รู้จริง...รู้แจ้ง...ทุกเรื่องราวแห่งปาฏิหาริย์ www.tnews.co.th

หลายวันมานี้มีข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับการบูรณะ "พระปรางค์วัดอรุณฯ" ที่หลังจากซ่อมแซมแล้วพบว่า "โฉมเก่า" กับ "โฉมใหม่" มีรายละเอียดหลายอย่างไม่เหมือนเดิม  สีสันที่เคยตระการตาขององค์พระปรางค์ได้แปรเปลี่ยนเป็นโทนสีขาว  กระเบื้องถ้วยชามอันล้ำค่าที่ประดับอยู่โดยรอบได้สูญหายไป (จนมีผู้สงสัยว่าอาจจะถูกลักลอบเอาไปทำพระเครื่องจำหน่าย รายได้แบ่งวัดครึ่ง-กรรมการครึ่ง)  ยักษ์ผู้น่าเกรงขามถูกแซ็วว่าเป็นยักษ์การ์ตูน  มนต์ขลังและมิติทางสถาปัตยกรรมที่เคยรุ่มรวยหลากหลายถูกลดทอนลงไปมากในการบูรณะครั้งใหม่นี้

กรณีอื้อฉาวเรื่องพระปรางค์วัดอรุณฯ นี้ ว่าไปแล้วก็ต้องถือว่าเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ "คน" (เช่น ผู้รับเหมา ช่างก่อสร้าง เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร เจ้าอาวาส กรรมการวัด) และ "สถานที่"  แต่เนื่องจากสถานที่ในที่นี้ดันเป็นพระปรางค์วัดอรุณฯ ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่เชื่อมโยงกับพุทธศาสนา ฉะนั้นจึงมีบุคคลอีกจำพวกหนึ่งเข้ามามีเอี่ยวด้วยตามหลักระบบนิเวศแบบภพภูมิ นั่นก็คือ "เทวดา"

 

ใครอย่าแตะ!! อุทาหรณ์ "พระปรางค์วัดอรุณฯ" ... สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ล้วนมี "เทวดา" สิงสถิตครอบครอง ... ใครฮุบเป็นเจ้าของระวังจะซวยไม่รู้ตัว!!

[พระปรางค์วัดอรุณฯ]

 

ใครอย่าแตะ!! อุทาหรณ์ "พระปรางค์วัดอรุณฯ" ... สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ล้วนมี "เทวดา" สิงสถิตครอบครอง ... ใครฮุบเป็นเจ้าของระวังจะซวยไม่รู้ตัว!!

[ก่อนบูรณะ]

 

ใครอย่าแตะ!! อุทาหรณ์ "พระปรางค์วัดอรุณฯ" ... สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ล้วนมี "เทวดา" สิงสถิตครอบครอง ... ใครฮุบเป็นเจ้าของระวังจะซวยไม่รู้ตัว!!

[หลังบูรณะ]

ระบบนิเวศแบบภพภูมิของพุทธศาสนานี้มีหลักอยู่ข้อหนึ่งว่า ภายในศาสนวัตถุหรือศาสนสถาน เช่น พระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ หรือพระปรางค์ มักจะมีเทพเทวดาทั้งหลายสิงสถิตและคอยปกปักพิทักษ์รักษาอยู่

หลักข้อนี้ถือว่าเป็นคติเก่าแก่ของพุทธศาสนาที่สืบเนื่องมาแต่โบร่ำโบราณแล้วและมีจารึกไว้ในคัมภีร์ดั้งเดิม นั่นคือ เวลามีการก่อสร้างสถานที่สำคัญต่าง ๆ หรือแม้แต่บ้านเรือนของชาวบ้าน พวกเทวดาก็จะไปจับจองครอบครองสถานที่นั้น ๆ  อย่างเช่นในสมัยพุทธกาล ที่บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็มีเทวดามาประจำอยู่ที่ซุ้มประตู (โดยไม่ต้องสร้างศาลพระภูมิให้)  หรือในตอนที่พระเจ้าอชาตศัตรูสร้างเมืองปาฏลีบุตร (ซึ่งกลายเป็นเมืองหลวงของพระเจ้าอโศกมหาราชในเวลาต่อมา) ก็มีเทวดามาครอบครองสถานที่ในจุดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ลดหลั่นกันไปตามศักดิ์ของเทวดาแต่ละองค์

