ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

                หลายคนสงสัยถึงที่มาของถนนหรือสถานที่ต่างๆ โดยสถานที่นั้นๆ อาจสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองพระเกียรติ หรืออันเชิญพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์มาเป็นชื่อของสถานที่นั้นๆ นอกจากพระนามกรมของพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังถูกนำมาใช้เป็นชื่อของสถานที่ต่าง ๆ เช่น ถนน อาคาร เป็นต้น รวมทั้งยังปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ โดยพระนามกรมที่นำมาใช้นั้นมีปรากฏ 

               นอกจากนี้ชื่อถนนบางสายในกรุงเทพมหานครนั้น ก็ตั้งตามชื่อพระนามกรมของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เช่น

ถนนกำแพงเพชร ตั้งตามพระนามกรมของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน "

แค่ได้รู้ก็เป็นบุญที่สุด!! เผยที่มา..ชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่ตั้งมาจากพระนามกรมของ "พระราชโอรสและพระราชธิดา" ในพระพุทธเจ้าหลวง น้อยคนที่จะรู้!!

               พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน หรือ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร (๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๔ - ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙) พระบิดาแห่งกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย พระบิดาแห่งการรถไฟไทย พระบิดาแห่งการท่องเที่ยวไทย และ พระบิดาแห่งโรตารีไทย

               พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรงลาออกจากราชการและเสด็จไปประทับ ณ ประเทศสิงคโปร์ พร้อมกับครอบครัวเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ กระทั่งวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๔๗๙ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรได้สิ้นพระชนม์ที่โรงพยาบาลในประเทศสิงคโปร์ สิริพระชนมายุได้ ๕๕ ปี

 

ถนนพิษณุโลก ตั้งตามพระนามกรมของ "สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ"

แค่ได้รู้ก็เป็นบุญที่สุด!! เผยที่มา..ชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่ตั้งมาจากพระนามกรมของ "พระราชโอรสและพระราชธิดา" ในพระพุทธเจ้าหลวง น้อยคนที่จะรู้!!

                  จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ - ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๓) ทรงเป็นต้นราชสกุล "จักรพงษ์" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๔๐ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ ๔ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง และทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็กตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ แห่งรัสเซีย หลังจากสำเร็จการศึกษา ทรงรับราชการทหารเป็นเสนาธิการทหารบก โดยทรงริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการ ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบินในเมืองไทย จนได้รับพระสมัญญานามว่า "พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย"

                  ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งขึ้น มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศจากนายพลเอกเป็นจอมพล และทรงเป็นผู้ที่จัดส่งทหารอาสาเขาทำการรบในสงครามครั้งนั้น ต่อมาสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคตด้วยพระโรคพระปับผาสะ ขณะเสด็จไปประทับพักผ่อนพระวรกายที่สิงคโปร์ พระชนม์เพียง ๓๗ พรรษา เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๓

 

ถนนนครราชสีมา ตั้งตามพระนามกรมของ "สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา"

แค่ได้รู้ก็เป็นบุญที่สุด!! เผยที่มา..ชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่ตั้งมาจากพระนามกรมของ "พระราชโอรสและพระราชธิดา" ในพระพุทธเจ้าหลวง น้อยคนที่จะรู้!!

                สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมาเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ เมื่อทรงพระเยาว์สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงออกทรงพระนามว่า "เอียดเล็ก" ชางวังออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมเอียดเล็ก"

                พระองค์ประชวรด้วยพระโรคพระวักกะอักเสบ (โรคไต) และทิวงคตที่พระตำหนักวังสวนกุหลาบ พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ สิริพระชนมายุได้ ๓๖ พรรษา

 

ถนนศุโขทัย ตั้งชื่อตามพระนามกรมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น "กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา"

แค่ได้รู้ก็เป็นบุญที่สุด!! เผยที่มา..ชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่ตั้งมาจากพระนามกรมของ "พระราชโอรสและพระราชธิดา" ในพระพุทธเจ้าหลวง น้อยคนที่จะรู้!!

