๖๗ พรรษาแห่งสันติธรรม!! วันละสังขาร "พระธรรมโกศาจารย์" หรือ "ท่านพุทธทาสภิกขุ" ผู้มอบมรดกแก่คนรุ่นหลังเพื่อ "พุทธทาส" จะไม่ตายไปจากพุทธศาสนา

ติดตามเรื่องราวดีๆได้อีกมากมายที่ www.tnews.co.th

๖๗ พรรษาแห่งสันติธรรม!! วันละสังขาร "พระธรรมโกศาจารย์" หรือ "ท่านพุทธทาสภิกขุ" ผู้มอบมรดกแก่คนรุ่นหลังเพื่อ "พุทธทาส" จะไม่ตายไปจากพุทธศาสนา

         เนื่องในวันที่ ๘ กรกฎาคม เป็นคล้ายวันมรณภาพของพระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปญฺโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ  เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙ เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของศาสนาพุทธได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด 

๖๗ พรรษาแห่งสันติธรรม!! วันละสังขาร "พระธรรมโกศาจารย์" หรือ "ท่านพุทธทาสภิกขุ" ผู้มอบมรดกแก่คนรุ่นหลังเพื่อ "พุทธทาส" จะไม่ตายไปจากพุทธศาสนา

          ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม, ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และเป็นสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ ปัญญานันทภิกขุ วัดชลประทานรังสฤษฎ์ และท่าน บ.ช. เขมาภิรัตน์ 

         ท่านพุทธทาสภิกขุมีนามเดิมว่า เงื่อม พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย หรือวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้า ที่ตลาดพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นพุมเรียงยังเป็นที่ตั้งของตัวเมืองไชยา หรือจังหวัดไชยา ก่อนที่จะกลายมาเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน 

         บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ เซี้ยง พานิช ประกอบอาชีพหลักคือการค้าขายของชำ บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุเป็นคนไทยเชื้อสายจีน เนื่องจากปู่ของท่านพุทธทาสภิกขุอพยพจากมณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน มาเป็นช่างเขียนภาพสีบนกระจกที่เมืองไชยา ย่าของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อส้มจีน ซึ่งเชื้อสายของย่าอพยพจากอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาอยู่เมืองไชยาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมบิดาของท่านพุทธทาสภิกขุใช้แซ่โข่วหรือข่อ (หรือโค้ว ในภาษาแต้จิ๋ว) ต่อมาเมื่อมีพระราชบัญญัตินามสกุลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางราชการจึงเปลี่ยนนามสกุลของบิดาท่านเป็น พานิช เพราะตอนนั้นมีเพียงครอบครัวของท่านเท่านั้นที่ทำการค้าขาย 

         งานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดาท่านพุทธทาสภิกขุคืองานด้านช่างไม้ โดยในเวลาว่าง บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุจะทำการต่อเรือไม้เป็นอาชีพเสริม ซึ่งทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุสนใจ และชอบในงานด้านนี้ไปด้วย แม้ที่สวนโมกขพลาราม งานไม้ส่วนใหญ่ก็เกิดจากการทำกันเองของคณะสงฆ์ นอกจากนี้ บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุยังมีความสามารถในทางกวี ซึ่งความสามารถด้านนี้ส่งอิทธิพลต่อท่านพุทธทาสภิกขุเป็นอย่างมาก โดยผลงานธรรมะของท่านพุทธทาสภิกขุส่วนหนึ่งได้ประพันธ์ไว้ในรูปร้อยกรอง ซึ่งมีความไพเราะ และดึงดูดใจให้คนทั้งหลายเข้าถึงเนื้อหาธรรมะได้ง่ายขึ้น 

           มารดาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ เคลื่อน พานิช เกิดที่อำเภอท่าฉาง ตาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อเล่ง มียศเป็นขุนสิทธิสาร ปกครองหัวเมืองกระแดะ หรืออำเภอกาญจนดิษฐ์ในปัจจุบัน ครอบครัวของตายายมีความมั่นคงในพระพุทธศาสนา และมีการปฏิบัติสมาธิภาวนากันภายในบ้านเรือน ทำให้มารดาของท่านพุทธทาสภิกขุใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามาตั้งแต่เด็ก ซึ่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนานี้ได้ส่งต่อมาที่บุตร และหล่อหลอมให้เด็กชายเงื่อม พานิช กลายเป็นท่านพุทธทาสภิกขุในเวลาต่อมา 

           ท่านพุทธทาสภิกขุมีน้องสองคน ซึ่งมีอายุห่างจากท่านพุทธทาสภิกขุ ๓ ปี และ ๖ ปี ตามลำดับ น้องคนโตเป็นชาย ชื่อ ยี่เกย พานิช ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธรรมทาส พานิช และได้เป็นกำลังหลักของคณะธรรมทานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา และสนองงานของท่านพุทธทาสภิกขุ ส่วนน้องสาวคนสุดท้องของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ กิมซ้อย พานิช ซึ่งภายหลังแต่งงานไปอยู่บ้านดอน และใช้นามสกุลสามีว่า เหมะกุล

๖๗ พรรษาแห่งสันติธรรม!! วันละสังขาร "พระธรรมโกศาจารย์" หรือ "ท่านพุทธทาสภิกขุ" ผู้มอบมรดกแก่คนรุ่นหลังเพื่อ "พุทธทาส" จะไม่ตายไปจากพุทธศาสนา

                พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ สิริรวมอายุ ๘๗ ปี ๖๗ พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่ทรงคุณค่าแทนตัวท่านให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สืบสานปณิธานของท่านรับมรดกความเป็น "พุทธทาส" เพื่อพุทธทาสจะได้ไม่ตายไปจากพระพุทธศาสนาดังบทประพันธ์ของท่านที่ว่า 

พุทธทาส จักอยู่ไป ไม่มีตาย    แม้ร่างกายจะดับไปไม่ฟังเสียง  

ร่างกายเป็น ร่างกายไป ไม่ลำเอียง    นั่นเป็นเพียงสิ่งเปลี่ยนไปในเวลา 

พุทธทาส คงอยู่ไป ไม่มีตาย    ถึงดีร้ายก็จะอยู่คู่ศาสนา 

สมกับมอบ กายใจ รับใช้มา    ตามบัญชาองค์พระพุทธไม่หยุดเลย 

พุทธทาส ยังอยู่ไป ไม่มีตาย    อยู่รับใช้ เพื่อนมนุษย์ไม่หยุดเฉย 

ด้วยธรรมโฆษณ์ตามที่วางไว้อย่างเคย    โอ้เพื่อนเอ๋ยมองเห็นไหมอะไรตายฯ 

แม้ฉันตาย กายลับ ไปหมดแล้ว    แต่เสียงสั่ง ยังแจ้ว แว่วหูสหาย 

ว่าเคยพลอดกันอย่างไรไม่เสื่อมคลาย    ก็เหมือนฉันไม่ตาย กายธรรมยัง 

ทำกับฉัน อย่างกะฉัน นั้นไม่ตาย    ยังอยู่กับ ท่านทั้งหลายอย่างหนหลัง 

มีอะไรมาเขี่ยไค้ ให้กันฟัง    เหมือนฉันนั่ง ร่วมด้วย ช่วยชี้แจง 

ทำกับฉัน อย่างกะฉัน ไม่ตายเถิด    ย่อมจะเกิด ผลสนอง หลายแขนง 

ทุกวันนัด สนทนา อย่าเลิกแล้ง    ทำให้แจ้ง ที่สุดได้ เลิกตายกันฯ 

 

 

ที่มาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/พระธรรมโกศาจารย์_(เงื่อม_อินทปญฺโญ)