ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th/

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ประมาณว่าไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมืองของประเทศ เพราะเหตุว่าพ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ตกเป็นทาสอีกต่อ ๆ กันเรื่อยไป ทาสนั้นจะต้องหาเงินมาไถ่ตัวเอง มิฉะนั้นแล้วก็จะต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต เพราะตามกฎหมายถือว่ายังมีค่าตัวอยู่

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศ "พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย" เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ แก้พิกัดค่าตัวทาสใหม่ โดยให้ลดค่าตัวทาสลงตั้งแต่อายุ ๘ ขวบ จนกระทั่งหมดค่าตัวเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระ มีผลกับทาสที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ เป็นต้นมา และห้ามมิให้มีการซื้อขายบุคคลที่มีอายุมากกว่า ๒๐ ปีเป็นทาสอีก

เมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๔๘ ก็ทรงออก "พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. ๑๒๔" ให้ลูกทาสทุกคนเป็นไทเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๘ ส่วนทาสประเภทอื่นที่มิใช่ทาสในเรือนเบี้ย ทรงให้ลดค่าตัวเดือนละ ๔ บาท นับตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๔๘ เป็นต้นไป นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติป้องกันมิให้คนที่เป็นไทแล้วกลับไปเป็นทาสอีก และเมื่อทาสจะเปลี่ยนเจ้าเงินใหม่ ห้ามมิให้ขึ้นค่าตัว

วันนี้สยามปรับปรุงกฎหมายทาส !!! จุดเริ่มต้นของการเลิกทาส และ คดีสุดสะเทือนขวัญของชนชั้นเจ้านาย "อีอยู่" คดีประวัติศาสตร์ที่โหดเหี้ยม !!!

หมอสมิธ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไซแอมรีโพซิตอรี เขียนบทความตำหนิรัฐบาลสยามอย่างรุนแรง ด้วยเห็นว่า "ในบรรดาประเทศเจริญทั้งหลาย พระเจ้าแผ่นดินก็ดี พวกขุนนางก็ดี ไม่มีสิทธิ์เกณฑ์แรงราษฎรผู้เสียภาษีอากรโดยไม่ให้อะไรตอบแทน" เพราะไพร่รับราชการโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน ซ้ำยังต้องออกค่าใช้จ่ายทุกอย่างในระหว่างการรับราชการนั้นเองอีกด้วยต่างหาก เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพวก "คนไทยหนุ่ม" ที่อยากให้เลิกขนบไพร่ บางส่วนแสดงความคัดค้านที่รัฐบาลสักเลกในฤดูเก็บเกี่ยวข้าว เพราะทำให้การทำนาได้รับความเสียหาย

วันนี้สยามปรับปรุงกฎหมายทาส !!! จุดเริ่มต้นของการเลิกทาส และ คดีสุดสะเทือนขวัญของชนชั้นเจ้านาย "อีอยู่" คดีประวัติศาสตร์ที่โหดเหี้ยม !!!

ขนบไพร่นี้บังคับให้ราษฎรอายุตั้งแต่ ๑๕-๑๖ ปี จนถึง ๗๐ ปี ต้องทำงานรับใช้หรือส่งส่วยให้แก่ชนชั้นปกครอง แบ่งออกเป็นไพร่หลวง ไพร่สมและไพร่ส่วย ไพร่มีกำหนดรับราชการเดือนเว้นเดือน ในสมัยอยุธยา ปีละ ๖ เดือน ลดลงมาเหลือปีละ ๔ เดือนในสมัยรัชกาลที่ ๑ และเหลือ ๓ เดือนในรัชกาลที่ ๒ หากไม่อยากรับราชการก็ต้องจ่าย "ค่าราชการ" เดือนละ ๖ บาท

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กราบทูลเสนอความคิดเห็นว่า ควรให้ราษฎรเสียค่าราชการปีละ ๖ บาทโดยเท่ากัน และให้งดการเกณฑ์แรงชั่วคราว ใช้วิธีเกณฑ์จ้างแทน

วันนี้สยามปรับปรุงกฎหมายทาส !!! จุดเริ่มต้นของการเลิกทาส และ คดีสุดสะเทือนขวัญของชนชั้นเจ้านาย "อีอยู่" คดีประวัติศาสตร์ที่โหดเหี้ยม !!!

