร์อื่น ๆ ในสำนักพระครูปาน พระใบฎีกาแก้ว พระอาจารย์คง อาจารย์ที่เป็นคฤหัสถ์ด้วย

              ท่านได้บวชเป็นสามเณร ๘ ปี เมื่ออายุ ๒๑ ปี ได้อุปสมบทที่วัดสระเกศวรวิหาร ท่านแตกฉานทั้งภาษาไทย ภาษาขอม ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต รู้การแต่งคำประพันธ์ฉันทลักษณ์เป็นอย่างดี เมื่ออายุ ๒๔ ปี ได้เข้าแปลปริยัติธรรมในที่ประชุมพระราชาคณะ ณ วัดราชบุรณราชวรวิหารได้เป็นเปรียญ ๕ ประโยค ด้วยระยะเวลานั้น วัดสระเกศวรวิหารขาดพระมหาเปรียญเป็นเวลานับสิบปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโสมนัสยินดี ทรงเฉลิมพระราชศรัทธาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดใหม่ รื้อกุฏิเก่าฝาไม้ไผ่ออกสร้างกุฏิตึกเป็นเสนาสนะงดงาม ตลอดทั้งก่อสร้างสถาปนาภูเขาทองด้วยนับเป็นเกียรติยศอย่างสูง ด้วยความอุตสาหะพากเพียรใฝ่รู้ของท่าน จึงได้ขอศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพรรษาที่ ๖ ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมในที่ประชุมพระราชาคณะ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร สอบได้เปรียญธรรม ๗ ประโยค พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระราชาคณะที่ “พระประสิทธิสุตคุณ”

 

ย้อนรำลึกปราชญ์แห่งสยาม!! ๕ กรกฎาคม ครบรอบ ๑๙๕ ปี "พระยาศรีสุนทรโวหาร" นักปราชญ์ภาษาไทย "ผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย" #วันนี้ในอดีต!!!

- พ.ศ. ๒๓๙๖ ท่านลาสิกขาบท เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ดำรงค์ (หรือเจ้าหมื่นสรรพเพชรภักดีในขณะนั้น) ได้นำท่านเข้าถวายตัวรับราชการอยู่ในกรมมหาดเล็กเวรศักดิ์ รัชกาลที่ ๔ ทรงใช้สอยในเรื่องหนังสือไทย หนังสือขอมคล่องแคล่ว ตามที่พระองค์ต้องการ ไม่ว่าจะติดขัดในประการใดก็ช่วยเหลือพระองค์ได้เสมอ ท่านรับราชการ ๑ ปี ก็ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นที่ “ขุนประสิทธิ์อักษรศาสตร์” ทำงานเป็นผู้ช่วยของเจ้ากรมพระยารักษ์ ว่าที่เจ้ากรมอักษรพิมพการ ครั้นถึงในสมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งเป็น “ขุนสารประเสริฐ” ปลัดทูลฉลอง กรมพระอาลักษณ์ และเมื่อเจ้านครเชียงใหม่นำช้างเผือกมาถวาย ท่านจึงได้แต่งฉันท์กล่อมช้าง

- พ.ศ. ๒๔๑๔ ท่านได้คิดแบบสอนอ่านหนังสือไทย รวม ๖ เล่ม ได้แก่ มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน พิศาลการันต์ ไวพจน์พิจารณ์ (ไวพจน์พิจารณ์แต่งในปี พ.ศ. ๒๔๒๕) ซึ่งเป็นที่ถูกพระราชหฤทัยของพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอันมาก ท่านจึงได้เลื่อนยศขึ้นเป็น “พระสารประเสริฐ” ปลัดทูลฉลอง กรมพระอาลักษณ์

- พ.ศ. ๒๔๑๕ ท่านได้เป็นครูสอนหนังสือไทย ในกรมมหาดเล็ก

- พ.ศ. ๒๔๑๖ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นอาจารย์สอนพระราชวงศ์ที่ยังพระเยาว์ และบุตรหลานข้าราชการได้รับพระราชทานเงินเดือน เดือนละ ๖๐ บาท ภายหลังได้คิดแบบเรียนอีกหลายเล่ม เช่น อนันตวิภาค เขมรากษรมาลา (หนังสือขอม) นิติสารสาธก ปกรนำพจนาตถ์ โคลงฉันท์หลายเรื่อง

- พ.ศ. ๒๔๑๘ ในปีนั้นพระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ) เจ้ากรมพระอาลักษณ์ ถึงแก่อนิจกรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งพระสารประเสริฐขึ้นเป็น “พระศรีสุนทรโวหาร” เจ้ากรมอาลักษณ์ ถือศักดินา ๓,๐๐๐ ไร่

- พ.ศ. ๒๔๒๒ เมื่อมีการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามท่านได้มีส่วนในการแต่งโคลงรามเกียรติ์เพื่อจารึกที่ระเบียงรอบพระอุโบสถ และเป็นท่านยังเป็นแม่กองตรวจโคลงรามเกียรติ์ที่ข้าราชการแต่งทูลเกล้าฯ ถวายอีกด้วย ผลงานและความชอบในครั้งนั้นได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น"พระยาศรีสุนทรโวหาร ญานปรีชามาตย์บรมนาคนิตยภักดีพิริยะ พาหะ" ถือศักดินา ๓,๐๐๐ ไร่ และได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ ๔ ชั่ง

- พ.ศ. ๒๔๒๕ ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ให้เป็นองคมนตรีเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และทำหน้าที่เป็นเลขานุการสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และองคมนตรีสภาอีกด้วย และให้มีการปฏิรูปการศึกษา โดยตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรก ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ โดยมีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรเกล้าฯ ให้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร

- พ.ศ. ๒๔๓๒ ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า และได้รับพระราชทานพานหมากคนโททอง กระโถนทอง เป็นเครื่องยศ

ย้อนรำลึกปราชญ์แห่งสยาม!! ๕ กรกฎาคม ครบรอบ ๑๙๕ ปี "พระยาศรีสุนทรโวหาร" นักปราชญ์ภาษาไทย "ผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย" #วันนี้ในอดีต!!!

             เมื่อพ.ศ. ๒๔๓๔ ท่านได้ป่วยด้วยโรคชรา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหมอหลวงรักษา และให้พาหมอเชลยศักดิ์มารักษาด้วย แต่อาการไม่ดีขึ้น ดังนั้นในวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ ท่านได้ถึงแก่อนิจกรรม สิริอายุได้ ๖๙ ปี ได้รับพระราชทานโกศโถเป็นเกียรติยศ

 

ย้อนรำลึกปราชญ์แห่งสยาม!! ๕ กรกฎาคม ครบรอบ ๑๙๕ ปี "พระยาศรีสุนทรโวหาร" นักปราชญ์ภาษาไทย "ผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย" #วันนี้ในอดีต!!!

        ทั้งนี้มาการสร้างอนุสาวรีย์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เื่อแสดงความรำลึกถึงนักปราชญ์ภาษาไทยอีกด้วยโดยอนุสาวรีย์ตั้งอยู่บนถนนศรีโสธรตัดใหม่ ในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา นอกจากนี้ในคำขวัญประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้มีการกล่าวถึงพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ไว้ในวรรคที่ ๓ ว่า "...พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย..."

 

 

ที่มาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/พระยาศรีสุนทรโวหาร_(น้อย_อาจารยางกูร)

ขอบคุณภาพจาก : bangkrod.blogspot.com/2011/09/blog-post_20.html