ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมาย ได้ที่ http://www.tnews.co.th

หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ นครปฐม.

"หลวงปู่นาค ต้นตำรับพระปิดตาเมฆพัดหูกระต่าย"
พระปิดตาเมฆพัด อันดับหนึ่งตลอดกาล ต้องนับของหลวงปู่นาควัดห้วยจระเข้ เป็นอันดับหนึ่ง ยังไม่มีพระปิดตาเมฆพัดของครูบาอาจารย์ท่านใดล้มแชมป์ได้ถ้านับเกจิอาจารย์จังหวัดนครปฐมที่มีชื่อเสียงโด่งดัง หลวงปู่นาค ถือว่าอาวุโสที่สุด ท่านเกิดยุคเดียวกับหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง อาวุโสกว่าหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก เกือบยี่สิบปี อายุมากว่าหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว สามสิบกว่าปี นับขึ้นไปจากท่าน ไม่เคยได้ยินว่า มีเกจิที่ดังระดับประเทศในจังหวัดนครปฐม

ท่านนั่งในน้ำ..เมื่อลงอักขระเสร็จองค์หนึ่ง จะปล่อยให้พระลอยขึ้นมา.."หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้" ต้นตำรับพระปิดตาเมฆพัด อันลือชื่อ..

หลวงปู่นาค

ท่านมีวิธีการลงพระปิดตา แบบเดียวกับตะกรุดจันทร์เพ็ญหลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า จากตำนานที่เล่าขานกันของวัดห้วยจระเข้ หลวงปู่นาค ท่านจะนำพระปิดตาที่หล่อเสร็จแล้ว มาลงอักขระที่ท่าน้ำข้างวัด กรรมวิธีก็แบบเดียวกับสายวัดมะขามเฒ่า ต้องนำเสามาปักใต้น้ำ นำไม้มาตีเป็นกากบาท เพื่อให้ท่านนั่งในน้ำ เมื่อท่านลงเสร็จองค์หนึ่ง ท่านจะปล่อยให้พระปิดตาลอยขึ้นมา และจะมีลูกศิษย์คอยเก็บอยู่ข้างบน แต่ถ้าองค์ใดไม่ลอยแล้วจม ถือว่าองค์นั้นใช้ไม่ได้ อาจจะเกิดจากอักขระวิบัติก็เป็นได้

ท่านนั่งในน้ำ..เมื่อลงอักขระเสร็จองค์หนึ่ง จะปล่อยให้พระลอยขึ้นมา.."หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้" ต้นตำรับพระปิดตาเมฆพัด อันลือชื่อ..

         นอกจากวิธีที่ลงในน้ำแล้ว หลวงปู่นาค ท่านยังมีวิธีลงอีกแบบหนึ่ง วิธีนี้ท่านจะไปลงที่ทุ่งนา ท่านจะเดินหารูปูก่อน เมื่อเจอแล้ว ท่านจะใช้เท้าเหยียบอุดรูปูนั้น แล้วนำพระปิดตาขึ้นมาจารทีละองค์ ว่ากันว่า ตอนที่ท่านลงจารพระ เสียงแมลงต่างๆ นกต่างๆ สรรพสัตว์ทุกอย่างจะเงียบหมด สรรพสัตว์ในบริเวณนั้นจะเงียบเสียงหมด จึงถือว่าใช้ได้ เมื่อหลวงปู่นาค ท่านจะบริกรรม ถอนวิชา พอท่านชักเท้าออกจากรูปู เสียงที่เงียบสงบ ก็จะดังขึ้นเซ็งแซ่ พอมาเห็นวิธีการทำของเกจิรุ่นเก่า จะเห็นความพยายามอย่างเอกอุ เพื่อให้ของนั้นออกมาดีที่สุด โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากเลยสักนิด

ท่านนั่งในน้ำ..เมื่อลงอักขระเสร็จองค์หนึ่ง จะปล่อยให้พระลอยขึ้นมา.."หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้" ต้นตำรับพระปิดตาเมฆพัด อันลือชื่อ..

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

ศิษย์สายวัดสะพานสูง

เพื่อเผยแผ่บารมีเป็นสังฆบูชา และเทิดทูนเกียรติคุณครูบาอาจารย์