ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th/

ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๗-๒๔๑๘ ทรงริเริ่มปฏิรูปปรับปรุงการปกครองประเทศให้ทันสมัย โดยการดึงอำนาจเข้าศูนย์กลาง ทรงตั้งระบบหอรัษฎากรพิพัฒน์ (ปัจจุบันคือ กระทรวงการคลัง) เพื่อรวมรวมการเก็บภาษีมาอยู่ที่เดียวกัน ซึ่งกระทบกระเทือนต่อการเก็บรายได้ สร้างความไม่พอใจแก่เจ้านายและขุนนางเก่าแก่เป็นอันมาก โดยเฉพาะกรมพระราชวังบวรสถานมงคลซึ่งเดิมมีรายได้แผ่นดินถึง ๑ ใน ๓ มีทหารในสังกัดถึง ๒,๐๐๐ นาย และมีข้าราชบริพารเป็นจำนวนมาก และเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ มีการสะสมอาวุธ มีความขัดแย้งระหว่างวังหลวงกับวังหน้า ทั้งยังทรงระแวงว่าจะถูกปลดออกจากตำแหน่งเนื่องจากไม่ได้รับการทรงแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์โดยตรง จนเกือบจะเกิดสงครามกลางเมือง ซึ่งเรียกเหตุการณ์ขัดแย้งนี้ว่า วิกฤตการณ์วังหน้า

ประวัติศาสตร์ ที่ไม่มีในชั้นเรียน !! "วิกฤตการณ์วังหน้า" !! การต่อสู้ ขัดแย้งภายในประเทศ ระหว่าง "วังหลวง" กับ "วังหน้า" !!

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทรงมีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี และเข้าไปคบค้าสนิทสนมกับนายโทมัส น็อกซ์ กงสุลอังกฤษ ประกอบกับในสมัยนั้น อังกฤษคุกคามสยาม ถึงขั้นเรียกเรือรบมาปิดปากแม่น้ำ ทางวังหลวงจึงหวาดระแวง เชื่อว่ามีแผนการจะแบ่งดินแดนประเทศสยามออกเป็นสามส่วนคือ ส่วนที่หนึ่ง คือทางเหนือถึงเชียงใหม่ (หรืออาจจะนับให้ตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยาไปทางฝั่งตะวันออกจนถึงดินแดนทางตะวันออกของสยาม)ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปกครอง ส่วนที่สอง คือพื้นที่ระหว่างตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองไปจนถึงทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยานั้น ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ปกครอง และส่วนที่สาม คือทางใต้ โดยถือเอาตั้งแต่จากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลองลงไปนั้น ให้กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทรงปกครอง นัยว่าเมื่อแบ่งสยามให้เล็กลงแล้วจะได้อ่อนแอ ง่ายต่อการเอาเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษและฝรั่งเศสได้เลยทีเดียว

ประวัติศาสตร์ ที่ไม่มีในชั้นเรียน !! "วิกฤตการณ์วังหน้า" !! การต่อสู้ ขัดแย้งภายในประเทศ ระหว่าง "วังหลวง" กับ "วังหน้า" !!

ความบาดหมางระหว่างพระบรมมหาราชวังและวังหน้า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญจึงทรงระดมกำลังเพิ่มในวังหน้า กระทั่งปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ เกิดอัคคีภัยใกล้กับโรงเก็บดินปืนและโรงก๊าซในวังหลวง ทางวังหน้าจะนำทหารพร้อมอาวุธไปช่วยดับเพลิง แต่วังหลวงไม่อนุญาต กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทรงระแวงว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงกำจัดหรือลิดรอนสิทธิอำนาจของพระองค์ จึงทรงหนีไปอยู่สถานกงสุลอังกฤษ และเรียกร้องให้ข้าหลวงอังกฤษมาช่วยไกล่เกลี่ย ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเชิญสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ไกล่เกลี่ยและทรงบอกไม่ให้พวกอังกฤษมาแทรกแซง "วิกฤตการณ์วังหน้า" ยุติลงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๑๘

ประวัติศาสตร์ ที่ไม่มีในชั้นเรียน !! "วิกฤตการณ์วังหน้า" !! การต่อสู้ ขัดแย้งภายในประเทศ ระหว่าง "วังหลวง" กับ "วังหน้า" !!

