ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมาย ได้ที่ http://www.tnews.co.th

หลวงพ่อไปล่ท่านมีกระแสจิตกล้าแข็ง คราวหนึ่งเจ้าคุณพระพุทธพยากรณ์ (เจริญ อุปวิกาโส) วัดอัปสรสวรรค์ (วัดหมู) ศิษย์เอกองค์หนึ่งของพระภาวนาโกศลเถร (หลวงปู่เอี่ยม) วัดหนัง ได้มานิมนต์ให้ไปนั่งปรกในงานหล่อพระ ท่านบอกว่าให้บอกเวลามาว่าพิธีจะเริ่มเมื่อไหร่ แล้วท่านก็นั่งทำสมาธิอยู่ที่กุฏิ โดยไม่ต้องเดินทางมาถึงวัด พอถึงเวลาปลุกเสก พระอาจารย์ที่นิมนต์มาจะเห็นร่างหลวงพ่อไปล่ปรากฏนั่งสมาธิอยู่ในพิธีด้วย เรื่องนี้เป็นที่โจษจันกันทั่วไป

ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ลูกศิษย์คนหนึ่งถูกเกณฑ์ไปร่วมรบได้มาขอของดีจากท่านเพื่อเอาไปคุ้มครองตัว ท่านได้เสกก้อนหินข้างทางรถไฟให้หนึ่งก้อน ศิษย์คนนั้นเห็นแล้วจะไม่เอาก็เกรงท่านจะว่า จึงนำหินก้อนนั้นถักลวดแขวนคอติดตัวไปสนามรบ ปรากฏว่าไม่เคยมีอันตรายและไม่เคยป่วยไข้ ปืนในสนามรบยิงมาเท่าไหร่ก็ไม่ถูกเลย

แม้จะละสังขาร สัปเหร่อยังเฉือนไม่เข้า.. "หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง"  ชี้แนะคาถากำแพงแก้ว ๗ ประการ คุ้มภัยได้ดีเยี่ยม.

หลวงพ่อไปล่ มรณภาพด้วยอาการอันสงบเมื่ออายุ ๗๙พรรษา ๕๙มีคนเล่าว่าแม้จะมรณภาพไปแล้ว หนังก็ยังเหนียว พวกสัปเหร่อเอามีดตบแต่งศพก็เฉือนไม่เข้า ต้องจุดธูปจุดเทียนบอกกล่าวขอขมา แม้กระนั้นก็ยังเฉือนไม่เข้า และศพก็แห้งไปเฉยๆ ไม่มีกลิ่นเน่าเหม็น ทั้งนี้ เพราะท่านรักษาศีลบริสุทธิ์นั่นเอง

แม้จะละสังขาร สัปเหร่อยังเฉือนไม่เข้า.. "หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง"  ชี้แนะคาถากำแพงแก้ว ๗ ประการ คุ้มภัยได้ดีเยี่ยม.

ในวันเผาศพมีผู้คนไปร่วมงานกันมากมายหลายจังหวัด ทั้ง คนใหญ่คนโต คนธรรมดาสามัญหลายชั้นวรรณะ และท่านได้แสดงอภินิหารให้เป็นที่ประจักษ์ โดยพวกศิษย์ได้นำพลุ ตะไล ไฟพะเนียง ดอกไม้เพลิงมาจุด ปรากฏว่าด้านหมดเนื่องจากท่านไม่ชอบเสียงอึกทึกครึกโครม แต่พองานเลิกได้นำมาจุดใหม่ เกิดดังสนั่นหวั่นไหว กลายเป็นเรื่องเล่าขานมาจนทุกวันนี้

แม้แต่กระดูกขี้เถ้าก็ถูกยื้อแย่งกันอุตลุดจนไม่มีเหลือ ก็เพราะเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์โดยแท้ สำหรับคาถาที่ หลวงพ่อไปล่ท่านภาวนาเป็นประจำคือ "คาถากำแพงแก้ว ๗ประการ" ท่องว่า"พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สัตตะระตะมะปะการัง อัมมหากัง สะระณังคัจฉามิ สุสุละละโสโส นะโมพุทธายะ พุทโธพระบังธัมโมพระบัง สังโฆพระบัง"

ให้ภาวนาก่อนนอนทุกคืน คุ้มภัยอันตรายได้ดี พวกศัตรูทำอะไรไม่ได้

แม้จะละสังขาร สัปเหร่อยังเฉือนไม่เข้า.. "หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง"  ชี้แนะคาถากำแพงแก้ว ๗ ประการ คุ้มภัยได้ดีเยี่ยม.

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพและที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

http://www.itti-patihan.com/

เผยแผ่บารมีเป็นสังฆบูชา และเทิดทูนเกียรติคุณครูบาอาจารย์