                    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ — ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ ๗ ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะเส็ง เวลา ๑๒.๒๕น. หรือตรงกับวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๗๖ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระองค์ที่ ๙ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ และทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ (นับศักราชแบบเก่า) รวมดำรงสิริราชสมบัติ ๙ ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ รวมพระชนมพรรษา ๔๗ พรรษา

 

ถนนพิไชย ตั้งชื่อตามพระนามกรมของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม"

แค่ได้รู้ก็เป็นบุญที่สุด!! เผยที่มา..ชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่ตั้งมาจากพระนามกรมของ "พระราชโอรสและพระราชธิดา" ในพระพุทธเจ้าหลวง น้อยคนที่จะรู้!!

              พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม พระนามเดิม พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล "เพ็ญพัฒน์" เป็นผู้พระนิพนธ์เพลงลาวดวงเดือน พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓๘ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันประสูติแต่เจ้าจอมมารดามรกฎ ธิดาของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ประสูติเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๕ เสด็จไปศึกษาทางด้านเกษตรศาสตร์จากประเทศอังกฤษ สำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ ขณะพระชนมายุ ๒๐ พรรษา กลับมารับราชการเป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง กระทรวงศึกษาธิการ

             พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม สิ้นพระชนม์ด้วยโรคปอดเรื้อรัง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ พระชนมายุ ๒๘ พรรษา

 

ถนนนครไชยศรี ตั้งชื่อตามพระนามกรมของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช"

แค่ได้รู้ก็เป็นบุญที่สุด!! เผยที่มา..ชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่ตั้งมาจากพระนามกรมของ "พระราชโอรสและพระราชธิดา" ในพระพุทธเจ้าหลวง น้อยคนที่จะรู้!!

                   จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช หรือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๑๗ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ เจ้าจอมมารดาทับทิม โดยเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกลุ่มแรกที่ทรงไปศึกษาต่อในทวีปยุโรป เมื่อกลับมาประเทศไทยทรงเข้ารับราชการในกองทัพบกและกระทรวงกลาโหมในตำแหน่งต่างๆ และทรงเป็นจอมพลพระองค์ที่ ๒ ของกองทัพบกสยาม พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุล "จิรประวัติ"

                 จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๖ สิริพระชนมายุได้ ๓๗ พรรษา ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น "พระบิดาแห่งกองทัพบกไทย"

 


ถนนเพชรบุรี ตั้งชื่อตามพระนามกรมของ "สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร"

แค่ได้รู้ก็เป็นบุญที่สุด!! เผยที่มา..ชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่ตั้งมาจากพระนามกรมของ "พระราชโอรสและพระราชธิดา" ในพระพุทธเจ้าหลวง น้อยคนที่จะรู้!!

                      นายพันเอกหญิง สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร เป็นพระราชธิดาลำดับที่ ๔๓ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๗ เป็นพระขนิษฐาร่วมพระมารดาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มกุฎราชกุมารพระองค์แรกของสยาม และเป็นเชษฐภคินีของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

                     สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงเล็งเห็นความสำคัญกับการศึกษาของสตรีไทย เช่น ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ของโรงเรียนราชินี การก่อสร้างโรงเรียนราชินีบน และทรงจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ (ต่อมาคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์) เป็นต้น

                     พระองค์ทรงพระประชวรด้วยโรคพระวักกะพิการเรื้อรัง เคยเสด็จไปทรงรับการผ่าตัดที่ต่างประเทศถึง ๒ ครั้ง จนเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ มีพระอาการหนักอย่างน่าวิตก พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา ๒๓.๑๕ นาฬิกา ของวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ สิริพระชนมายุ ๕๓ พรรษา

 

ถนนสุพรรณ ตั้งชื่อตามพระนามกรมของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี"

แค่ได้รู้ก็เป็นบุญที่สุด!! เผยที่มา..ชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่ตั้งมาจากพระนามกรมของ "พระราชโอรสและพระราชธิดา" ในพระพุทธเจ้าหลวง น้อยคนที่จะรู้!!

