ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th/

สยาม เคยเป็นชื่อเรียกประเทศไทยในอดีต แต่มิใช่ชื่อที่คนไทยเรียกตนเอง ราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า สยามเป็นชื่อเรียกดินแดนและกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยโบราณ สยามเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของไทยตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ก่อนเปลี่ยนเป็น "ไทย" เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ พระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้ชื่อ "สยาม" ในการทำสนธิสัญญากับต่างชาติเป็นเวลาหลายศตวรรษ เนื่องจากราชอาณาจักรประกอบด้วยคนหลายชาติพันธุ์ อาทิ ไท ลาว มอญ ญวน เขมร แขก จีน ฝรั่ง และมลายู พระมหากษัตริย์ไทยจึงเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า ประเทศสยาม เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชน อีกทั้ง ชื่อ สยาม นั้น ก็ยังคงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในวงการวิชาการของต่างประเทศอีกด้วย

รู้ไหม สยาม คืออะไร? เปิดลึกต้นกำเนิด เรื่องราว และชาติพันธุ์ ก่อนจะเปลี่ยนเป็น ประเทศไทย ในวันนี้ !! ๗ ก.ย. ใช้ชื่อประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

สยามเป็นชื่อดินแดนและกลุ่มชนไม่จำกัดชาติพันธุ์ ซึ่งอาจอธิบายได้ว่าสยามเป็น "พวกร้อยพ่อพันแม่" คือ มิได้หมายถึงชนชาติใดชนชาติหนึ่ง แต่อาศัยลักษณะภายนอกเป็นตัวกำหนด เช่น ใช้เรียกผู้ทำมาหากินกันในบริเวณตาน้ำพุที่ผุดจากแอ่งดินอ่อนหรือดินโคลน หรืออาจใช้เรียกผู้ที่อยู่อาศัยริมแม่น้ำโขง

ชาวสยามหรือเสียมเป็นกลุ่มชน เป็นการผสมผสานของกลุ่มชนต่าง ๆ ที่ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร นายสุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้เขียน "คนไทย มาจากไหน" จึงเสนอให้เรียกผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันว่า "ชาวไทยสยาม" แทน เพราะคำว่า "ชาวไทย" มีความหมายครอบคลุมถึง "ชาวไทใหญ่" และ "ชาวไทน้อย" ซึ่งอาศัยอยู่นอกประเทศไทยด้วย

รู้ไหม สยาม คืออะไร? เปิดลึกต้นกำเนิด เรื่องราว และชาติพันธุ์ ก่อนจะเปลี่ยนเป็น ประเทศไทย ในวันนี้ !! ๗ ก.ย. ใช้ชื่อประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

จนถึงปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่มีใครทราบที่มาของคำว่าสยามว่ามาจากที่ไหนอย่างแน่ชัด ซึ่งมีความคิดเห็นของผู้รู้ต่าง ๆ ดังนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้ศึกษาประวัติที่มาของคำว่า "สยาม" และเขียนเป็นหนังสือ ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ มีความสรุปได้ว่า

๑. จะต้องเป็นคำที่คล้ายกับ "ซาม-เซียม" ตามสมมุติฐานทางนิรุกติศาสตร์
๒. มีความหมายเกี่ยวข้องกับน้ำ เนื่องจากพบในพงศาวดารราชวงศ์หยวน อันสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชนชาติไต
๓. น่าจะเป็นภาษาหนานเจ้า
๔. ที่เกิดของคำว่า "สยาม" อยู่ในบริเวณทางตอนเหนือของพม่า
    
สยาม อาจเป็นคำมาจากภาษาสันสกฤตว่า ศยาม ซึ่งแปลว่า สีดำ สีคล้ำ สีทอง ฯลฯ นั้น ดูเหมือนจะเป็นความเห็นดั้งเดิมที่แพร่หลายมากที่สุด และแทบจะยอมรับกันเป็นความจริงชี้ขาดเรื่องชื่อสยามทีเดียว

ปรีดี พนมยงค์ เคยเขียนไว้ว่า มีการใช้ชื่อสยามมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงนำกฎหมายเก่ามาชำระและรวบรวมเป็นกฎหมายตราสามดวง ชื่อประเทศได้รับการบันทึกเป็นภาษาบาลีว่า "สามปเทส" สาม หรือ สามะ แปลว่าความเสมอภาค ส่วน ปเทส แปลว่า ประเทศ แต่ฝรั่งออกเสียงเพี้ยน เป็นเซียมหรือไซแอม

รู้ไหม สยาม คืออะไร? เปิดลึกต้นกำเนิด เรื่องราว และชาติพันธุ์ ก่อนจะเปลี่ยนเป็น ประเทศไทย ในวันนี้ !! ๗ ก.ย. ใช้ชื่อประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

ในสมัยรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ก้าวขึ้นสู่อำนาจ ปลุกแนวคิดชาตินิยมและการเชื่อฟังผู้นำอย่างมาก ซึ่งจากรายงานการศึกษาในยุคนั้นโดยนักศึกษาประวัติศาสตร์บางคน ได้มีการค้นพบคนไทยที่อยู่ในเวียดนามและจีนตอนใต้ นอกเหนือไปจากจากกลุ่มไทใหญ่ในพม่า ทำให้เกิดกระแสที่ต้องการรวบรวมชนเผ่าไทยเหล่านั้นเข้ามาสู่ประเทศ "ไทย" เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ในที่สุดจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อ ประเทศ ประชาชน และสัญชาติเป็น "ไทย" ตามประกาศรัฐนิยมฉบับที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ซึ่งได้รับการคัดค้านจากบางฝ่ายว่าจะเป็นการทำให้คนเชื้อชาติอื่น เช่น จีน มลายู ไม่รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประเทศ "ไทย" แต่ทว่าในที่สุดประกาศรัฐนิยมก็มีผลบังคับใช้ ทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ไทย ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งกลายเป็นสิ่งตกทอดไม่กี่อย่างจากประกาศดังกล่าวมาถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับคำว่า "สวัสดี"

รู้ไหม สยาม คืออะไร? เปิดลึกต้นกำเนิด เรื่องราว และชาติพันธุ์ ก่อนจะเปลี่ยนเป็น ประเทศไทย ในวันนี้ !! ๗ ก.ย. ใช้ชื่อประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

อ้างอิงข้อมูลจาก - th.wikipedia.org