น้อยคนจะรู้!! เหตุผลที่ต้องอัญเชิญพระบรมอัฐิและพระอัฐิของราชวงศ์จักรีขึ้นยังพระวิมาน เผย..ความหลังอันแสนเจ็บปวด เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก!!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

น้อยคนจะรู้!! เหตุผลที่ต้องอัญเชิญพระบรมอัฐิและพระอัฐิของราชวงศ์จักรีขึ้นยังพระวิมาน เผย..ความหลังอันแสนเจ็บปวด เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก!!

            พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง และเชิญพระบรมอัฐิ จากพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง ไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เชิญพระบรมอัฐิ เข้าสู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สำหรับธรรมเนียมการประดิษฐานพระบรมอัฐิแลพระอัฐิของราชวงศ์จักรีนั้น เมื่อได้มีการถวายพระเพลิงพระบรมศพหรือพระราชทานเพลิงพระศพแล้วนั้นจะต้องดูว่าพระองค์นั้นทรงมีพระอิสริยยศในชั้นใดแล้วจึงนำไปประดิษฐานในสถานที่นั้นๆตามพระเกียรติ ส่วนพระมหากษัตริย์แล้วนั้น พระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์ไทยจะประดิษฐานอยู่ที่ คือ พระวิมาน

 

น้อยคนจะรู้!! เหตุผลที่ต้องอัญเชิญพระบรมอัฐิและพระอัฐิของราชวงศ์จักรีขึ้นยังพระวิมาน เผย..ความหลังอันแสนเจ็บปวด เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก!!

          หลายคนเกิดความสงสัยว่า เหตุใดต้องอัญเชิญพระบรมอัฐิขึ้นยังพระวิมาน น้อยคนนักที่จะรู้ถึงความเป็นมาของโบราณราชประเพณีนี้ หากย้อนไปเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา หลังจากทำการถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้วเสร็จ เจ้าพนักงานก็จะอัญเชิญพระบรมอัฐิเข้าประดิษฐานยังท้ายจรพระอุโบสถของวัดพระศรีสรรเพชญ (วัดประจำพระราชวังกรุงศรีอยุธยา) เมื่อครั้งตอนที่กรุงศรีอยุธยาแตกนั้น ข้าศึกเข้าปล้นทรัพย์สินของมีค่าแม้กระทั่งโกศพระบรมอัฐิของกษัตริย์ที่ทำจากทองคำก็เอาไปหมดเหลือเพียงแต่พระอัฐิที่เททิ้งไว้เรี่ยราดจนไม่รู้ว่าเป็นของพระองค์ใด จึงเป็นเหตุรัชกาลที่ ๑ ทรงมีพระราชดำริให้อันเชิญพระบรมอัฐิไว้ใกล้กับห้องบรรทมที่สุด

 

น้อยคนจะรู้!! เหตุผลที่ต้องอัญเชิญพระบรมอัฐิและพระอัฐิของราชวงศ์จักรีขึ้นยังพระวิมาน เผย..ความหลังอันแสนเจ็บปวด เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก!!

          ธรรมเนียมการเก็บรักษาพระบรมอัฐิ และพระอัฐิของพระราชวงศ์จักรีนั้นค่อนข้างที่จะแตกต่างไปจากธรรมเนียมการเก็บรักษาพระบรมอัฐิของพระราชวงศ์กรุงศรีอยุธยา เนื่องจากในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น หลังจากทำการถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้วเสร็จ เจ้าพนักงานก็จะอัญเชิญพระบรมอัฐิเข้าประดิษฐานยังท้ายจรพระอุโบสถของวัดพระศรีสรรเพชญ(วัดประจำพระราชวังกรุงศรีอยุธยา) ซึ่งต่างจากการเก็บรักษาพระบรมอัฐิของพระราชวงศ์จักรี เพราะเมื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฏา(น้องชายของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑) ได้อัญเชิญโกศอัฐิของผู้เป็นพ่อตามเข้ามายังพระบรมหาราชวังด้วย เมื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ทอดพระเนตรเห็นก็ทรงพระราชดำริว่า ตัวท่านเองรวมถึงพระพี่นาง และน้องๆอีกหลายพระองค์ไม่มีโอกาสได้ปลงศพพ่อ เพราะตอนนั้นบ้านเมืองเป็นทุรยศ เหล่าพี่น้องต่างก็กระจัดกระจายไปกันหมด เมื่อมารวมตัวกันได้ต่างก็อยากจะจัดงานสมโภชอัฐิให้พ่ออย่างสมเกียรติ

            พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสถาปนาอัฐิของพ่อขึ้นเป็นเจ้านายในพระราชวงศ์ แลให้สร้างพระเมรุมาศองค์ใหญ่ตามโบราณราชประเพณีเทียบเท่ากับกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ณ ท้องสนามหลวง เมื่องานถวายพระเพลิงจบสิ้นลง พระองค์จึงมีพระราชดำริว่า หากจะนำพระบรมอัฐิของพ่อไปประดิษฐานไว้ท้ายจรพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือตามพระอารามหลวงนั้น เห็นทีจะเป็นการลำบากในภายหน้า เพราะเมื่อตอนที่กรุงศรีอยุธยาแตกนั้น ข้าศึกเข้าปล้นทรัพย์สินของมีค่าแม้กระทั่งโกศพระบรมอัฐิของกษัตริย์ที่ทำจากทองคำก็เอาไปหมดเหลือเพียงแต่พระอัฐิที่เททิ้งไว้เรี่ยราดจนไม่รู้ว่าเป็นของพระองค์ใด เพราะเหตุนี้พระองค์จึงอัญเชิญพระบรมอัฐิเข้ามาไว้ในพระมหามณเฑียรใกล้ห้องพระบรรทม เพื่อหากภายภาคหน้าข้าศึกเกิดเข้าประชิดกำแพงวัง ก็จะเป็นการง่ายที่พระองค์จะหยิบฉวยติดมือไปด้วย

 

น้อยคนจะรู้!! เหตุผลที่ต้องอัญเชิญพระบรมอัฐิและพระอัฐิของราชวงศ์จักรีขึ้นยังพระวิมาน เผย..ความหลังอันแสนเจ็บปวด เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก!!

            เมื่อถึงแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ พระองค์ไม่ได้เข้าประทับที่พระมหามณเฑียรแล้ว เพราะพระองค์ได้สร้างพระมหาปราสาทที่ชื่อว่า “พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท” เมื่อสร้างแล้วเสร็จพระองค์จึงมีพระประสงค์ให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ และของสมเด็จพระเทพศิรินทร์ ผู้เป็นพระชนก และพระชนนี รวมไปถึงพระราชวงศ์ชั้นสูงขึ้นไปประดิษฐานใต้มุขยอดมหาปราสาท แล้วเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า "พระวิมาน" จากนั้นเป็นต้นมา พระวิมานแห่งนี้ก็เป็นสถานที่เก็บพระบรมอัฐิของพระเจ้าอยู่หัว พระอัครมเหสี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงมาโดยตลอดจวบจนถึงพระบรมอัฐิของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ

             อนึ่ง พระมหามณเฑียรนั้น เป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างมาตั้งแต่ต้นกรุง ลักษณะเป็นหมู่พระที่นั่งใหญ่ชั้นเดียว อันประกอบไปด้วย ตอนหน้าของพระมหามณเฑียรคือ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยฯ ตอนกลางคือพระที่นั่งไพศาลทักษิณ และตอนในคือพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน หมู่พระที่นั่งเหล่านี้อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

 

น้อยคนจะรู้!! เหตุผลที่ต้องอัญเชิญพระบรมอัฐิและพระอัฐิของราชวงศ์จักรีขึ้นยังพระวิมาน เผย..ความหลังอันแสนเจ็บปวด เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก!!

