ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th/

ในสมัยที่ พระเทพสิทธินายก(หลวงปู่นาค  โสภโณ) ท่านกำลังศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมประโยค ๔ - ๕ ท่านได้ศึกษาทางวิปัสสนากรรมฐานกับท่านอาจารย์ที่วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และวัดพลับ (เจริญภาส) เพิ่มเติมอีกโดยได้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดซึ่งต้องใช้เวลาเพียรพยายามศึกษาเล่าเรียนอยู่ประมาณ ๑๐ ปี ก็สามารถใช้เป็นมูลฐานกระทำชาญวิปัสสนาส่งกระแสจิตได้ ต่อมาได้เปิดสอนทางวิปัสสนากรรมฐานขึ้นในศาลาการเปรียญของวัดระฆังโฆษิตาราม เกี่ยวกับการสอนวิปัสสนานี้ได้เคยปรากฏว่า 

เพราะปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จึงเกิดอัศจรรย์ !! บารมีหลวงปู่นาค พระเกจิผู้รู้แจ้ง !! เคยไปช่วยดึงวิญญาณ คนที่เกือบตาย !! จนชาวบ้านเล่าขาน

ครั้งหนึ่งผู้เข้าศึกษานั่งสมาธิจิตทางวิปัสสนา ได้นั่งทำจิตถอดวิญญาณไปดูนรกสวรรค์ และท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่าง ๆ เป็นเวลา ๒ วัน ก็ยังไม่คืนสติ คงนั่งสมาธิอยู่เช่นนั้น ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก ในฐานะที่เป็นผู้อำนวยการฝึกสอนอยู่ ได้นั่งสมาธิส่งกระแสจิตไปติดตามวิญยาณของผู้นั่งสมาธิรายนี้ และไปพบในสุสานวัดดอน ตรอกจันทร์ ปรากกว่ากำลังเที่ยวเพลิดเพลินอยู่ ท่านจึงส่งกระแสจิตเตือนวิญญาณนั้นให้กลับคืนเข้าร่างเดิมเพราะล่วงมา ๒ - ๓ วันแล้ว หากล่าช้าไปจะคืนเข้าร่างเดิมไม่ได้ ร่างกายก็อาจจะเน่าเปื่อยไป วิญญาณของชายผู้นั้นจึงได้สติแล้วกลับคืนมาเข้าร่างเดิมที่นั่งสมาธิอยู่ในศาลาการเปรียญวัดระฆังโฆสิตาราม 

เพราะปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จึงเกิดอัศจรรย์ !! บารมีหลวงปู่นาค พระเกจิผู้รู้แจ้ง !! เคยไปช่วยดึงวิญญาณ คนที่เกือบตาย !! จนชาวบ้านเล่าขาน

นอกจากนี้ได้เคยปรากฏว่าคุณโยมของท่านป่วยอยู่ทางจังหวัดนครราชสีมา โดยมิได้ส่งข่าวถึงท่าน แต่ท่านสามารถทราบได้และนำหยูกยาไปปฐมพยาบาลได้ถูก เพราะท่านใช้อำนาจกระแสสิตทางวิปัสสนา ดังนี้ การกำหนดจิตอันกระทำให้เกิดพลังจิตขึ้นได้จึงเป็นเหตุให้พระคุณเจ้าได้คิดสร้างพระสมเด็จขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๔ โดยอาศัยตำราของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) ซึ่งขณะนั้นเป็นระยะเวลาที่ได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น ทั้งนี้เพื่อจักได้แจกจ่ายให้ทหารได้ติดตัวไปในสมรภูมิ เป็นกำลังใจและบำรุงขวัญทหารอีกส่วนหนึ่งด้วย

เพราะปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จึงเกิดอัศจรรย์ !! บารมีหลวงปู่นาค พระเกจิผู้รู้แจ้ง !! เคยไปช่วยดึงวิญญาณ คนที่เกือบตาย !! จนชาวบ้านเล่าขาน

อ้างอิงข้อมูลจาก - inform.collection9.net , www.web-pra.com