ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

หลวงปู่ ของสมเด็จพระเทพฯ!  สายสัมพันธ์ใน สมเด็จญาณฯ กับราชวงศ์จักรี ธรรมราชาผู้ทรงเป็นพระอาจารย์ในหลวง ร.๙ และสมเด็จพระเทพฯ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเรียก เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ว่าหลวงปู่

..อันแสดงถึงความเคารพนับถือ และความสนิทใกล้ชิดที่ทรงมีต่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทั้งทรงห่วงใย พระพลานามัยของหลวงปู่ดังจะเห็นได้ว่า บางครั้งมีผู้มาเข้าเฝ้า จำนวนมากจนทำให้เลยเวลาเสวย จึงทรงมีลายพระหัตถ์เขียนป้าย บอกให้ผู้เข้าเฝ้ารอก่อนเมื่อถึงเวลาเสวย ป้ายนี้ปรากฏลายพระหัตถ์ว่าเมื่อถวายภัตตาหารแล้ว ขอเชิญท่าน สาธุชนทั้งหลายคอยข้างล่างจนฉันเสร็จ ระหว่าง .๐๐น. - .๓๐ . (พระหัตถเลขา) สิรินธร

หลวงปู่ ของสมเด็จพระเทพฯ!  สายสัมพันธ์ใน สมเด็จญาณฯ กับราชวงศ์จักรี ธรรมราชาผู้ทรงเป็นพระอาจารย์ในหลวง ร.๙ และสมเด็จพระเทพฯ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงแสดงพระองค์เสมือนเป็น ศิษย์พระองค์หนึ่งของ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เช่น เสด็จฯ มาทรงถวายสักการะและถวายภัตตาหารแด่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในวันคล้ายวันประสูติ ตุลาคม มิได้ขาด พร้อมทั้งทรงปล่อยนกปล่อยปลาที่ คูหลังตำหนักคอยท่า ปราโมช บ่อยครั้ง บางครั้งก็เสด็จฯ มาทรงสนทนาธรรม เป็นการส่วนพระองค์ ตำหนักคอยท่า ปราโมช

เมื่อครั้งทรงศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ได้ทรง ปรึกษาเรียนรู้ในทางวิชาการกับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ อยู่เสมอ ดังที่ได้ทรงไว้ในกิตติกรรมประกาศ ในวิทยานิพนธ์เรื่อง ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท อันเป็นพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า ".... ขอกราบนมัสการ สมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งได้กรุณาชี้แจงและท้วงติงข้อผิดพลาดบางส่วนในวิทยานิพนธ์นี้..."

และในพระราชนิพนธ์คำนำ ในการพิมพ์วิทยานิพนธ์ พระราชนิพนธ์เรื่อง ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาทเผยแพร่โดยมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ ครั้งแรก เมื่อ ..๒๕๒๔

หลวงปู่ ของสมเด็จพระเทพฯ!  สายสัมพันธ์ใน สมเด็จญาณฯ กับราชวงศ์จักรี ธรรมราชาผู้ทรงเป็นพระอาจารย์ในหลวง ร.๙ และสมเด็จพระเทพฯ

หลวงปู่ ของสมเด็จพระเทพฯ!  สายสัมพันธ์ใน สมเด็จญาณฯ กับราชวงศ์จักรี ธรรมราชาผู้ทรงเป็นพระอาจารย์ในหลวง ร.๙ และสมเด็จพระเทพฯ

 

ในหนังสือ "สองธรรมราชา" สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงให้สัมภาษณ์กับคุณอัครวัฒน์ โอสถานุเคราะห์ เกี่ยวกับความรู้สึกที่เคยเป็นพระอภิบาลของในหลวงรัชกาลที่ เมื่อครั้งทรงพระผนวชและประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ว่า ...

"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวชที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระราชอุปัชฌาย์ แล้วเสด็จฯ มาทรงปฏิบัติสมณวัตรในสำนักสมเด็จพระราชอุปัชฌาย์ วัดบวรนิเวศวิหาร จนถึงวันที่ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ จึงทรงลาผนวช อยู่ ๑๕ วัน

 

สมเด็จพระสังฆราชเจ้าได้ทรงมอบหมายให้เป็นพระพี่เลี้ยงก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งได้มอบหมายให้สนองพระเดชพระคุณ จากการที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้มีความรู้สึกว่า

พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงผนวชตามราชประเพณีอย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ แต่ทรงพระผนวชด้วยพระราชศรัทธาที่ตั้งมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง มิได้ทรงเป็นบุคคลจำพวกที่เรียกว่า 'หัวใหม่' ไม่เห็นศาสนาเป็นสำคัญ แต่ได้ทรงเห็นคุณค่าของพระศาสนา

หลวงปู่ ของสมเด็จพระเทพฯ!  สายสัมพันธ์ใน สมเด็จญาณฯ กับราชวงศ์จักรี ธรรมราชาผู้ทรงเป็นพระอาจารย์ในหลวง ร.๙ และสมเด็จพระเทพฯ

ฉะนั้น ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาสามัญก็กล่าวได้ว่า 'บวชด้วยศรัทธา' เพราะทรงพระผนวชด้วยพระราชศรัทธา ประกอบด้วยพระปัญญา และได้ทรงปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด

 

 

ที่มา: หนังสือบวรธรรมบพิตร / หนังสือสองธรรมราชา /  IG : Somdejyarnword / www.sangharajafoundation.com /มูลนิธิ ๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวรานุสรณ์ ในพระสังฆราชูปถัมภ์