-ส่วนผู้ที่อยู่เบื้องหลัง "วิกฤตการณ์วังหน้า" ที่น้อยคนจะรู้ก็คือ-

นาย "โทมัส ยอร์ช น็อกซ์" นั้น เป็นกงสุลใหญ่ชาวอังกฤษประจำสยามในสมัยรัชกาลที่ ๕ เดิมเป็น "ทหารอังกฤษ" ยศร้อยเอกประจำประเทศอินเดีย กล่าวกันว่าพอเล่นพนันแข่งม้าจนหมดตัว จึงลาออกจากตำแหน่งตามร้อยเอกอิปเป มาทำงานที่ "สยาม" ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยร้อยเอกอิปเปได้เป็น "ครูทหารวังหลวง" ส่วนนายน็อกซ์ พระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้เป็น "ครูวังหน้า" เป็นผู้ฝึกทหารอย่างยุโรป และยังได้เข้ากองทัพกรมหลวงวงศาธิราชสนิทไปตีเมืองเชียงตุง

ประวัติศาสตร์ ที่ไม่มีในชั้นเรียน !! "วิกฤตการณ์วังหน้า" !! การต่อสู้ ขัดแย้งภายในประเทศ ระหว่าง "วังหลวง" กับ "วังหน้า" !!

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทานผู้หญิงเชื้อสายทวายวังหน้า ชื่อ "ปราง" ให้เป็นภรรยา มีลูกด้วยกันสามคน ต่อมาเมื่อรัฐบาล "อังกฤษ" ตั้ง "กงสุลในกรุงเทพ" และด้วยความรู้การ เมืองและภาษาไทย จึงทำงานเป็นผู้ช่วยกงสุล แล้วได้เลื่อนตำแหน่งจนได้เป็น "กงสุลเยเนอราล" มีบรรดาศักดิ์เป็นเซอร์ อีกทั้งยังสนิทและคุ้นเคยกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ และได้เป็นกงสุลใหญ่อังกฤษกับอภิรัฐมนตรีในสมัย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ( ตระกูลบุนนาค ) เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

ประวัติศาสตร์ ที่ไม่มีในชั้นเรียน !! "วิกฤตการณ์วังหน้า" !! การต่อสู้ ขัดแย้งภายในประเทศ ระหว่าง "วังหลวง" กับ "วังหน้า" !!

"โทมัส น็อกซ์" สมรสกับ "ปราง" หญิงเชื้อสายทวายที่ได้รับพระราชทานจากวังหน้า มีบุตรด้วยกัน ๓ คน ได้แก่ แฟนนี่ น็อกซ์ หรือ แฟนนี ปรีชากลการ, แคโรไลน์ อีซาเบลลา น็อกซ์ หรือ ดวงแข, โทมัส น็อกซ์

โดย ต่อมาบุตรสาวคนโตลูกครึ่ง "แฟนนี่ น็อกซ์" แต่งงานกับ "พระปรีชากลการ" (สำอาง อมาตยกุล) จนมีเรื่องราวใหญ่โตมากมาย เพราะว่า พระยาปรีชากลการนั้นไปทำเรื่องโหดร้ายเอาไว้

"พระปรีชากลการ" ขุนนางชาวไทย เขาถูกกล่าวหาว่า "ฆ่าคนตายและทารุณกรรม แก่คนไทยที่เมืองกบินทร์บุรี" แต่ "โทมัส น็อกซ์" ผู้เป็นพ่อตา ซึ่งเป็น "กงสุลอังกฤษ" ประจำประเทศไทย จึงได้ข่มขู่กับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และสมุหพระกลาโหม ว่าจะนำเรือรบอังกฤษมาข่มขู่ให้ปล่อยลูกเขยของตนแต่กลับไม่สำเร็จ และปิดท้ายด้วยการลงโทษประหารพระปรีชากลการ พร้อมถูกริบราชบาตร นายน็อกซ์ถูกทางการอังกฤษเรียกตัวกลับไป นางแฟนนี่ ลูกสาวต้องหนีออกนอกประเทศและไม่มีข่าวหลังจากนั้นอีกเลย

โทมัส น็อกซ์ เป็นหนึ่งในผู้ร่าง และลงนามใน "สัญญาเบาริ่ง" ที่อังกฤษบีบสยาม ทางสยามรายได้ภาษีเข้าประเทศน้อยลง ขุนนางอำมาตย์และกระฎุมพีรายได้มากมายขึ้น ฝรั่งต่างชาติก็รายได้มากขึ้นเพราะไม่ต้องจ่ายภาษีให้สยาม ทำให้โครงสร้างของระบบศักดนามีการเปลี่ยนแปลงไป เจ้านายมีอำนาจและรายได้น้อยลง เพราะสิ่งเหล่านั้นตกลงไปสู่มือของ ขุนนางอำมาตย์กระฎุมพีมากขึ้น และหลายคนก็เหลิงในอำนาจ พยายามแข่งอำนาจกับทางในวัง จนเกิดเป็นกรณีอื้อฉาวอย่าง "วิกฤตการณ์วังหน้า" 

ประวัติศาสตร์ ที่ไม่มีในชั้นเรียน !! "วิกฤตการณ์วังหน้า" !! การต่อสู้ ขัดแย้งภายในประเทศ ระหว่าง "วังหลวง" กับ "วังหน้า" !!

อ้างอิงข้อมูลจาก - th.wikipedia.org , หนังสือ วิกฤตการณ์วังหน้า