                 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ สุนทรศักดิกัลยาวดี กรมขุนสุพรรณภาควดี เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ) เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงได้รับพระกรุณายกย่องพระเกียรติยศไว้ยิ่งกว่าพระเจ้าลูกเธอพระองค์อื่นหลายประการและสมเด็จพระบรมชนกนาถถึงกับรับสั่งว่าพระองค์เป็น "ลูกคู่ทุกข์คู่ยาก"

                พระองค์ทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากสมเด็จพระบรมชนกนาถให้ทำหน้าที่ดูแลพระเจ้าน้องที่ยังทรงพระเยาว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระองค์ได้รับพระราชทานเกียรติให้เป็นผู้สั่งพระกนิษฐาให้เป็นสาว เนื่องจากตามธรรมเนียมการเป็นสาวของสตรีในพระราชสำนักฝ่ายในนั้น จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่ก่อน นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงดำรงตำแหน่งอุปนายิกาสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย) ร่วมกับเจ้านายฝ่ายในอีกหลายพระองค์

พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ หลังประชวรเรื้อรังมานาน พระชันษา ๓๖ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานบำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระราชวังบางปะอิน โดยใช้พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์เป็นที่ประดิษฐานพระศพ และโปรดให้จัดงานพระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดนิเวศธรรมประวัติ ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินไปในงานบำเพ็ญพระราชกุศลพระศพของกรมขุนสุพรรณภาควดี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ ก็ประชวรและสิ้นพระชนม์ ด้วยพระอาการไข้พิษ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๘ ซึ่งในสี่แผ่นดินกล่าวว่า "ต้องเชิญพระศพพระเจ้าลูกเธอองค์หนึ่งลงมา แล้วเชิญพระศพของอีกพระองค์ขึ้นไป"

 

ถนนอู่ทอง ตั้งชื่อตามพระนามกรมของ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี"

แค่ได้รู้ก็เป็นบุญที่สุด!! เผยที่มา..ชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่ตั้งมาจากพระนามกรมของ "พระราชโอรสและพระราชธิดา" ในพระพุทธเจ้าหลวง น้อยคนที่จะรู้!!

                สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี เป็นพระราชธิดาองค์ที่ ๓ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประสูติเมื่อวันเสาร์ ที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๙ พระองค์ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการในหน้าที่ราชเลขานุการิณีในพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสยุโรปเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ก็มีพระราชหัตถเลขามาถึงพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้ ซึ่งพระราชหัตเลขาเหล่านั้นได้นำมารวมรวบเป็นหนังสือพระราชนิพนธ์ไกลบ้านในเวลาต่อมา

               หลังจากมีการปฏิวัติสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระองค์ตัดสินพระทัยเสด็จออกไปประทับที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย พร้อมกับครอบครัวของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และสิ้นพระชนม์ที่นั่นเมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘

 

ถนนสวรรคโลก ตั้งชื่อตามพระนามกรมของ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี"

แค่ได้รู้ก็เป็นบุญที่สุด!! เผยที่มา..ชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่ตั้งมาจากพระนามกรมของ "พระราชโอรสและพระราชธิดา" ในพระพุทธเจ้าหลวง น้อยคนที่จะรู้!!

                   สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๖ เมื่อแรกประสูติทรงพระนามว่า "พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเยาวมาลย์นฤมล"

                   เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่พระอรรคชายาเธอขึ้นเป็นเจ้าฟ้า ดังนั้น พระองค์จึงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล" หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนามาภิไธยสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล สรรพสกนธ์กัลยาณี" ต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระเกียรติเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล สรรพสกนธ์กัลยาณี กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี"

                   สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี ทรงเป็นองค์อุปนายิกาสภาอุณาโลมแดง หรือภายหลังคือ สภากาชาดไทย ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ พระชันษา ๓๖ ปี

 

 

ถนนนครปฐม ตั้งชื่อตามพระนามกรมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น "กรมขุนเทพทวาราวดี" เนื่องจากนครปฐมเป็นเมืองเก่าตั้งแต่สมัยกรุงทวารวดี

แค่ได้รู้ก็เป็นบุญที่สุด!! เผยที่มา..ชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่ตั้งมาจากพระนามกรมของ "พระราชโอรสและพระราชธิดา" ในพระพุทธเจ้าหลวง น้อยคนที่จะรู้!!