รายพระนามพระบรมอัฐิ และพระอัฐิที่ประดิษฐานยังพระวิมานองค์กลาง

๑. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
๒. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
๓. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
๔. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
๕. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘
๖. สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๔
๗. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถฯ ในรัชกาลที่ ๕
๙. สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีฯ ในรัชกาลที่ ๕
๑๐. สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗
๑๑. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรฯพระบรมราชชนก 
๑๒. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 
๑๓. สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ
๑๔. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ

น้อยคนจะรู้!! เหตุผลที่ต้องอัญเชิญพระบรมอัฐิและพระอัฐิของราชวงศ์จักรีขึ้นยังพระวิมาน เผย..ความหลังอันแสนเจ็บปวด เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก!!

            ส่วนสำหรับสถานที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหาอุปราช(รวมไปถึงพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) และพระราชโอรสพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์พระบรมวงศ์ชั้นสูงในราชวงศ์จักรีนั้นส่วนใหญ่จะประดิษฐานในหอพระนาก วัดพระแก้ว ซึ่งเป็นสถานที่รวมพระบรมอัฐิมากที่สุดในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังต่อมา การเก็บรักษาพระอัฐิของเจ้านายต่างๆนั้นจะเก็บไว้ในวังของเจ้านายในราชสกุลนั้นๆ วัดหลวงต่างๆ รวมไปถึงคนในราชสกุลนั้นจะเก็บรักษาไว้เอง 

            หอพระนาก ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของพระอุโบสถ ใกล้กับพระวิหารยอดตรงกันข้ามกับ หอพระมณเฑียรธรรม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นในระยะที่ ๒ ของการสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อขยายเขตพระระเบียงออกไปทางด้านทิศเหนือ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อและแผลงด้วยนาก ซึ่งอัญเชิญมาจากพระนครศรีอยุธยา และถือพระนากเป็นพระประธานในการ "เปตพลี" (การอุทิศกุศลแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว) ลักษณะของหอพระนากในรัชกาลนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีรูปร่างอย่างไร

 

น้อยคนจะรู้!! เหตุผลที่ต้องอัญเชิญพระบรมอัฐิและพระอัฐิของราชวงศ์จักรีขึ้นยังพระวิมาน เผย..ความหลังอันแสนเจ็บปวด เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก!!

           ในสมัยรัชกาลที่ ๓ หอพระนากคงจะชำรุดทรุดโทรมจึงโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแปลงหอพระนาก แล้วประดิษฐานพระพุทธรูปต่างๆ หลายสิบองค์ มีทั้งหุ้มทองบ้าง หุ้มเงินบ้าง หุ้มนากบ้าง รวมทั้งรูปพระเชษฐบิดร คือรูปสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ซึ่งสร้างกรุงศรีอยุธยา ที่แปลงเป็นพระพุทธรูปแล้วนั้นก็ประดิษฐานอยู่ด้วย ส่วนพระอัฐิเจ้านายนั้นเก็บอยู่ในตู้ผนังด้านหลังพระวิหาร

           ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อเตรียมงานสมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เมื่อครั้งดำรงพระอิศริยยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการปฏิสังขรณ์หอพระนาก ซ่อมแซมช่อฟ้า ใบระกา และหลังคา รวมทั้งลงรักปิดทองซุ้มประตูหน้าต่างภายนอกทั้งหมด ตลอดจนเขียนผนังเพดาน ทำตู้ ปูพื้น และทำพระโกศทรงพระอัฐิในหอพระนากทั้งหมด ส่วนพระพุทธรูปทั้งหมดที่ประดิษฐานอยู่ในหอพระนาก โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระวิหารยอด อย่างไรก็ตามด้วยความเคยชินที่เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปแผลงด้วยนากเช่นนี้ จึงยังคงเรียกว่า "หอพระนาก" มาตราบจนทุกวันนี้

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ คลังประวัติศาสตร์ไทย (https://www.facebook.com/ThailandHistoricalArchives/)

                          เพจ ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรสยาม

                          https://th.wikipedia.org/wiki/หอพระนาก