รอดตายด้วยพระบารมี! เผยวินาที ฮ.ตก พล.อ.วสิษฐ พึ่งพระสมเด็จจิตรลดา พระกำลังแผ่นดินที่ในหลวง ร.๙ ทรงกดลงพิมพ์ด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่นี่

เรื่องเล่าหนึ่งในหนังสือ”พ่อของแผ่นดิน’ของผม ได้จากหนังสือ “รอยพระยุคลบาท” บันทึกความทรงจำของพลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร น่าประทับใจมากครับ ท่านเล่าไว้ตอนหนึ่งว่า

 

รอดตายด้วยพระบารมี! เผยวินาที ฮ.ตก พล.อ.วสิษฐ พึ่งพระสมเด็จจิตรลดา พระกำลังแผ่นดินที่ในหลวง ร.๙ ทรงกดลงพิมพ์ด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง

"... ขณะที่เฮลิคอปเตอร์กำลังร่วงลงไปนั้น ผม (พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชร) มีความรู้สึกอย่างเดียวกับนักบิน คือนึกว่าตัวเองกำลังจะตายเพราะเครื่องบินตก ผมได้ยินทุกคนในเครื่องบินต่างสวดมนต์เสียงดังไม่ได้ศัพท์

ตัวผมเองนั้น ทำสิ่งที่ผมเชื่อว่าจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่ได้ทำก่อนตายคือ เอามือกุมพระเครื่ององค์เดียวที่ห้อยคออยู่แล้วร้องเรียกพระห้าองค์ที่ผมไหว้เป็นประจำคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จฯ (สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ)

 

  รอดตายด้วยพระบารมี! เผยวินาที ฮ.ตก พล.อ.วสิษฐ พึ่งพระสมเด็จจิตรลดา พระกำลังแผ่นดินที่ในหลวง ร.๙ ทรงกดลงพิมพ์ด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง

 

 

พระเครื่ององค์นั้น เป็นพระเครื่องที่ผมได้รับพระราชทานจากพระหัตถ์ของพระเจ้าอยู่หัว ในคืนวันหนึ่งใน พ.ศ. 2510 หลังจากที่รับพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำในวังไกลกังวล คือ“พระสมเด็จจิตรลดา” หรือ "พระกำลังแผ่นดิน” ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างเอง

 

คืนนั้น บนพระตำหนักเปี่ยมสุขในวังไกลกังวล จำได้ว่า พระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงมาพร้อมด้วยกล่องใส่พระเครื่องในพระหัตถ์ ขณะที่ทรงวางพระลงบนฝ่ามือที่ผมแบรับอยู่นั้น ผมมีความรู้สึกว่าองค์พระร้อนเหมือนเพิ่งออกจากเตา

 

ภายหลังเมื่อมีโอกาสกราบบังคมทูลถาม จึงทราบว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระเครื่องด้วยการนำวัตถุมงคลหลายชนิดผสมกัน เช่น ดินจากปูชนียสถานต่างๆ ทั่วประเทศ ดอกไม้ที่ประชาชนทูลเกล้าฯ ถวายในโอกาสต่างๆ และเส้นพระเจ้า (คือเส้นผม ของพระองค์เอง เมื่อผสมกันโดยใช้กาวลาเท็กซ์เป็นเครื่องยึดแล้ว จึงทรงกดพระแต่ละองค์ลงในพิมพ์ โดยไม่ได้เอาเข้าเตาหรือใช้ความร้อนชนิดใดๆ)

รอดตายด้วยพระบารมี! เผยวินาที ฮ.ตก พล.อ.วสิษฐ พึ่งพระสมเด็จจิตรลดา พระกำลังแผ่นดินที่ในหลวง ร.๙ ทรงกดลงพิมพ์ด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง

 

หลังจากที่เรา (นายตำรวจรวมแปดนายและนายทหารเรือหนึ่งนาย) รับพระราชทานพระแล้ว ทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราโชวาทมีความว่า พระที่พระราชทานนั้น ก่อนจะเอาไปบูชา ให้ปิดทองเสียก่อน แต่ให้ปิดเฉพาะข้างหลังพระเท่านั้น

 

พระราชทานพระบรมราชาธิบายด้วยว่า ที่ให้ปิดทองหลังพระก็เพื่อจะได้เตือนตัวเองว่า การทำความดีไม่จำเป็นต้องอวดใคร หรือประกาศให้ใครรู้ ให้ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ และถือว่าความสำเร็จในการทำหน้าที่เป็นบำเหน็จรางวัลที่สมบูรณ์แล้ว

 

... หลังจากที่ไปเร่ร่อนปฏิบัติหน้าที่อยู่ไกลห่างพระยุคลบาทเป็นเวลาประมาณหนึ่งปี ผมได้มีโอกาสกลับไปเฝ้าฯ ที่วังไกลกังวลอีก ความรู้สึกเมื่อได้เฝ้าฯ นอกจากความปีติยินดีที่ได้ใกล้พระยุคลบาทอีกครั้งหนึ่งแล้ว ก็มีความน้อยใจที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจ ลำบาก และเผชิญอันตรายนานาชนิด บางครั้งแทบเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ปรากฏว่ากรมตำรวจมิได้ตอบแทนด้วยบำเหน็จใดๆ ทั้งสิ้น

ก่อนเสด็จขึ้นคืนนั้น ผมจึงก้มลงกราบบนโต๊ะเสวย แล้วกราบบังคมทูลว่า ใคร่ขอพระราชทานอะไรสักอย่างหนึ่ง

พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า

“จะเอาอะไร?”

และผมก็กราบบังคมทูลอย่างกล้าหาญชาญชัยว่า จะขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตปิดทองบนหน้าพระที่ได้รับพระราชทานไป พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามเหตุผลที่ผมขอปิดทองหน้าพระ

ผมกราบบังคมทูลอย่างตรงไปตรงมาว่า พระสมเด็จจิตรลดาหรือพระกำลังแผ่นดินนั้น นับตั้งแต่ได้รับพระราชทานไปห้อยคอแล้ว ต้องทำงานหนักและเหนื่อยเป็นที่สุด เกือบได้รับอันตรายร้ายแรงก็หลายครั้ง มิหนำซ้ำกรมตำรวจยังไม่ให้เงินเดือนขึ้นแม้แต่บาทเดียวอีกด้วย

 

พระเจ้าอยู่หัวทรงแย้มพระสรวล (ยิ้ม) ก่อนที่จะมีพระราชดำรัสตอบด้วยพระสุรเสียงที่ส่อพระเมตตาและพระกรุณาว่า ปิดทองข้างหลังพระไปเรื่อยๆ แล้วทองจะล้นออกมาที่หน้าพระเอง...”

                                                                                                                            

หมายเหตุ: พระสมเด็จจิตรลดา เป็นพระเครื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กประมาณ ไม่เกิน ๓,๐๐๐องค์ พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และพลเรือน ตั้งแต่ใน พ.ศ.๒๕๐๘ จนสิ้นสุดใน พ.ศ.๒๕๑๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง มีเอกสารส่วนพระองค์ (ใบกำกับพระ) ซึ่งแสดงชื่อ นามสกุล วันที่รับพระราชทาน หมายเลขกำกับทุกองค์ โดยทรงมีพระราชดำรัสแก่ผู้รับพระราชทานว่า "ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมาแล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ"