ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th/

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้เล่าเรื่องราวที่ท่านพบเห็นเมื่อครั้งไปธุดงค์ที่ฝั่งประเทศลาวให้ลูกศิษย์ฟัง ดังนี้

ในช่วงที่ท่านไปพักจำพรรษาอยู่ที่ วัดวิชนุธาตุแตงโม เมืองหลวงพระบาง ท่านบอกว่า นอกกำแพงวัดออกไปไม่เกิน ๑๐ วา ตรงนั้นมีเรื่องแปลกๆ เสมอ พวกชาวบ้านชอบกราบเรียนถามหลวงปู่เสมอๆ ว่า “ท่านสาธุภาวนาอยู่ที่วัดนี้เป็นอย่างไร?”

หลวงปู่ไม่ได้สนใจกับคำถามดังกล่าว เมื่อถูกโยมถามบ่อยๆ ท่านจึงย้อนถามกลับไปว่า “ที่ตรงนั้นมีอะไรหรือ” ชาวบ้านบอกท่านว่า มีผีเจ้าที่อยู่ตรงนั้น แต่เดี๋ยวนี้จะยังอยู่ หรืออย่างไรก็ไม่ทราบได้

ตำนาน ฆ้อง แห่งวัดวิชนุธาตุแตงโม !!! อนุสรณ์ชิ้นสำคัญ ที่นำกลับมาจากเมืองลับแล !!! เรื่องเล่าจาก หลวงปู่ตื้อ ครั้งไปธุดงค์ที่ฝั่งประเทศลาว

หลวงปู่ตื้อ ได้เรียนถาม ท่านพระครูสาธุสิงห์ ซึ่งเป็นสมภารวัดนั้นมานาน เกี่ยวกับเรื่องราวความเป็นมา ท่านพระครูสาธุสิงห์ เล่าว่า "ข้าเจ้ามาเป็นสมภารอยู่วัดนี้นับได้ ๓๐ ปีแล้ว ทราบว่าผีพวกนี้เป็นวิญญาณเฝ้ารักษาเมือง โดยมากเป็นทหารเฝ้ารักษาประตูวังธาตุแตงโม วิญญาณพวกนี้ไม่ยอมไหว้พระเลย เรื่องนี้เป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ของชาวเมืองหลวงพระบาง"

ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า ตรงที่ป่าโน้น ไม่มีบ้านคนเลย มีธารน้ำไหลลงมาจากภูเขาไม่ขาดสาย ทั้งฤดูแล้งและฤดูฝน พอค่ำลงจะได้ยินเสียงคนพูดกัน มีทั้งชายและหญิงหลายๆ สิบเสียง ได้ยินเสียงตักน้ำ ได้ยินเสียงบั้งทิง (กระบอกไม้ไผ่ใส่น้ำ) กระทบกัน ชาวบ้านพยายามแอบดูหลายๆ ครั้ง ก็ไม่เห็นอะไรผิดสังเกตเลย แต่ได้ยินเสียง ตอนกลางวันเงียบสงัด ไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย

ตำนาน ฆ้อง แห่งวัดวิชนุธาตุแตงโม !!! อนุสรณ์ชิ้นสำคัญ ที่นำกลับมาจากเมืองลับแล !!! เรื่องเล่าจาก หลวงปู่ตื้อ ครั้งไปธุดงค์ที่ฝั่งประเทศลาว

ห่างจากที่ตรงนั้นออกไป มีเขาลูกหนึ่ง ชาวบ้านเล่าว่าเคยเห็นคนรูปร่างสูงใหญ่อยู่ในถ้ำในภูเขาลูกนั้น ๗ วันจะปรากฏตัวให้เห็นที่หนึ่ง มีสมภารวัดหลายองค์พยายามเข้าไปในถ้ำนั้น แต่ไปไม่ได้โดยตลอด เพราะข้างในมืดและอากาศเย็นมาก เมื่อเดินลึกเข้าไปจะรู้สึกแสบหูมาก พยายามเข้าไปอย่างไรก็ไม่สำเร็จ

หลังจากนี้มาได้ ๗-๘ ปี ได้มีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เดินธุดงค์มาจากเมืองไทย เคร่งครัดต่อระเบียบวินัยของพระกรรมฐานมากท่านเป็นที่เคารพนับถือ และเลื่อมใสของชาวเมืองหลวงพระบางมาก พระภิกษุหนุ่มรูปนั้น พยายามเข้าไปในถ้ำ และสามารถเข้าไปได้โดยตลอด เดินเข้าไปนานถึง ๗ วันถึงออกมา

ตำนาน ฆ้อง แห่งวัดวิชนุธาตุแตงโม !!! อนุสรณ์ชิ้นสำคัญ ที่นำกลับมาจากเมืองลับแล !!! เรื่องเล่าจาก หลวงปู่ตื้อ ครั้งไปธุดงค์ที่ฝั่งประเทศลาว

มีเรื่องเล่าว่า ท่านเดินเข้าไปเรื่อยๆ ก็ไม่ปรากฏว่าเห็นมีอะไรผิดปกติ เดินเข้าไปจนถึงที่สุด พอมองขึ้นไปข้างบน เห็นเป็นทางขึ้นไปมีรอยขึ้นลงใหม่ๆ บนก้อนหิน ท่านขึ้นไปตามทางนั้นก็ไม่พบอะไร ฆ้องใหญ่ที่ชาวบ้านได้ยินทุก ๗ วันก็ไม่มี

พระภิกษุจึงเดินกลับออกมาตามทางเดิม แต่ท่านต้องแปลกใจมากที่ตอนขากลับออกมาพบว่า ทางที่ท่านเดินเข้าไปนั้นกลับมีบ้านคนเต็มไปหมด มีชายคนหนึ่งมานิมนต์ให้ท่านนั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้

พระองค์นั้นแน่ใจว่าท่านไม่ได้เดินหลงทางเป็นแน่ เมื่อพิจารณาดูโดยละเอียดแล้ว ท่านจึงถามโยมว่า “พวกโยมมาอยู่ที่นี่นานแล้วหรือ?”

ชายผู้นั้นตอบรับด้วยการพยักหน้า พระจึงถามต่อไปว่า “เมื่ออาตมาเข้ามาก็เดินผ่านมาทางนี้ ทำไม่จึงไม่เห็นบ้านเมือง?”

ชายผู้นั้นไม่ตอบ กลับย้อนถามพระว่า “ท่านมาที่นี่ต้องการอะไร?”

พระตอบว่า “ไม่ต้องการอะไร แต่อยากจะเห็นฆ้องที่โยมตีอยู่ทุกเจ็ดวัน เพราะฆ้องใบนี้เสียงดังไกลเหลือเกิน”

โยมคนนั้นจึงเดินไปหยิบฆ้องมาให้ดู ใบก็ไม่ใหญ่เท่าไรพร้อมทั้งถวายให้พระอาจารย์ผู้นั้นเก็บไว้เป็นอนุสรณ์

จากนั้นโยมก็พาท่านเดินชมไปตามถ้ำ พบสิ่งแปลกตาหลายอย่างโยมคนนั้นบอกท่านว่า “สมบัติเหล่านี้เป็นของกลาง และจะมีอยู่อย่างนี้ตลอดไปชั่วกาลนาน”

ตำนาน ฆ้อง แห่งวัดวิชนุธาตุแตงโม !!! อนุสรณ์ชิ้นสำคัญ ที่นำกลับมาจากเมืองลับแล !!! เรื่องเล่าจาก หลวงปู่ตื้อ ครั้งไปธุดงค์ที่ฝั่งประเทศลาว

พระภิกษุนั้นได้อำลาโยมคนนั้น ได้นำฆ้องใบนั้นกลับออกมาด้วย ได้เก็บไว้เป็นอนุสรณ์ที่คนในถ้ำมอบให้ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าเคยมีผู้เข้าไปในถ้ำและได้ฆ้องใบนั้นมา เดี๋ยวนี้ฆ้องใบนั้นยังเก็บไว้ที่ วัดวิชนุธาตุแตงโม ในเมืองหลวงพระบางจนทุกวันนี้

ฆ้องใบที่ว่านั้นก็ไม่ใหญ่เท่าไร แต่มีเสียงดังกังวานกว่าฆ้องธรรมดาทั่วไปที่ขนาดใหญ่เท่ากันหรือใหญ่กว่า หรือที่มีน้ำหนักเท่าๆ กัน มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า พระภิกษุนั้น หลังที่ได้ฆ้องมาแล้วท่านก็หายไป ไม่มีใครรู้ว่าท่านหายไปไหน มีความเชื่อกันว่าท่านหายเข้าไปอยู่จำพรรษาในเมืองลับแลแห่งนั้น

ตำนาน ฆ้อง แห่งวัดวิชนุธาตุแตงโม !!! อนุสรณ์ชิ้นสำคัญ ที่นำกลับมาจากเมืองลับแล !!! เรื่องเล่าจาก หลวงปู่ตื้อ ครั้งไปธุดงค์ที่ฝั่งประเทศลาว

อ้างอิงข้อมูลจาก - www.watthakhanun.com , www.bansuanporpeang.com