ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th/

เราเชื่อว่าทุกคนคงยังจำความโกลาหลตอนน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ ตอนปี 2554 ได้แม่น เพราะเดือดร้อนส่งผลกระทบต่อสังคมเป็นวงกว้าง ส่วนผลกระทบทางใจนั้นยิ่งหนักกว่าเพราะเครียดกันถ้วนหน้า วันๆก็เฝ้าแต่ลุ้นด้วยความหงุดหงิดใจว่าระดับน้ำจะลดเมื่อไหร่ ความเครียดนี้เป็นสิ่งที่ในหลวง ร.9 ทรงเข้าใจเป็นอย่างดีจึงทรงให้ความสำคัญกับเรื่องจิตวิทยามากและทรงพยายามหาทางแก้ไขปัญหานี้ด้วยการหาวิธีลดระดับน้ำในใจของประชาชนที่เดือดร้อนให้ได้ก่อน ถึงแม้ว่าบางครั้งระดับน้ำจริงๆ จะยังไม่ลดมากก็ตาม

กำลังใจพระราชทาน!! ในหลวง ร.9 "แก้ปัญหาน้ำท่วมด้วยจิตวิทยา" ตรัส "ลดระดับน้ำในใจคนเดือดร้อนให้ได้ก่อน"...เปี่ยมทั้งพระเมตตาและอัจฉริยภาพ!!!

อย่างครั้งหนึ่งเมื่อปี 2523 แถวๆ ซอยศูนย์วิจัยน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน เนื่องจากขณะนั้นซอยศูนย์วิจัยทำหน้าที่เป็นเหมือนเขื่อนกั้นน้ำไว้ไม่ให้เข้ามายังตัวเมือง ในหลวงจึงมีรับสั่งให้ผู้อำนวยการสำนักระบายน้ำ กทม. ระบายน้ำส่วนหนึ่งของซอยศูนย์วิจัยเข้ามาในตัวเมืองบ้าง เพราะทรงเป็นห่วงมากถึงความรู้สึกของประชาชนซึ่งต้องอดทนกับน้ำท่วมว่านานๆ จะทนไม่ไหว ถ้าน้ำขึ้นอีกเพียง 5 ซม. ก็เชื่อได้เลยว่าอาจจะลุกขึ้นมาพังเขื่อนก็ได้ แต่ถ้าชาวบ้านเห็นว่าน้ำลดลงแล้วแม้จะเพียงนิดเดียว ก็จะทำให้มีกำลังใจขึ้น เป็นการลดความเครียดลงได้

กำลังใจพระราชทาน!! ในหลวง ร.9 "แก้ปัญหาน้ำท่วมด้วยจิตวิทยา" ตรัส "ลดระดับน้ำในใจคนเดือดร้อนให้ได้ก่อน"...เปี่ยมทั้งพระเมตตาและอัจฉริยภาพ!!!

อีกเรื่องหนึ่งคือ เหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปี 2538 เวลานั้น กทม.ได้นำกระสอบทรายมากั้นน้ำบริเวณท่าเตียน แต่ปรากฏว่ากระสอบพัง น้ำเข้ามาได้ จนกระทั่งท่วมมาถึงสนามหลวง ประชาชนก็เริ่มรื้อกระสอบทรายด้วยความตกใจ ตอนนั้นเองที่ปลัดกทม. ได้รับสายด่วนจากรองสมุหราชองครักษ์ว่า ในหลวงรับสั่งให้แถลงข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับทราบทันที เพราะทรงติดตามสถานการณ์โดยตลอด จึงทราบว่าในจังหวะนั้นควรทำอย่างไร โดยทางสำนักพระราชวังได้ประสานงานให้ช่อง 7 เป็นแม่ข่ายไว้ให้ด้วย ปลัดกทม.จึงมีหน้าที่เพียงนึกคำพูดว่าจะอธิบายสถานการณ์อย่างไรดี ซึ่งพอออกอากาศเสร็จ ความแตกตื่นของผู้คนก็ลดลง และไม่มีการรื้อกระสอบทรายอีก

กำลังใจพระราชทาน!! ในหลวง ร.9 "แก้ปัญหาน้ำท่วมด้วยจิตวิทยา" ตรัส "ลดระดับน้ำในใจคนเดือดร้อนให้ได้ก่อน"...เปี่ยมทั้งพระเมตตาและอัจฉริยภาพ!!!

ทั้ง 2 เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะการทำงานอีกประการหนึ่งของในหลวงได้อย่างชัดเจนเลยว่าทรงมองว่าเวลามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น หากการแก้ปัญหาให้หายขาดในครั้งเดียวยังเป็นไม่ได้ ก็ต้องดูแลขวัญกำลังใจของผู้ที่ประสบปัญหาไปก่อนเพื่อช่วยผ่อนความหนักหนาของปัญหาในใจพวกเขาให้ลดน้อยลงอย่างละมุนละม่อม

กำลังใจพระราชทาน!! ในหลวง ร.9 "แก้ปัญหาน้ำท่วมด้วยจิตวิทยา" ตรัส "ลดระดับน้ำในใจคนเดือดร้อนให้ได้ก่อน"...เปี่ยมทั้งพระเมตตาและอัจฉริยภาพ!!!

อ้างอิงข้อมูลจาก - สานต่อที่พ่อทำ