"อีอยู่" คดีประวัติศาสตร์ !!

และคดีสุดสะเทือนขวัญที่มีหลักฐานบันทึกตรงกันทั้งไทยและต่างชาติ ชาวต่างชาติคนนั้นชื่อ นาย Carl Bock นักธรรมชาติวิทยาชาวนอรเวย์  เดินทางเข้ามาสำรวจดินแดนไทยและเผอิญได้ไปดูการประหารอีอยู่ด้วย ก็เลยเขียนไว้อย่างละเอียดว่า 

“ฆ่าฉันเสียเร็วๆ ฆ่าฉันเสียเร็วๆ” เสียงตะโกนจากนักโทษประหารซึ่งเป็นหญิง เพชฌฆาตหกคนยังคงร่ายรำดาบ ถอยหน้าถอยหลังอยู่เบื้องหลังนักโทษอีกครู่ ก่อนที่เพชฌฆาตมือหนึ่งจะวิ่งเข้าฟันคออย่างแรง จนศีรษะขาด เลือดพุ่งกระฉูด ผู้คนที่มุงดูการประหารจึงค่อยเริ่ม แยกย้ายกันกลับไป เสียงพึมพำดังจับความได้ว่า ต่างก็พอใจที่ผู้ตายได้รับกรรมที่กระทำไว้แล้ว แม้แต่ในหมู่ญาติพี่น้องของหล่อนเอง

เพชฌฆาตยังคงทำงานต่อไปด้วยการตัดข้อเท้าซึ่งมีโซ่ตรวนพันธนาการไว้ และตัดศพออกเป็นชิ้น แล่เนื้อออกจากกระดูก ทิ้งตับไตไส้พุงไว้เป็นทานแก่แร้งกา ส่วนศีรษะเอาไปเสียบไม้ไผ่ปักประจานไว้ให้มองเห็นได้แต่ไกล 

หญิงที่ถูกประหารนี้ไม่ใช่หญิงชาวบ้านสามัญธรรมดา  แม้ว่าเมื่อถูกประหาร ทางการเรียกว่า "อีอยู่" แต่ว่าก่อนหน้านี้แค่เดือนเศษ อีอยู่คือคุณนายอยู่ ภรรยาของพระบรรฦาสิงหนาท แต่คุณนายอยู่ไม่รักดี ลักลอบเป็นชู้กับทาสในเรือนชื่อ ไฮ้ มั่วสุมกันอยู่ถึงสองปีเศษโดยตัวสามีไม่รู้เรื่อง ซึ่งก็คงยังไม่เป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา ถ้าไม่เป็นเพราะอ้ายไฮ้เอง เกิดไปลักลอบได้เสียกับนางทาสอีกคนหนึ่งชื่อ เกลี้ยง หลังจากทั้งคู่สมสู่กันได้สามเดือน ความเรื่องของคุณนายอยู่เป็นชู้กับอ้ายไฮ้ก็เกิดแตกขึ้นมา  

วันนั้นพระบรรฦาฯ กลับบ้านเร็วกว่าปกติจึงจับได้คาเตียงว่าเมียเป็นชู้กับทาส ก็เลยทำโทษอ้ายไฮ้ด้วยการโบย ๕ ที แล้วล่ามโซ่ไว้ที่ครัวไฟ แต่พระบรรฦาฯ อาจจะกลัวเมียหรืออะไรสักอย่างจึงไม่ได้ลงโทษภรรยา เห็นได้จากคุณนายยังกินเหล้าเมามายหลังจากนั้นและอาละวาดเล่นงานทาสอื่นๆได้อย่างหนัก แสดงว่าคงไม่ได้ถูกสามีซ้อมแต่อย่างใด  

วันนี้สยามปรับปรุงกฎหมายทาส !!! จุดเริ่มต้นของการเลิกทาส และ คดีสุดสะเทือนขวัญของชนชั้นเจ้านาย "อีอยู่" คดีประวัติศาสตร์ที่โหดเหี้ยม !!!

