รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์   http://panyayan.tnews.co.th

เข้าใจผิดมาตลอดชีวิต!! วันออกพรรษาที่แท้จริง คือวันไหนกันแน่? ไพศาล แจงความรู้ เข้าใจใหม่ให้ถูกตามพุทธบัญญัติ

เข้าใจผิดมาตลอดชีวิต!! วันออกพรรษาที่แท้จริง คือวันไหนกันแน่? ไพศาล แจงความรู้ เข้าใจใหม่ให้ถูกตามพุทธบัญญัติ
มีบางเรื่องที่ต้องขอบอกว่า คนไทยเข้าใจผิดมาตลอดเกี่ยวกับ “วันออกพรรษา” ในปัจจุบันคนไทยเกือบทุกคนยังเข้าใจกันว่า วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นวันออกพรรษา ในความเป็นจริงในทางพระวินัยบัญญัติ ได้บัญญัติไว้ว่าเป็น “วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา” และวันออกพรรษาที่แท้จริง คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ดังข้อความใน เพจ Paisal Puechmongkol ได้โพสข้อความไว้ดังนี้
“อย่าเข้าใจผิด
วันนี้เป็นวันมหาปวารณาออกพรรษา แต่ยังไม่ใช่วันออกพรรษา
ตามพระวินัย บัญญัติให้พระออกพรรษา เมื่อเวลาย่ำรุ่ง ของวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ นั่นหมายถึง วันพรุ่งนี้ ในเวลาที่เห็นลายมือช่วงเช้านั่นแหละจึงออกพรรษาได้ ถ้าหากพระภิกษุใดออกพรรษาในวันนี้ย่อมผิดพระวินัยและ ขาดพรรษาด้วย 
พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากดาวดึงส์ลงมาที่เมืองกัสสะในวันแรม ๑ ค่ำ ถือว่าเป็นวันเปิดโลกและเป็นต้นของประเพณีตักบาตรเทโวด้วย
ขอเราทั้งหลายได้เข้าใจให้ตรงกัน”

เข้าใจผิดมาตลอดชีวิต!! วันออกพรรษาที่แท้จริง คือวันไหนกันแน่? ไพศาล แจงความรู้ เข้าใจใหม่ให้ถูกตามพุทธบัญญัติ
ขอเราทั้งหลายได้เข้าใจให้ตรงกัน  ( ตามวิกิสารานุกรม และ ตามพระวินัยบัญญัติ )
เพื่อความเข้าใจ: วันสุดท้ายของการอยู่จำพรรษา ๓ เดือน ของพระภิกษุ ตามคัมภีร์เรียกว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา นั้น ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เราเรียกกันว่า "วันออกพรรษา" ตามที่เข้าใจกันทั่วไป 
แต่ตามพระวินัยบัญญัติ พระภิกษุทั้งหลายยังต้องอยู่ในจำพรรษาในคืนวันนั้น (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) อีกคืนหนึ่ง จะไปค้างแรมที่อื่นเลยไม่ได้ ต้องให้ผ่านอรุณเข้าวันใหม่ (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑) เสียก่อน
สรุปว่า "วันออกพรรษา" ตามที่เรียกและเข้าใจกันทั่วไป  คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ส่วน "วันออกพรรษาจริง" ตามพระวินัย คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑

เข้าใจผิดมาตลอดชีวิต!! วันออกพรรษาที่แท้จริง คือวันไหนกันแน่? ไพศาล แจงความรู้ เข้าใจใหม่ให้ถูกตามพุทธบัญญัติ
อานิสงส์ของพระสงฆ์ที่จำครบพรรษา
เมื่อพระสงฆ์จำพรรษาครบไตรมาสได้ปวารณาออกพรรษาและได้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ หรือข้อยกเว้นพระวินัย ๕ ข้อ คือ
๑.เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา (ออกจากวัดไปโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งเจ้าอาวาสหรือพระสงฆ์รูปอื่นก่อนได้) 
๒.เที่ยวไปไม่ต้องถือไตรจีวรครบสำรับ ๓ ผืน 
๓.ฉันคณะโภชน์ได้ (ล้อมวงฉันได้) 
๔.เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา (ยกเว้นสิกขาบทข้อนิสสัคคิยปาจิตตีย์บางข้อ) 
๕.จีวรลาภอันเกิดในที่นั้นเป็นของภิกษุ (เมื่อมีผู้มาถวายจีวรเกินกว่าไตรครองสามารถเก็บไว้ได้โดยไม่ต้องสละเข้ากองกลาง)
ที่มา : FB :เพจ Paisal [email protected]  และ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี