ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมาย ได้ที่ http://www.tnews.co.th

พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) จ.พิษณุโลก

คาถาบูชาพระพุทธชินราช

กาเยนะ วาจายะวะ เจตะสาวา ชินะราชาพุทธรูปัง สิริธัมมะติปิ

ตะกะราเชนะ กะตัง นะมามีหัง พุทธธังอาราชธนานัง ธัมมังอาราชธนานัง

สังฆังอาราชธนานัง ชินะราชาพุทธธะรูปัง

อาราชธนานัง พุทธธังลาภมานะชาลีติ ธัมมังลาภมานะชาลีติ สังฆังลาภมานะชาลีติ

อุอะมะนะโมพุทธธายะ พามานะอุกะ สะนะถุประสิทธิเม

 

คาถาบูชาพระพุทธชินราช บทนี้เขียนไว้โบสถ์หลวงพ่อพระพุทธชินราช

อิเมหิ นา นา สักกาเลหิ อภิปูชิเตหิ ทีกายุโกโหมิ

อะโลโคสุคิโต สิทธิกัจจัง สิทธิกรรมมังปิยัง มะมะ

ประสิทธิลาโภชะโยโหตุ สัพพัทธา พุทธะชินะราชา

อภิปะเลตุมัง นะโมพุทธายะ

มอบความเป็นสิริมงคล..พระคาถาบูชา พระพุทธชินราช พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง หมั่นภาวนาอย่างสม่ำเสมอ ชีวิตไม่มีตกอับ..

ประวัติพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ประวัติพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปสำคัญของคนไทย พระพุทธชินราช องค์ที่ประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลกนั้นเป็นที่ รู้กันว่ามีความสำคัญมากองค์หนึ่ง และถูกยกย่องว่า “งาม” ที่สุดในบรรดาพระพุทธรูปทั้งหลายในเมืองไทย พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารใหญ่ด้านทิศตะวันตกของ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งเป็นด้านหน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พระพุทธชินราช มีหน้าตักกว้าง ๕ ศอก คืบ ๕ นิ้ว ผันพระพักตร์ไปทางแม่น้ำ

ประวัติการสร้างพระพุทธชินราช ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในปีใด แต่ก็มีการสันนิษฐานโดยอ้างอิงตามพงศาวดารเหนือคาดว่า ตำนานพระพุทธชินราช น่าจะสร้างพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ในรัชสมัย พระมหาธรรมราชาที่ ๑(ลิไท) จากนั้นจึงมีการลงรักปิดทององค์พระเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้มีการบูรณะ ลงรักปิดทองอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๕ และมีการบูรณะครั้งล่าสุดในรัชกาลที่ ๙ พระพุทธชินราช นี้เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย หมวดพระพุทธชินราช ลักษณะขององค์พระเส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขนงโก่ง พระเนตรประดุจตากวาง พระนาสิกโด่ง ชายผ้าสังฆาฏิแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ทั้ง๔ยาวเสมอกัน อยู่ในลักษณะปางมารวิชัย ด้านซ้ายและขวาขององค์พระ มียักษ์ ๒ ตน คอยปกปักรักษาองค์พระอยู่ อีกทั้งยังมีพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกอยู่ด้วย นอกจากนี้แล้วยังมีซุ้มเรือนแก้ว ประวัติพระพุทธชินราช ที่คาดว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยาลักษณะเป็นรูปตัวเหรา ถือเป็นศิลปะที่สวยงามมากอย่าหนึ่ง พระพุทธชินราช ประดิษฐานในวิหารลักษณะเก้าห้อง ซึ่งมีการบูรณะปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน ทำให้องค์พระสวยงามบริบูรณ์อย่างในปัจจุบัน และในประวัติศาสตร์ยังพบว่ากษัตริย์ในทุกๆสมัยของไทยให้ความเคารพและศรัทธาต่อองค์ พระพุทธชินราช มาอย่างต่อเนื่องทุกๆพระองค์

มอบความเป็นสิริมงคล..พระคาถาบูชา พระพุทธชินราช พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง หมั่นภาวนาอย่างสม่ำเสมอ ชีวิตไม่มีตกอับ..

พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยทรงเคารพนับถือสักการะบูชา มาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังมีรายพระนามที่ปรากฎในพงศาวดาร คือ สมเด็จพระราเมศวร สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร สมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา พระเจ้าบรมโกฐ พระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี องค์ต่อ ๆ มาเกือบทุกพระองค์...

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสรรเสริญไว้ว่า พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศาสดา ทั้ง ๓ พระองค์ เป็นพระพุทธปฏิมากรดีล้ำเลิศ ประกอบไปด้วยพุทธลักษณะอันประเสริฐ มีสิริอันเทพยดาหากอภิบาลรักษา ย่อมเป็นที่สักการะบูชานับถือแต่โบราณ

มอบความเป็นสิริมงคล..พระคาถาบูชา พระพุทธชินราช พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง หมั่นภาวนาอย่างสม่ำเสมอ ชีวิตไม่มีตกอับ..

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

 ธรรมะไทย
 หอมรดกไทย

http://www.tumsrivichai.com/

เพื่อเผยแผ่กิตติคุณเป็นพุทธบูชา