ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

ย้อนตำนาน อมตะรัก พระทอง-นางนาค เสพสังวาสต่างเผ่าพันธุ์ ระหว่าง มนุษย์ กับ พญานาค ต้นกำเนิดนครกัมพูชา ย้อนตำนาน อมตะรัก พระทอง-นางนาค เสพสังวาสต่างเผ่าพันธุ์ ระหว่าง มนุษย์ กับ พญานาค ต้นกำเนิดนครกัมพูชา  

              ประเทศกัมพูชาหรือชนชาติขอมเป็นอีกชนชาติหนึ่งที่มีเรื่องตำนานเกี่ยวข้องกับ “นาค” อย่างแนบแน่น โดยเฉพาะตำนานนางนาคกับพระทองที่มีความสำคัญมาก ถึงกับกล่าวว่าเป็นนิทานที่เล่าถึงบรรพบุรุษของตนทีเดียว “ตำนานพระทอง-นางนาค” ของเขมรน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับศิลาจารึกภาษาสันสกฤตของ “อาณาจักรจามปา” ที่พบในเวียดนาม

ย้อนตำนาน อมตะรัก พระทอง-นางนาค เสพสังวาสต่างเผ่าพันธุ์ ระหว่าง มนุษย์ กับ พญานาค ต้นกำเนิดนครกัมพูชา

            เรื่องนี้จำเป็นต้องย้อนไปถึง สมัยพุทธกาล เมื่อครั้งพุทธองค์เสด็จมายังดินแดนแห่งนี้ เมื่อนั้นเป็นอดีตชาติของ “พระทอง”ซึ่ง ถือกำเนิดเป็นตะกวดอยู่ในโพรงต้นหมันซึ่งขึ้นอยู่ที่กลาง “เกาะโคกทลอก” ครั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาประทับ ณ ใต้ต้นหมันนั้นเพื่อฉันจังหัน ตะกวดเห็นจึงออกมาก้มหัวคำนับ ๓ ครั้ง พระพุทธองค์จึงปั้นก้อนข้าวโยนไปให้ เมื่อตะกวดกินข้าวอิ่มก็แลบลิ้นเลียทำให้ปลายลิ้นแยกเป็น ๒ แฉก

ย้อนตำนาน อมตะรัก พระทอง-นางนาค เสพสังวาสต่างเผ่าพันธุ์ ระหว่าง มนุษย์ กับ พญานาค ต้นกำเนิดนครกัมพูชา

พระพุทธองค์จึงทรงทำนายโดยบอกแก่พระอานนท์ว่า

               ”ต่อไปในภายหน้า เกาะโคกทลอกนี้จะเกิดเป็นนครใหญ่ พรั่งพร้อมด้วยอำนาจ ส่วนตะกวดที่ออกมาก้มคำนับตถาคตนี้จะได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ และจะได้เสวยราชย์ในนครเป็นพระราชาพระองค์แรกของแผ่นดินนี้ แต่ผู้คนในนครไม่ค่อยมีความสัตย์เพราะผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินเป็นสัตว์มีลิ้น ๒ แฉก เมื่อตะกวดตายไปจึงมาเกิดเป็นพระทองที่มาขออาศัยแผ่นดินพระราชาจามอยู่ในเวลานี้”

              นิทานบรรพบุรุษของชาวเขมรก็ว่าได้ นิทานกล่าวถึงพระทองที่เป็นโอรสกษัตริย์เมืองหนึ่ง ต่อมาคิดขบถจึงถูกลงโทษให้เนรเทศออกจากเมือง แต่บ้างก็ว่าถูกโอรสองค์อื่นใส่ความจึงถูก เนรเทศ พระทองจึงออกเดินทางไปยังดินแดนของจาม

ย้อนตำนาน อมตะรัก พระทอง-นางนาค เสพสังวาสต่างเผ่าพันธุ์ ระหว่าง มนุษย์ กับ พญานาค ต้นกำเนิดนครกัมพูชา

          เมื่ออยู่นานไป พระทองเกิดขัดแย้งกับพระราชาจามในเรื่องแย่งดินแดน ทั้งคู่โต้เถียงกันไม่หยุดจนเลิกนับถือกัน พระทองด้วยเหตุที่จะได้เป็นใหญ่แห่งเกาะนั้นและเพราะได้นมัสการพระพุทธองค์มานับแต่อดีตชาติ จึงเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เมื่อเวลาดึกสงัดได้ทรงพาอำมาตย์ซึ่งเป็นที่ไว้พระทัย นำเอาทองก้อนหนึ่งที่ปลอมจารึกพงศาวดารไปฝังดินไว้ที่โคนต้นหมัน ในจารึกมีความว่า ..

‘ได้มาหักร้างถางป่าบนดินแดนที่เป็นเกาะนี้ตั้งแต่เพิ่งมีขึ้น และได้ฝังทองก้อนเท่าผลมะขวิดไว้ที่โคนต้นหมันลึก ๓ ศอก ไว้เป็นหลักฐาน ผืนแผ่นดินนี้ต้องให้พระทองผู้เป็นหลาน’

            จากนั้นพระทองจึงสั่งให้ทหารไปไล่พระราชาจามออกไปจากดินแดนนั้นโดยอ้างถึงจารึกที่ตนปลอมขึ้น ถึงแม้พระราชาจามจะไม่เชื่อ คิดจะยกกองทัพมาโจมตี แต่ฝ่ายพระทองด้วยคาดการณ์ไว้จึงชิงโจมตีก่อนและจับพระราชาจามกับไพร่พลได้ พระราชาจามทรงอ้อนวอนขอชีวิตโดยยินยอมที่จะถวายแผ่นดินและไพร่พลให้ พระราชาจามด้วยความคับแค้นใจถึงกับกระอักโลหิตสิ้นพระชนม์

            หลังจากนั้นพระทองเกิดกลัดกลุ้มพระทัย จึงทรงชักชวนไพร่พลบริวารออกเที่ยวตามเนินทรายที่เพิ่งงอกขึ้นใหม่ เมื่อเสด็จออกเป็นเวลาน้ำลดจึงทรงท่องเที่ยวไปได้ แต่เมื่อน้ำขึ้นพระองค์จึงทรงหาที่บรรทมเพื่อรอเวลาน้ำลดจะได้กลับพระนคร ครั้นเมื่ออาทิตย์ลับขอบฟ้าพระจันทร์ก็ขึ้นเต็มดวงทอแสงกระจ่างนภา

                ฝ่ายนางทาวดี ซึ่งเป็นธิดาพญานาคราชนครบาดาล เกิดความร้อนรุ่มอยู่ในปราสาทไม่ได้ เข้าไปกราบขออนุญาตพระบิดาจะพาไพร่บริวารหญิงแทรกแผ่นดินขึ้นเที่ยวเล่นยังโลกมนุษย์ นางทาวดีและบริวารพากันกลิ้งเกลือกเล่นน้ำตามประสานาคไปเรื่อยจนถึงเกาะใหญ่ริมทะเล

              อาจเป็นเพราะกุศลกรรมแต่ปางก่อนให้นางนาคเป็นคู่ครองพระทอง

ย้อนตำนาน อมตะรัก พระทอง-นางนาค เสพสังวาสต่างเผ่าพันธุ์ ระหว่าง มนุษย์ กับ พญานาค ต้นกำเนิดนครกัมพูชา

             จึงบันดาลให้ไพร่พลของพระทองหลับไปจนหมดเหลือเพียงพระทองแต่ผู้เดียว พระทองได้ยินเสียงมนุษย์พูดกระซิบกระซาบจึงลุกขึ้นมอง ทรงเห็นเหล่าสตรีเรียงรายอยู่เป็นที่น่าอัศจรรย์ จึงทรงเสด็จเข้าไปใกล้และตรัสถามให้รู้เรื่องราวว่าเป็นใครและมาจากที่ใด

              นางทาวดีจึงกราบทูลว่าตนเป็นพระธิดาพญานาค ฝ่ายพระทองที่ทรงมีพระทัยสเน่หานางทาวดีตั้งแต่แรกเห็นจึงเกี้ยวพาและขอให้เป็นอัครมเหสีใหญ่ นางทาวดีจึงกราบทูลว่าตนต้องลงไปกราบทูลขอจากพระราชบิดาเสียก่อน และถวายหมากคำหนึ่งไว้แทนใจแก่พระทองว่าจะไม่ผิดสัญญา จากนั้นนางจึงกลับไปยังเมืองนาค เมื่อพระราชบิดาทรงทราบเรื่องราวทั้งหมดก็ยินยอมตามที่พระธิดาปรารถนา ทรงให้จัดไพร่พลบริวารพร้อมเครื่องบรรณาการแห่แหนพระธิดากลับมายังโลกมนุษย์ และทรงสั่งให้ไพร่พลนาคซึ่งมีฤทธิ์อำนาจสูบน้ำให้แห้งเกิดเป็นแผ่นดินกว้างใหญ่ขึ้น และเนรมิตให้เป็นปราสาทราชวังพร้อมสรรพ

             ฝ่ายพระทองก็เข้าไปถวายบังคมพระราชบิดามารดาของนางทาวดี พญานาคราชทรงสั่งให้พระทองเตรียมตัว จะจัดให้มีพระราชพิธีอภิเษกและจะให้เสวยราชสมบัติ และเมื่อเสร็จพระราชพิธี ณ ที่นี้แล้วจะต้องไปจัดที่เมืองของพระราชานาคอีกเพื่อให้เหล่านาคได้รู้จัก อีกทั้งจะถวายพระนครและพระนามของทั้งสองให้ใหม่อีกด้วย

ย้อนตำนาน อมตะรัก พระทอง-นางนาค เสพสังวาสต่างเผ่าพันธุ์ ระหว่าง มนุษย์ กับ พญานาค ต้นกำเนิดนครกัมพูชา

           พระทองได้ฟังดังนั้นก็กังวลพระทัยมากเพราะเห็นว่าพระองค์เป็นมนุษย์ จะแทรกแผ่นดินไปเมืองนาคได้อย่างไร นางทาวดีเมื่อทราบเรื่องจึงกราบทูลว่า ..

             เพียงพระทองจับชายสไบของนางให้แน่นอย่าปล่อยให้หลุดมือก็จะเสด็จไปได้ ส่วนไพร่พลที่ต้องเข้ากระบวนแห่ทั้งหมดนั้นต้องให้เกาะชายพระภูษาของพระทองให้แน่นก็จะไปถึงเมืองนาคได้เช่นกัน และก็เป็นเช่นนั้นจริง หลังจากที่พระทองพร้อมกระบวนไพร่พลบริวารเดินทางลงถึงเมืองนาค

ย้อนตำนาน อมตะรัก พระทอง-นางนาค เสพสังวาสต่างเผ่าพันธุ์ ระหว่าง มนุษย์ กับ พญานาค ต้นกำเนิดนครกัมพูชา

(ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเพณีปฏิบัติสืบมา คือเมื่อตอนส่งตัวบ่าวสาวเข้าเรือนหอ เจ้าบ่าวต้องเกาะชายสไบเจ้าสาวให้แน่น ตามอย่างที่พระทองเกาะสไบนางทาวดีเพื่อลงไปเข้าพิธีอภิเษกยังเมืองนาคนั่นเอง)

พระราชานาคก็ได้จัดพระราชพิธีอภิเษกให้แล้ว ได้ถวายพระนามให้ใหม่ทั้งสองพระองค์คือ..