บ้านคุณนายอยู่นี่เละเทะกันทั้งบ่าวทั้งนาย เพราะอ้ายไฮ้ก็เป็นชู้กับอีเกลี้ยง คุณนายอยู่ก็หึงอีเกลี้ยงจึงทารุณร่างกายอีเกลี้ยงด้วยวิธีวิตถารซาดิสต์ต่างๆ เกินกว่าจะนึกว่าผู้หญิงทำกันได้ จนในที่สุดอีเกลี้ยงสุดจะทนกับความเจ็บปวดจากการทรมาน จึงขาดใจตาย

เรื่องนี้ พระบรรฦาฯ ทราบเพียงว่าอีเกลี้ยงตายเพราะเป็นไข้ประจุบันเท่านั้น จึงให้อำแดงอยู่บัญชาการทาสอื่นห่อศพให้เรียบร้อย แล้วหามไปให้สัปเหร่อฝัง ตอนแรกทาสที่นำศพมาก็ไม่ยอมแก้ผ้าห่อศพ สัปเหร่อเลยไม่ยอมฝัง ในที่สุดพวกทาสก็ต้องยอมให้สัปเหร่อ และนิติเวชเบื้องต้น ดูศพก่อน แต่พอได้ดูศพแล้ว จรรยาบรรณสัปเหร่อบอกว่าไม่ยอมให้ฝัง

ปรากฏว่ามีชาวบ้านคนหนึ่งชื่อหนูไปแจ้งความ จึงเกิดการชันสูตรศพขึ้นก็พบว่าอีเกลี้ยงถูกทารุณร่างกายบอบช้ำทั้งตัว กระดูกหัก เป็นแผลสาหัส
“ศพอีเกลี้ยงนั้นกระหม่อมยุบกว้าง ๒ นิ้ว หน้าบวมช้ำดำเขียว หูข้างซ้ายช้ำบวมมีเลือดไหลออกมาจากหู ยังเป็นคราบติดอยู่ ต้นแขนริมศอกขวา บวมช้ำ และกระดูกหัก ต้นแขนซ้ายบวมช้ำกระดูกหัก อกบวมช้ำ โตกลมหนึ่งนิ้ว สะโพกข้างขวาบวมช้ำดำเขียวเต็มทั้งสะโพก นอกจากนั้นมีแผลที่เกิดจากการตีด้วยไม้รวมเก้าแผล ” 

หลังการสอบสวน คุณนายอยู่โดนมาตรการยึดทรัพย์ทั้งหมด  และมีพระบรมราชโองการให้ประหาร  แต่ก่อนประหารต้องลงโทษเตือนวิญญาณให้จดจำไปถึงชาติหน้า ด้วยการเฆี่ยน ๙๐ ทีเสีย ก่อน จึงจะประหาร 

วันที่ประหารอีอยู่คือ วันเสาร์ เดือน๑๑ แรม ๗ ค่ำ ตรงกับ วันเสาร์ที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๔๒๔

ถ้าย้อนกลับไปอ่านที่ฝรั่งเล่าถ่ายทอดรายละเอียดไว้ จะเห็นได้ว่าไม่มีตะแลงแกง ไม่มีการเผานักโทษตรงไหนเลย มีแต่ตัดหัวอย่างที่ทำกันมาในบรรดานักโทษ”

วันนี้สยามปรับปรุงกฎหมายทาส !!! จุดเริ่มต้นของการเลิกทาส และ คดีสุดสะเทือนขวัญของชนชั้นเจ้านาย "อีอยู่" คดีประวัติศาสตร์ที่โหดเหี้ยม !!!

อ้างอิงข้อมูลจาก - th.wikipedia.org , pantip.com