ผ่านไปสักระยะหนึ่ง เมื่อพุทธศาสนาเจริญงอกงามแพร่หลายก็ยิ่งมีเทวดาหันมานับถือพุทธศาสนากันเป็นจำนวนมาก (รวมถึงชาวพุทธที่ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดาด้วย)  เวลามีการสร้างศาสนสถานหรือพระพุทธรูปที่สำคัญ ๆ ก็จะมีเทวดาชั้นผู้ใหญ่ไปสิงสถิตอยู่ในนั้น  โดยเฉพาะในสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองนั้น เทวดาจะชอบเป็นพิเศษเพราะถือเสมือนว่าได้เข้าเฝ้าใกล้ชิดพระพุทธเจ้าอยู่เสมอ แล้วก็ทำหน้าที่ดูแลรักษาไปด้วยในตัว  ตัวอย่างก็เช่นวัดพระแก้วที่อาจจะมีเทวดาคุ้มครองอารักขาอยู่ที่ฉัตรหรือในฐานพระก็ได้

และที่สำคัญ เทวดาที่สิงสถิตอยู่ภายในยังช่วยให้ศาสนสถานและพระพุทธรูปกลายเป็นของศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาอีกด้วย  ความหมายก็คือ ที่เราเข้าใจกันว่า วัดนั้นวัดนี้หรือพระพุทธรูปองค์นั้นองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์ บันดาลนั่นบันดาลนี่ให้เราได้นั้น ความจริงแล้วตัวการหนึ่งที่ทำให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นก็คือ "เทวดา" ที่สิงสถิตและพิทักษ์อยู่นั่นเอง  ยิ่งเป็นศาสนสถานสำคัญ ๆ หรือพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ๆ เทวดาที่สิงสถิตก็ย่อมเป็นเทวดาผู้ยิ่งใหญ่ มีฤทธิ์เดชมาก มีศักดานุภาพมาก พร้อมกันนั้นก็ยังเป็นเทวดาที่มีคุณธรรมสูงอีกด้วย คือมีเมตตากรุณา อยากช่วยคนให้พ้นทุกข์

 

ใครอย่าแตะ!! อุทาหรณ์ "พระปรางค์วัดอรุณฯ" ... สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ล้วนมี "เทวดา" สิงสถิตครอบครอง ... ใครฮุบเป็นเจ้าของระวังจะซวยไม่รู้ตัว!!

ใครอย่าแตะ!! อุทาหรณ์ "พระปรางค์วัดอรุณฯ" ... สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ล้วนมี "เทวดา" สิงสถิตครอบครอง ... ใครฮุบเป็นเจ้าของระวังจะซวยไม่รู้ตัว!!

ทั้งหมดนี้ก็คือคติของพุทธศาสนาที่บอกให้เรารู้ว่า ในสังสารวัฏที่มีภพภูมิทับซ้อนลดหลั่นกันไปหลากหลายมิตินี้ ข้อพิพาทที่เกิดจากการบูรณะพระปรางค์วัดอรุณฯ อาจจะไม่ได้มีแค่ "คน" กับ "ศาสนสถาน" ที่เป็นคู่ขัดแย้งกันก็ได้  ถ้าหากพระปรางค์วัดอรุณฯ มีเทวดาสิงสถิตอยู่จริง แน่นอนว่าท่านย่อมมีพันธะที่จะต้องตอบโต้ผู้ไม่หวังดีเพื่อปกป้องสมบัติของท่านและสมบัติของพระศาสนา

จริงอยู่...เทวดาอาจไม่อยู่ในสถานะที่จะต่อกรทางกฎหมายกับคนผิดได้  แต่อย่าลืมว่าท่านคือผู้เชี่ยวชาญในการจัดการกับคนประเภทนี้โดยมาในรูปแบบของเคราะห์ร้าย ความวิบัติฉิบหาย ความพินาศย่อยยับ ... ตัวอย่างก็เคยมีให้เห็นมานักต่อนักแล้ว!!

 

ใครอย่าแตะ!! อุทาหรณ์ "พระปรางค์วัดอรุณฯ" ... สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ล้วนมี "เทวดา" สิงสถิตครอบครอง ... ใครฮุบเป็นเจ้าของระวังจะซวยไม่รู้ตัว!!

-----------------------------------------------------------------------

 

อ้างอิง : หนังสือ "คติจตุคามรามเทพ" โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)