ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

“หลวงปู่ป่วน ถิรธัมโม” วัดช้างน้อย อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา

พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแก่กล้าในพลังจิตพุทธาคม ศิษย์ก้นกุฏิสืบสายธรรมจากหลวงปู่เลี่ยน วัดช้างน้อย

หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และหลวงพ่อปานวัดบางนมโค พระเกจิชื่อดังแห่งเมืองกรุงเก่าในอดีต

น้อมกราบบูชา “หลวงปู่ป่วน ถิรธัมโม” วัดช้างน้อย พระเกจิมากด้วยเมตตาแห่งกรุงเก่า ศิษย์หลวงพ่อจง และหลวงพ่อปาน เก่งกล้าในพุทธาคม!!

 

เมืองกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งธรรมที่มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั้งเก่าและใหม่จำนวนมาก สืบสานพุทธาคมจากรุ่น สู่รุ่น หลวงปู่ป่วน ถิรธัมโมเจ้าอาวาสวัดอนุกุลชราราราม(วัดช้างน้อย) อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธามาอย่างยาวนานของชุมชนบางไทรเนื่องจากศีลาจารวัตรที่งดงามบริบูรณ์ประกอบกับความเมตตากรุณาอันเป็นที่หนึ่งของบ้านบางไทร ใครต่อใครมาขออะไรก็แล้วแต่...ล้วนไม่มีใครที่ไม่ได้รับความเมตตากลับไป เมื่อกลับไปแล้วประสบความสำเร็จ....จะกลับมาเป็นศิษย์ก้นกุฏิกันทุกราย

 

 

นอกจากนี้ การให้พร การเป่ากระหม่อมก็ดี การทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ก็ดี ด้วยวาจาอันศักดิ์สิทธิ์จากจิตที่ตั้งมั่น เกือบทุกคนพูดกันหนาหูว่า

 “หลวงปู่ทำให้ล้วนโดดเด่นในด้านเมตตามหานิยม”

หลวงปู่ป่วน วัดอนุกุญชราราม(วัดช้างน้อย) มีนามเดิมว่า ป่วน จิตกระแสร์ เกิดวันเสาร์ เดือน พฤศจิกายน ปี 2465 ที่ ต.ช้างน้อย อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา บิดา-มารดา ชื่อ นายเติม และ นางเล็ก จิตกระแสร์ มีพี่น้องร่วมอุทร 6 คน จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 3 ที่โรงเรียนวัดสิงห์ ในสมัยนั้นการศึกษายังไม่ค่อยเจริญ พออ่านออกเขียนได้ เมื่อจบการศึกษาแล้วจึงออกมาช่วยบิดามารดาทำนา

น้อมกราบบูชา “หลวงปู่ป่วน ถิรธัมโม” วัดช้างน้อย พระเกจิมากด้วยเมตตาแห่งกรุงเก่า ศิษย์หลวงพ่อจง และหลวงพ่อปาน เก่งกล้าในพุทธาคม!!

อายุ 20 ปี เข้าอุปสมบทที่วัดช่างเหล็ก มีพระครูพิมพ์ วัดช่างเหล็ก จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อจง และหลวงพ่อนิล เป็นพระคู่สวด ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและวิทยาคมกับพระครูพิมพ์ วัดช่างเหล็ก เมื่อศึกษาจนหมดไส้หมดพุงแล้ว เพื่อให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริงหลวงพ่อพิมพ์ท่านได้แนะให้ไปหา หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เพื่อศึกษาเพิ่มเติมในด้านสมถะกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานขั้นสูง จนบังเกิดดวงตาเห็นธรรม บวชได้ 1 พรรษาจำต้องลาสิกขาบท เพราะเกิดความเป็นห่วงบิดามารดาที่แก่เฒ่าที่ต้องทำนา

น้อมกราบบูชา “หลวงปู่ป่วน ถิรธัมโม” วัดช้างน้อย พระเกจิมากด้วยเมตตาแห่งกรุงเก่า ศิษย์หลวงพ่อจง และหลวงพ่อปาน เก่งกล้าในพุทธาคม!!

หลวงพ่อจง ท่านได้ให้ตะกรุดไว้

ภายภาคหน้ากรุงเก่าจะมีที่ยึดเหนี่ยวรับตะกรุดไว้..วิชาไม่ต้องไปหาที่ไหนอยู่ที่วัดช้างน้อยหมดแล้ว

น้อมกราบบูชา “หลวงปู่ป่วน ถิรธัมโม” วัดช้างน้อย พระเกจิมากด้วยเมตตาแห่งกรุงเก่า ศิษย์หลวงพ่อจง และหลวงพ่อปาน เก่งกล้าในพุทธาคม!!

 

 .... หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

 “ดอกบัวจะเบ่งบานเต็มที่เมื่อแก่ตัว.. จากนั้นท่านมอบพระให้พร้อมกับมอบยันต์เกราะเพชร

 

หลังออกมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพทำนา จากนั้นจึงแต่งงานมีครอบครัว มีบุตร-ธิดารวมกัน 6 คน ช่วงที่ใช้ชีวิตฆราวาส หลวงปู่ท่านชอบเข้าวัดฟังธรรมไปช่วยงานวัดโน้นวัดนี้อยู่บ่อยๆ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก กับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ท่านจะอยู่เนืองๆ และที่ได้รู้จักสนิทสนมมีการแลกเปลี่ยนวิชาความรู้ก็มี หลวงพ่อฟ้อน วัดบ้านพาด ผู้สำเร็จวิชาพลังเสือโคร่ง หลวงพ่อเชย วัดบางคล้า พระผู้มีดวงจิตใสดั่งแก้วมณี หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว หลวงพ่อทิม วัดพระขาว พระเกจิชื่อดัง

 

หลังจากนั้น หลวงปู่ป่วน ท่านตั้งใจจะบวชตลอดชีวิต ได้กลับมาอุปสมบทอีกครั้ง เมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม 2535 ณ วัดอนุกุญชราราม(วัดช้างน้อย) ต.ช้างน้อย อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี พระครูวิจิตรนวกรรม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูโสภณบุญญาทร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ดำรง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา ถิรธัมโม

น้อมกราบบูชา “หลวงปู่ป่วน ถิรธัมโม” วัดช้างน้อย พระเกจิมากด้วยเมตตาแห่งกรุงเก่า ศิษย์หลวงพ่อจง และหลวงพ่อปาน เก่งกล้าในพุทธาคม!!

ภายหลังการอุปสมบท หลวงปู่ป่วนท่านตั้งใจพำนักอยู่วัดช้างน้อยเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ตลอดจนวิชาการต่างๆ ที่ตกทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น

ในสมัยก่อนหลวงปู่เปลี่ยน อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างน้อย ชาวบ้านตลึงเห็นหลวงปู่เปลี่ยน เจริญสมาธิบนก้านกล้วย ต้นสูงท่วมหัว ทำตะกรุดปีละดอกทำเสร็จโยนข้ามแม่น้ำน้อยตะกรุดวิ่งข้ามแม่น้ำกลับมาตกที่ท่าน้ำหน้าวัดช้างน้อย

หลวงปู่เปลี่ยนเป็นพระที่มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์โด่งดังไปทั่ว หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอกท่านยังมาเป็นศิษย์ขอจำวัดที่วัดช้างน้อย เพื่อขอศึกษาวิชาอาคมกับหลวงปู่เปลี่ยนอยู่หลายพรรษา

ด้วย ภูมิธรรมความรู้ อันเกิดจากความวิริยะพากเพียร ท่านได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยในด้านพระคันถธุระ วิปัสสนาธุระและวิชาอาคมที่ตกทอดลงมา โดยมองเห็นประโยชน์ในด้านการปฏิบัติ สามารถสอนชาวบ้านได้ การรักษาศีลอันมั่นคงไม่เคยตกหล่นแม้แต่ข้อเดียว และการให้ทานที่เป็นเลิศแก่สาธุชนที่มากราบไหว้ จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของญาติโยมทั้งหลาย ต่อมาเมื่อพระครูโสภณบุญญาทรสิ้นบุญ ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดช้างน้อยว่างลง

ชาวบ้านต่างเห็นพ้อง ต้องกันว่า พระภิกษุป่วน มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ชาวบ้านเรียกท่านว่า หลวงตาบ้าง หลวงพ่อบ้าง หลวงปู่บ้าง แล้วแต่จะเรียกท่าน ท่านมีอุปนิสัยไม่ค่อยพูดจา เวลามีใครมาสนทนาธรรมด้วย ท่านมักได้แต่ยิ้ม เออ...เออ แล้วจะอวยพรให้ ก่อนกลับทุกครั้ง

หลวงปู่ป่วน วัดช้างน้อย ได้รับการเรียกขานจากบรรดาศิษยานุศิษย์ที่ให้ความเคารพนับถือว่า

 "พระเกจิมากด้วยเมตตาแห่งแม่น้ำน้อย"

หลวงปู่ป่วน วัดช้างน้อย กับ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ท่านเคยไปวัดบ้านไร่งานมุทิตาจิตหลวงพ่อคูณ พระเกจิอาจารย์มามากมาย หลวงพ่อคูณ ท่านได้เดินมาจูงมือหลวงปู่ป่วน ไปฉันเพลด้วยกันเพียง 2 รูป ต่างได้สนทนาธรรมเสมือนเคยเจอกันมานานแล้ว

กล่าวสำหรับ วัดอนุกุญชรารามหรือวัดช้างน้อย เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ ต.ช้างน้อย อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ในอดีตวัดแห่งนี้มักมีฝูงช้างป่าน้อยใหญ่เข้ามาอาศัยใบบุญหลวงปู่เปลี่ยน ไม่มีใครกล้าจับ มีหลวงปู่เปลี่ยนองค์เดียวจับช้างได้ทั้งฝูง ทุกวันนี้ไม่มีช้างให้เห็นแล้ว นอกจากรูปปั้น ปูนปั้นที่เป็นตัวแทนให้เห็นเท่านั้น จึงเห็นเป็นวัดธรรมดาเหมือนวัดทั่วไป ภายในวัด มีพื้นที่บริเวณกว้างขวาง สำหรับให้ชาวบ้านได้จัดกิจกรรมต่างๆ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

 

หลวงปู่ป่วนได้สร้างพระเครื่องวัตถุมงคลไว้น้อยมาก อาทิ เบี้ยเศรษฐี ตะกรุดกันภัย ตะกรุดสามกษัตริย์ มีดหมอชาตรี ขณะนี้กำลังจะมีการจัดสร้างเหรียญรุ่นแรก เพื่อให้ไว้เป็นตัวแทนและเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ รายได้นำไปบูรณปฏิสังขรณ์ภายในวัดช้างน้อย


เบี้ยเศรษฐีขณะนี้  หากันอย่างมาก เพราะดังที่ประเทศสิงค์โปลูกศิษย์ชาวสิงค์โปนำไปบูชาติดตัวปรากฏว่าทำแจ๊คพ็อตแตก ได้เงินหลายล้านบาท  อีกคนโดนทำของใส่  เบี้ยหมุนติ้ว รู้สึกปวดแสบไปทั่วตัว จนชาไปถึงปลายเท้าแล้วหายไป หลวงปู่บอกโดนของต่ำ  ตอนนี้ไม่มีแล้ว  
มีดหมอชาตรีเมตตาแรงไม่แพ้กันลองเอาไปใช้ไม่กี่วัน  ปลดหนี้หมดสิน  มีดหมอชาตรีแน่ถึงขนาด  ได้ใจมาก หลายคนลืมตาอ้าปากได้  นักเลงรุ่นเหลน  ตีกันงานวัด  มีดไม่ได้กินเลือด   
ตะกรุดกันภัย สิบล้อชนเด็กกระเด็นตกถนน   คลานขึ้นมาจากถนนได้  ลุกปัดตูดสองสามที  วิ่งกลับบ้านเฉยเลย   นี่ของวัดช้างน้อยแรงขนาดไหน   รู้กันหมด  ลือกันทั่ว   ของดีไม่ต้องไปหาให้ไกล  รอจังหวะหลวงปู่ป่วน ท่านออกของเมื่อไหร่   รีบตะคลุบกันได้เลย   ไม่สร้างง่ายๆ  ไม่สร้างบ่อยๆ  นะ จะบอกให้
 เหรียญรุ่นแรก  หาไม่ได้แล้ว  เปิดบูชาที่วัด วันเดียว  หมดเกลี้ยง !   มีประสบการณ์ทั่วจังหวัดอยุธยา คนอยุธยาชอบใจมาก เพราะเรียกโชคลาภได้ตามจิตอธิฐาน  วัยรุ่นตีกันไม่ลง  ใจมันยอมกัน บ้างก็มองกันไม่เห็น   ข้าราชการในจังหวัดใช้แล้วเจ้านายรักเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง  อานุภาพของเหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ป่วน  ชาวบ้านเรียก  เหรียญไข่เล็ก  เล็กพริกขี้หนู    

น้อมกราบบูชา “หลวงปู่ป่วน ถิรธัมโม” วัดช้างน้อย พระเกจิมากด้วยเมตตาแห่งกรุงเก่า ศิษย์หลวงพ่อจง และหลวงพ่อปาน เก่งกล้าในพุทธาคม!!


 พระขรรค์เกราะเพชร  บ้านไหน บ้านนั้นต้องมี  อานุภาพเกราะเพชรคุ้มครองครอบจักรวาล ภูตผีปีศาจหนีหมดกลัวพระขรรค์เล่มนี้  คนร้อยเอ็ดเขาว่ามีปอบในหมู่บ้าน  ส่งไปรษณีย์มาบูชาพระขรรค์ไปใช้ เอาไปไว้บ้านปอบ  ปรากฏว่า ผู้หญิงในบ้านหลังนั้นหวีดร้องลั่นโหยหวน ก่อนจะหนีหายไปจากหมู่บ้าน
 พระขี่สิงห์เนื้อดินเผา  ( หลวงปู่ทำตามรอยเท้าหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค  )   ตั้งใจทำเพื่อให้ไว้เป็นตัวแทนและเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ   สมเด็จขี่สิงห์ หลวงปู่ป่วน ท่านไม่บอกอะไรมาก  ท่านบอกว่า   “  พระดินเผานี้นะฉันทำตามหลวงพ่อปานและหลวงพ่อจง  หากโยมหาพระของหลวงพ่อปานและ  หลวงพ่อจงไม่ได้  ก็ให้เอาองค์นี้ไปใช้แทนได้  ”    สมเด็จขี่สิงห์ต่อไปจะเป็นพระหายาก มีราคาแพง เหมือนพระทรงพาหนะสัตว์ต่างๆ  ของหลวงพ่อปาน  หลวงปู่ป่วนดำริว่าจะทำพระทรงสัตว์พาหนะต่างๆ ในโอกาสต่อไป   เพื่อเป็นตัวแทนของครูบาอาจารย์สืบไปภายหน้า

คติธรรมที่หลวงปู่ป่วนท่านมักจะมอบให้ญาติโยม ผิดน้อยบาปน้อย...ผิดมากบาปมาก..อยากมากผิดมาก..อยากน้อยผิดน้อย

 

 

ขอขอบคุณที่มา :   http://watchangnoy.blogspot.com โดยคุณ yutthaya kuntong

เพื่อเผยแผ่บารมีเป็นสังฆบูชา และเทิดทูนเกียรติคุณครูบาอาจารย์