ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th/

หากพูดถึง ต.ศาลายา จ.นครปฐม ทุกคนแทบจะรู้จัก เพราะ ตำบล นี้มี มหาลัยชื่อดังอย่าง มหาวิทยาลัยมหิดลศาลายา แต่ใครจะรู้บ้างว่า ชื่อ ศาลายา นั้นมีความเป็นมาอย่างไร ขอบอกเลยว่า เรื่องเล่าของตำบลนี้ ในการตั้งชื่อถือว่าน่าสนใจทีเดียว วันนี้เลยจะพาคุณผู้อ่านไปรู้จักกับความเป็นมาของ ศาลายา กันครับ

ชื่อมีความหมาย หาใช่เพียงตั้งเล่นๆ !?! เหตุใดจึงเรียก "ต.ศาลายา" ทั้งที่แต่ก่อน คนเฒ่าคนแก่เรียก "ต.ศาลาทำศพ" !!!

ชื่อ ศาลายา นั้นมีคนเล่าขานกันมาในหลายทาง ในสมัยก่อน เวลาพูดถึง ศาลายา คนเฒ่าคนแก่ จะเรียกขานติดปากเหมือนเป็นชื่อเล่นของ ตำบลนี้ว่า ศาลาทำศพ ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่า แต่ก่อนสถานที่แห่งนี้ เกิดโรคระบาดหนัก ผู้คนเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นจำนวนมาก จึงมีการตั้ง ศาลาขึ้นเพื่อจ่ายยาให้กับคนที่เจ็บป่วยเหล่านี้ และด้วยที่คนตายมากมายและก็จะเผาศพกันบ่อยมากไม่เว้นแต่ละวัน ตำบลนี้ จึงมีชื่อจริง และชื่อเล่น ว่า ศาลายา และ ศาลาทำศพ แต่ต่อมาเริ่มมีคนเรียกตำบลนี้ว่า ศาลาทำศพ กันจนติดปากจึงเห็นว่าไม่เป็นสิริมงคล จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "ศาลาธรรมสรพณ์" และยังใช้อยู่ในปัจจุบัน

ในอดีตคนเก่าแก่เล่าว่า "ศาลายา" เป็นที่เปลี่ยว ห่างไกลความเจริญมาก ยังไม่มีถนนหนทางตัดผ่าน ทำให้ชาวบ้านในละแวกนั้นเวลาป่วยไข้ไม่มีใครกล้าออกไปหาหมอ จึงมีผู้เมตตาสร้างศาลาให้หลังหนึ่ง และนำเอาสมุนไพรที่รักษาโรคได้มาแขวนไว้เป็นทาน ให้คนเอาไปใช้รักษา ใครต้องการยาอะไรก็จะไปเลือกหาเอาที่ศาลานั้น จึงเรียกที่แห่งนั้นว่า "ศาลายา" เรื่อยมา

ชื่อมีความหมาย หาใช่เพียงตั้งเล่นๆ !?! เหตุใดจึงเรียก "ต.ศาลายา" ทั้งที่แต่ก่อน คนเฒ่าคนแก่เรียก "ต.ศาลาทำศพ" !!!

นั่นคือส่วนหนึ่งของเรื่องเล่าที่คนเฒ่าคนแก่เล่าขานกันต่อๆมาให้คนรุ่นหลังได้ฟังและตื่นเต้น แต่แท้จริงแล้วได้มีการเขียนในหนังสือ "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" ที่มาอีกรูปแบบหนึ่งว่า

"พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองมหาสวัสดิ์ เริ่มต้นแต่แม่น้ำเจ้าพระยา ที่วัดชัยพฤกษมาลา จังหวัดนนทบุรี ไปทะลุแม่น้ำนครชัยศรี ยาว 684 เส้น สิ้นค่าใช้จ่าย 1,101 ชั่ง 10 ตำลึง เมื่อขุดคลองนี้แล้ว โปรดเกล้าฯให้สร้างศาลาที่พักอาศัย ริมคลอง หนึ่งหลังทุกๆ ร้อยเส้น ที่ศาลาหลังระหว่างกลางคลอง เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ผู้ดำเนินการขุด ให้จารึกตำรายารักษาโรคต่างๆ ใส่แผ่นกระดานติดไว้เป็นการกุศล คนภายหลังจึงเรียกศาลาหลังนั้น ว่า "ศาลายา" เป็นชื่อตำบลและสถานีรถไฟ มาจนถึงทุกวันนี้" 

ชื่อมีความหมาย หาใช่เพียงตั้งเล่นๆ !?! เหตุใดจึงเรียก "ต.ศาลายา" ทั้งที่แต่ก่อน คนเฒ่าคนแก่เรียก "ต.ศาลาทำศพ" !!!

อ้างอิงข้อมูลจาก - หนังสือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว