ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

จากภัยพิบัติจากที่เกิดขึ้น ตามที่ต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือแม็กซิโก ทำให้เรื่องของภัยธรรมชาติ ได้รับความสนใจอีกครั้ง เรื่องหนึ่งที่ได้รับความสนใจเสมอที่เกิดภัยพิบัติคือ “กรุงเทพจะจมบาดาล จริงหรือไม่?”

อีกไม่กี่10ปี กรุงเทพจะจมบาดาล จริงหรือ ? ไม่ตื่นตระหนก แต่ต้องพร้อมรับมือ!!??

กรุงเทพฯ จะจมบาดาล ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยด้วยกันคือ 1.การทรุดตัวของแผ่นดิน 2.การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล

การทรุดตัวของแผ่นดิน เป็นปัญหาที่เกิดจากการกัดเซาะบริเวณริมตลิ่งของพื้นที่ที่ติดน้ำ และ เกิดจากการนำน้ำใต้ดิน(น้ำบาดาล) มาอุปโภคบริโภค จากการตรวจสอบพบว่าในช่วงปี 2521-2527 แผ่นดินในกรุงเทพฯ ทรุดตัวสูงสุดถึง 7 เซนติเมตรต่อปี จนเมื่อรัฐบาลออกกฎระเบียบการใช้น้ำบาดาลออกมา จึงมีการลดการใช้ลง ส่งแผลให้แผ่นดินในกรุงเทพฯ ลดการทรุดตัวลง จาก 10 เซนติเมตร เหลือเพียง 2-3 เซนติเมตรต่อปีเท่านั้น

อีกไม่กี่10ปี กรุงเทพจะจมบาดาล จริงหรือ ? ไม่ตื่นตระหนก แต่ต้องพร้อมรับมือ!!?? (ปริมาณการทรุดตัวของดิน ตั้งแต่ปี 2521-2554)

 

 

การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ก็เป็นอีกปัจจัยเช่นกัน เนื่องด้วยภาวะโลกร้อนส่งผลให้น้ำแข็งขั่วโลกละลาย จากเดิมที่เมืองกรุงเทพฯ นั้นก็ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลอยู่แล้ว

อีกไม่กี่10ปี กรุงเทพจะจมบาดาล จริงหรือ ? ไม่ตื่นตระหนก แต่ต้องพร้อมรับมือ!!??

ประจวบกับ  ระดับน้ำทะเลจึงสูงขึ้นทุกปี โดยเพิ่มอยู่ที่ 3-4 มิลลิเมตร ต่อปี 

 อาจารย์เสรี ศุภราทิตย์... อดีตผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)... ได้กล่าวผ่านทางรายการชัวร์ก่อนแชร์ว่า

“ยืนยันว่ากรุงเทพฯ ยังไม่จมบาดาลในปี 2563 เพราะน้ำทะเลท่วมสูง ต้องใช้เวลา 1ปีสูงขึ้น 0.3 เซนติเมตร 50 ปี 60ซม. กรุงเทพมหานครจึงจะเริ่มปริ่มๆน้ำ...”

 

ปัญหาเรื่องของกรุงเทพฯจะจมบาดาล จึงยังไม่ใช่ปัญหาที่ต้องตื่นตระหนก เพราะเป็นเรื่องยากที่จะจมภายในเร็ววันนี้ แต่ปัญหานี้ก็สมควรได้รับการเตรียมความพร้อม ในการรับมืออย่าได้ประมาทโดยเด็ดขาด

 

       รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงข้อเสนอของคณะกรรมการการเตรียมการเพื่อรับมือวิกฤตการณ์ว่า จากการศึกษาในรอบ 20 ปี ที่ผ่านมา พบว่ากรุงเทพฯมีการเกิดแผนดินทรุดตัวเฉลี่ยปีละประมาณ 1 เซนติเมตร และมีระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 4 มิลลิเมตร สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก ซึ่งอยู่ที่ 1.8 มิลลิเมตรเท่านั้น

