๔๕ปี!!! จากจุดเริ่มต้นของฝนหลวงพระราชทาน ที่ประสบความสำเร็จ จากพระราชดำริที่ต้องการแก้ไขความทุกข์ร้อนของพสกนิกร #๑๙ตุลาวันเทคโนโลยีของไทย

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์ http://panyayan.tnews.co.th

๔๕ปี!!! จากจุดเริ่มต้นของฝนหลวงพระราชทาน ที่ประสบความสำเร็จ จากพระราชดำริที่ต้องการแก้ไขความทุกข์ร้อนของพสกนิกร #๑๙ตุลาวันเทคโนโลยีของไทย

๔๕ปี!!! จากจุดเริ่มต้นของฝนหลวงพระราชทาน ที่ประสบความสำเร็จ จากพระราชดำริที่ต้องการแก้ไขความทุกข์ร้อนของพสกนิกร #๑๙ตุลาวันเทคโนโลยีของไทย ๑๙ ตุลาคม #วันเทคโนโลยีของไทย
ด้วยอัจฉริยภาพในด้านที่นอกเหนือจากจะทรงเป็นนักปกครองแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ยังทรงมีอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จนเป็นที่ประจักษ์ไปทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และได้กำหนดให้ วันที่ ๑๙ ตุลาคม เป็นวันเทคโนโลยีของไทย เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย หลังทรงพระกรุณาบัญชาการปฏิบัติบัติการทำฝนสาธิตด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕

๔๕ปี!!! จากจุดเริ่มต้นของฝนหลวงพระราชทาน ที่ประสบความสำเร็จ จากพระราชดำริที่ต้องการแก้ไขความทุกข์ร้อนของพสกนิกร #๑๙ตุลาวันเทคโนโลยีของไทย
เมื่อวันที่ ๑๗ ม.ค. ๒๕๕๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินจากพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเสด็จไปยังเขื่อนแก่งกระจาน ของกรมชลประทาน ต.แก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี “โอกาสนี้ทรงทอดพระเนตรการสาธิตการปฏิบัติการฝนหลวงจำลองซึ่งได้ทรงเล่าพระราชทานแก่ผู้ตามเสด็จว่า เมื่อวันที่ ๑๙ ต.ค. ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบัญชาการปฏิบัติการทำฝนหลวงสาธิตแก่นักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์ ณ เขื่อนแก่งกระจาน ทรงบังคับให้ฝนตกลงตรงเป้าหมายที่มีพื้นที่ผิวน้ำเพียง ๔๖.๕ ตารางกิโลเมตรหรือ ๑,๑๖๒.๕ ไร่ เป็นพื้นที่เป้าหมายหวังผลในการปฏิบัติการทำฝนสาธิตครั้งนี้ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เล็กที่สุดเท่าที่เคยปฏิบัติการค้นคว้าทดลองและปฏิบัติการทำฝนหวังผลที่ผ่านมา โดยใช้เวลาทำการเพียง ๕ ชั่วโมงนับจากเริ่มปฏิบัติการก็ประสพความสำเร็จ   ท่ามกลางสายตาของผู้แทนต่างประเทศข้าราชการและพสกนิกรชาวไทย ที่มารับเสด็จ ซึ่งต่างชื่นชมในพระปรีชาสามารถถือเป็นต้นกำเนิดเทคโนโลยีฝนหลวงที่พัฒนามาจนถึงปัจจุบันคณะรัฐมนตรีจึงมีมติถวายพระราชสมัญญา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย"และกำหนดให้วันที่ ๑๙ ต.ค.ของทุกปี “เป็นวันเทคโนโลยีไทย” เพื่อจารึกเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย
ในวันนั้นศูนย์ฝนหลวงหัวหิน กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้ใช้เครื่องบินเซสน่าคาราแวน ๔ ลำ ในการสาธิตปฏิบัติการฝนหลวงตามเทคนิคที่ได้พระราชทานเมื่อปี ๒๕๔๓ ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ล่าสุดใช้ในสภาวะอากาศยากลำบาก เป็นสูตรการกระตุ้นให้เกิดเมฆ

๔๕ปี!!! จากจุดเริ่มต้นของฝนหลวงพระราชทาน ที่ประสบความสำเร็จ จากพระราชดำริที่ต้องการแก้ไขความทุกข์ร้อนของพสกนิกร #๑๙ตุลาวันเทคโนโลยีของไทย
และนั้นเป็นสาเหตุที่กำหนดให้วันที่ ๑๙ ตุลาคม เป็นวันเทคโนโลยีของไทย เพื่อเป็นการจารึกไว้ซึ่งเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ในวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะรัฐบาลจึงมีมติให้เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น "#พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย" และกำหนดให้วันที่ ๑๙ ตุลาคมของทุกปีเป็น "วันเทคโนโลยีของไทย" เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด โดยได้ทรงศึกษาค้นคว้าวิจัย และทรงนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตลอดจนเป็นการแสดงเทคโนโลยีที่คิดค้นประดิษฐ์ และพัฒนาโดยคนไทย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สาธารณชนเกิดความเชื่อมั่นและเข้าร่วมพัฒนาเทคโนโลยีของไทย 
นอกจาก "#โครงการฝนหลวง" แล้ว พระองค์ยังทรงเป็นนักประดิษฐ์ และนักวิทยาศาสตร์ ดังจะเห็นได้จากโครงการในพระราชดำริ และที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ หลายด้าน ตัวอย่างเช่น
#กังหันน้ำชัยพัฒนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงประดิษฐ์คิดค้น "เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย" หรือ "กังหันชัยพัฒนา" เพื่อทำหน้าที่เติมออกซิเจนลงไปในน้ำ เป็นการลดมลภาวะทางน้ำถือได้ว่า เป็นประวัติศาสตร์ของการออกสิทธิบัตรแก่สิ่งประดิษฐ์ของไทย
#การออกแบบสายอากาศ(Antenna) เพื่อใช้กับวิทยุสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในช่วงต้นรัชสมัย ประเทศไทยยังขาดแคลนเทคโนโลยีขั้นสูง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (HS1A) ได้ทรงหาหนทางพึ่งพาตนเอง พัฒนาอุปกรณ์สื่อสาร เพื่อขจัดปัญหาการติดต่อกับพื้นที่ห่างไกล โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สุธี อักษรกิตติ์ และ พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ ได้เคยถวายตัวรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อน้อมรับพระราชดำริในการออกแบบสร้างสายอากาศให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ เพื่อนำมาออกแบบและสร้างสายอากาศถวาย ตามพระราชประสงค์ จนกระทั่งสายอากาศเหล่านั้นได้รับพระราชทานชื่อ สุธี ๑, สุธี ๒, สุธี ๓, สุธี ๔ และไส้กรอกหลวง
"ทฤษฎีใหม่" เป็นการบริหารจัดการที่ดินเพื่อเกษตรกร ให้มีสภาพการใช้งานที่สร้างความยั่งยืนมากกว่าการทำการเกษตร โดยไม่มีการแบ่งส่วนของที่ดิน เพื่อใช้ทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำ และเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ควบคู่ไปกับการเพาะปลูก เป็นต้น ฯลฯ
โครงการ "#แกล้งดิน" โดยทรงพบว่า ดินพรุเป็นดินเปรี้ยวจัด ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ จึงมีพระราชดำริว่า ควรแกล้งทำให้ดินเปรี้ยวจนถึงที่สุด แล้วทำ "วิศวกรรมย้อนรอย" หาทางปรับปรุงดินที่เปรี้ยวนั้น เพื่อจะได้รู้วิธีแก้ไข และป้องกันไม่ให้เกิดสภาพเปรี้ยวแบบที่เคยเป็น จากนั้นจึงมีการปรับปรุงดินเปรี้ยวโดยวิธีการต่างๆ จนทำให้พื้นดินที่เปล่าประโยชน์ และไม่สามารถทำอะไรได้ กลับฟื้นคืนสภาพที่สามารถทำการเพาะปลูกได้อีกครั้งหนึ่ง
ที่มา :FB : เพจพิทักษ์และเทิดทูนสถาบัน @ weareitteams