 

พระทองเป็น พระบาทอาทิจจวงษา และนางทาวดีเป็น พระนางทาวธิดา

เกาะโคธลอกเป็นกรุงกัมพูชาธิบดี ..โดยราชานาคทรงจัดเสนานาคที่มีอิทธิฤทธิ์ ๒ ตัวมาคอยเฝ้าคุ้มครองปกป้องแก่กรุงกัมพูชาธิบดีด้วย

เมื่อพญานาคช่วยสร้างบ้านเมืองให้อยู่ ชื่อกรุงกัมพูชา พร้อมทั้งปกป้องคุ้มครองให้เกิดความมั่งคั่งและมั่นคง ดังข้อความตอนหนึ่งในนิทานกล่าวว่า

 

            “แล้วพระยานาคก็สำแดงฤทธาสูบคงคามหาสมุทรที่ตรงนั้น ให้น้ำงวดลงแล้ว จึงทรงเนรมิตเป็นพระนครบวรราชธานี มีป้อมปราการอันโอฬารพร้อมเสร็จ จึงเสด็จพระยานาคให้แต่งปราสาทถวายพระสุณิสา แล้วทำพิธีอาวาหมงคลาภิเศกพระราชบุตรีเป็นพระมเหสีแห่งพระทอง ให้ครองนครโคกหมัน ทรงพระนามพระบาทสมเด็จพระเทววงษ์อัศจรรย์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ผลัดนามพระนครใหม่ตามเหตุซึ่งได้เกิดโดยฤทธิ์พระยานาคนฤมิตร เรียกว่า กรุงกัมพูชาธิบดี พระเจ้าแผ่นดิงองค์นี้เป็นประถมกษัตริย์ ทรงยกนางนาคเทพีเป็นเอกอรรคมเหสีมีนามว่า ทาวดีบรมบพิตร”

 

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม**

ความเชื่อศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับนาคาสังวาส ยังมีในนิทานเก่าแก่ของเขมร เรื่องนางนาค พระทอง ที่ส่งต่อถึงอยุธยา

ยุคอยุธยาจึงมีเพลงดนตรีชื่อนางนาคกับพระทอง คำร้องเป็นเรื่องนาคาสังวาส ใช้ร้องบรรเลงงานแต่งงาน มีคำร้องดังนี้

ร้องนางนาค

๏ เจ้าเอยนางนาค เจ้าคิดแต่เท่านั้นแล้ว

เจ้าปักปิ่นแก้ว แล้วเจ้ามาแซมดอกไม้ไหว

จำปาสองหูห้อย สร้อยสังวาลแลมาลัย

ชมพูผ้าสไบ เจ้าห้อยสองบ่าสง่างาม

 

ร้องพระทอง

๏ พระทองเทพรังสรรค์ หล่อด้วยสุวรรณกำภู

เจ้างามบริบูรณ์ไม่มีคู่ โฉมตรูข้าร้อยชั่งเอย

๏ พระทองข้ารูปหล่อเหลา หนักเล่าก็ได้ร้อยชั่ง

รัศมีนั้นงามอยู่เปล่งปลั่ง ทั้งเมืองไม่มีเหมือนเอย

 

ร้องคู่พระทอง

๏ พระทองเจ้าจะไป น้องจะได้ใครมานอนเพื่อน

อันใจเจ้าดีไม่มีเหมือน เจ้าเพื่อนที่นอนของน้องเอย

๏ เจ้าเอยเจ้าพี่ ค่อยอยู่จงดีกว่าจะมา

จะไปก็ไม่ช้า จะพลันมาเป็นเพื่อนนอนเอย

๏ พระทองเจ้าจะไป จะให้อะไรไว้น้องชม

ขอแต่ผ้าลายที่ชายห่ม จะชมต่างหน้าพระทองเอย

 


 

อ้างอิงที่มา : https://sites.google.com/site/wrrnkrrmphunban/wrrnkrrm-rach-sanak-1/nakha-sangwas
modernpublishing.co.th/
baanjompra.com/