                  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเป็นองค์ที่ ๒ ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช ๒๔๕๓ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ รวมพระชนมพรรษา ๔๕ พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม ๑๕ ปี

 

 

นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำคัญที่อันเชิญพระนามมาตั้งเป็นชื่อสถานที่ด้วย


อาคารเทพทวาราวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งชื่อตามพระนามกรมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น "กรมขุนเทพทวาราวดี"

แค่ได้รู้ก็เป็นบุญที่สุด!! เผยที่มา..ชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่ตั้งมาจากพระนามกรมของ "พระราชโอรสและพระราชธิดา" ในพระพุทธเจ้าหลวง น้อยคนที่จะรู้!!

 

วังศุโขทัย ตั้งชื่อตามพระนามกรมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น "กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา" ผู้เป็นเจ้าของวัง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตั้งชื่อตามพระนามกรมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น "กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา"

แค่ได้รู้ก็เป็นบุญที่สุด!! เผยที่มา..ชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่ตั้งมาจากพระนามกรมของ "พระราชโอรสและพระราชธิดา" ในพระพุทธเจ้าหลวง น้อยคนที่จะรู้!!

 

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งชื่อตามพระนามกรมของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น "กรมหลวงสงขลานครินทร์"
มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งชื่อตามพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก คือ "เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช"

แค่ได้รู้ก็เป็นบุญที่สุด!! เผยที่มา..ชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่ตั้งมาจากพระนามกรมของ "พระราชโอรสและพระราชธิดา" ในพระพุทธเจ้าหลวง น้อยคนที่จะรู้!!

                 จอมพลเรือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (รัชกาลที่ ๘) และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) และเป็นพระอัยกาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ ๑๐) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีที่ประสูติร่วมพระราชมารดา ๗ พระองค์ พระองค์มีคุณูปการแก่กิจการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของประเทศไทยประชาชนโดยทั่วไปคุ้นเคยกับพระนามว่า "กรมหลวงสงขลานครินทร์" หรือ "พระราชบิดา" และบางครั้งก็ปรากฏพระนามว่า "เจ้าฟ้าทหารเรือ" และ "พระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำของไทย" ส่วนชาวต่างประเทศเรียกพระนามว่า "เจ้าฟ้ามหิดล"

                 หลังพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระองค์ทรงพระประชวรต้องประทับในพระตำหนักวังสระปทุม และสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ เวลา ๑๖.๔๕ น. ด้วยพระโรคฝีบิดในพระยกนะ(ตับ) โดยมีโรคแทรกซ้อนคือพระปัปผาสะบวมน้ำและพระหทัยวาย พระชนมายุได้ ๓๗ พรรษา ๘ เดือน ๒๓ วัน

 

 

โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และ วิทยาลัยประมงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ตั้งตามพระนามกรมของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์"

แค่ได้รู้ก็เป็นบุญที่สุด!! เผยที่มา..ชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่ตั้งมาจากพระนามกรมของ "พระราชโอรสและพระราชธิดา" ในพระพุทธเจ้าหลวง น้อยคนที่จะรู้!!

                 พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล "อาภากร" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาโหมด พระองค์ทรงได้รับสมัญญานามว่า "องค์บิดาของทหารเรือไทย"

                พระองค์ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบริหารงานของกองทัพเรือ ทรงได้รับการเชิดชูในหมู่ทหารเรือเรียกขานพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" หรือ "หมอพร" และ "พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย" ต่อมาในปี ๒๕๓๖ มีประกาศกองทัพเรือขนานพระนามพระองค์ว่า "พระบิดาของกองทัพเรือไทย" และในปี ๒๕๔๔ แก้ไขเป็น "องค์บิดาของทหารเรือไทย" ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ ได้มีการจัดสร้างศาลและอนุเสาวรีย์พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ รวมทั้งสิ้น ๒๑๗ แห่งทั่วประเทศไทย เช่น โรงพยาบาลชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี หรือที่หาดทรายรี จังหวัดชุมพร

 

ที่มาจาก : https://th.wikipedia.org