 

และจากข้อมูลของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก (ไอพีซีซี) ฉบับล่าสุด ปี ค.ศ.2013 พบข้อมูลใหม่ การละลายของก้อนน้ำแข็ง ที่กรีนแลนด์ และแอนตาร์กติกา ที่ละลายเร็วกว่าปกติหลายเท่าตัวนั้น อาจจะเพิ่มสูงขึ้นในระดับตั้งแต่ 44-74 เซนติเมตร ในระยะเวลาอีก 80 ปีข้างหน้า ดังนั้นการคาดการณ์การเกิดน้ำท่วมถาวรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ก็คงต้องขยับมาถึงไวขึ้น แม้จะไม่ใช่ในเร็ววัน

 

ในปี2556 ทางสำนักข่าวว๊อยซ์ทีวี ได้นำเสนอข่าวเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2556 ว่าธนาคารโลกออกรายงาน ว่ากรุงเทพมหานคร จาการ์ตา และโฮจิมินห์ซิตี ถือเป็น "จุดเสี่ยง" ที่จะได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น พายุเขตร้อนที่รุนแรง และฝนตกหนัก เนื่องจากภาวะโลกร้อน โดยยืนยันว่าปรากฏการณ์เหล่านี้ไม่ใช่ความเสี่ยงที่ไกลตัวอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้ สูง โดยคาดว่าภายในปี  2573 ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นถึง 6 นิ้ว และเพิ่มเป็น 1 ฟุตในทศวรรษถัดไป ทำให้หลายๆเมืองชายฝั่งทะเลที่เป็นพื้นที่ต่ำ เสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมหนัก

 

ดังนั้นถึงแม้การจมบาดาลของกรุงเทพมหานคร อาจจะยังไม่ใช่อนาคตอันใกล้ แต่ก็มีความเป็นไปได้แน่ที่เกิดขึ้น แม้เราจะไม่สามารถฝืนวิถีธรรมชาติได้ ปัญหาน้ำท่วมยังคงเพิ่มโอกาสจะเกิดมากขึ้น แต่กระนั้นเราเองต้องไม่ลืมว่าจริงๆแล้วกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่คู่กับน้ำมาตลอด ถึงขั้นเป็นที่เรียกขานกันว่า เวนิสตะวันออก จึงจะเป็นไปได้ไหมที่เราจะปรับปรุงผังเมือง หรือรูปแบบการใช้ชีวิตให้เข้ากับวิถีของธรรมชาติ หรือ สร้างเขื่อนแบบประเทศเนเธอแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลแต่ก็สามารถจัดการปัญหานี้ได้ด้วย Delta Work หรือพนังกั้นน้ำที่สามารถสกัดคลื่นสูงถึง 40 ฟุต จากระดับน้ำทะเลยาวถึง 600 กิโลเมตร รวมทั้งสร้างประตูระบายน้ำบริเวณปากอ่าว เพื่อควบคุมน้ำทะเลไม่ให้ทะลักเข้าแม่น้ำ ซึ่งวิธีแก้ไขปัญหาของประเทศไทยนับจากนี้จึงต้องรอดูมาตรการการป้องกันปัญหาจากทางรัฐบาลต่อไป ..

 

อ้างอิง

- สามทศวรรษกับการรังวัดตรวจสอบการทรุดตัวของพื้นดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จาก กรมแผนที่ทหาร 
- กรุงเทพฯ เสี่ยงจมบาดาลใน 17 ปี - voicetv.co.th /2556
- ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนปี 2563 กรุงเทพฯ จมบาดาลจริงหรือ? / 2560
- เสวนากรุงเทพฯจมบาดาลปี63นักวิชาการชี้โอกาสเป็นไปได้ยาก/แนะวางแผนป้องกันน้ำท่วมระยะยาว - ไทยโพสต์ 2560

- เนเธอร์แลนด์...ประเทศต้นแบบของการป้องกันน้ำท่วม -ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