อนุสรณ์ความแค้น!! “เสด็จเตี่ย" ทรงสร้างเรือ “น้ำตาล” เพื่อเตือนใจคนไทย ว่าเรือลำนี้ยังรอวัน “แก้เผ็ด" อยู่!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 (เอกสารภาษาอังกฤษเรียกว่า Franco-Siamese War หรือ "สงครามฝรั่งเศส - สยาม") เป็นเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรสยามกับฝรั่งเศสในสมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ซึ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2436 จากการอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง (พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศลาวในปัจจุบัน)

ผู้มีบทบาทสำคัญในวิกฤตการณ์ครั้งนี้คือนายโอกุสต์ ปาวี รองกงสุลฝรั่งเศสประจำนครหลวงพระบาง ซึ่งเป็นหัวหอกสำคัญในการแสวงหาผลประโยชน์ของฝ่ายฝรั่งเศสในดินแดนลาว โดยใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของสยามที่ไม่สามารถดูแลหัวเมืองชายแดนได้ทั่วถึง การก่อกบฏในเวียดนามที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ การปราบฮ่อซึ่งแตกพ่ายจากเหตุการณ์กบฏไท่ผิงในจีน และการทวีความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลฝรั่งเศสที่กรุงปารีส

ผลของวิกฤตการณ์ครั้งนี้ทำให้ฝ่ายไทยจำต้องยอมยกดินแดนลาวฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส นับเป็นการขยายอิทธิพลครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของฝรั่งเศสในภูมิภาคอินโดจีน และนำไปสู่การสูญเสียดินแดนประเทศราชของไทยในเขมรและลาวที่เหลืออยู่ในเวลาต่อมาอีกด้วย

 (จารุวรรณ สุขุมาลพงษ์, วิกฤตการณ์ ร.ศ.112)

อนุสรณ์ความแค้น!! “เสด็จเตี่ย" ทรงสร้างเรือ “น้ำตาล” เพื่อเตือนใจคนไทย ว่าเรือลำนี้ยังรอวัน “แก้เผ็ด" อยู่!

จากเหตุการณ์ครั้งนั้นได้สร้างบาดแผลและเจ็บแค้นในอกประชาชนคนไทย โดยเฉพาะ พลเรือเอกพระบรมวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือ “เสด็จเตี่ย” โดยหนึ่งในเครื่องเตือนใจให้นึกถึงสิ่งที่ฝรั่งเศสทำต่อเรา นั่นคือ

อนุสรณ์ความแค้น!! “เสด็จเตี่ย" ทรงสร้างเรือ “น้ำตาล” เพื่อเตือนใจคนไทย ว่าเรือลำนี้ยังรอวัน “แก้เผ็ด" อยู่!

อนุสรณ์ความแค้น!! “เสด็จเตี่ย" ทรงสร้างเรือ “น้ำตาล” เพื่อเตือนใจคนไทย ว่าเรือลำนี้ยังรอวัน “แก้เผ็ด" อยู่!

“เรือน้ำตาล” เป็นเรือที่ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2449 มีคำว่าธนบุรี ร.ศ. 112 ที่หัวเรือ เรือน้ำตาลตั้งไว้บนบกให้ได้เห็นทุกวันเป็นการเตือนใจให้หาทาง แก้เผ็ด และป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่น ร.ศ.112 เกิดขึ้นอีก ที่ทรงใช้ชื่อว่า "เรือน้ำตาล" เพราะน้ำตาล แก้รสเผ็ดได้ หรืออีกนัยหนึ่งเป็นเรือที่ลอยน้ำไม่ได้ (เช่นเดียวกับน้ำตาล) ซึ่งนอกจากจะเป็นการแสดงออกทางสัญลักษณ์แล้ว “เรือน้ำตาล” ลำนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือเพื่อให้นักเรียนนายเรือฝึกหมุนเรือเพื่อหา ดิวิเอชั่นและการสอดแท่งแม่เหล็กแก้อัตราผิดของเข็มทิศ อีกด้วย