น้อมกราบรำลึก!! วันละสังขาร สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เปิด..นิมิตหลวงปู่มั่น สมเด็จฯกอดตู้พระไตรปิฎกแน่น แกะเท่าไหร่ก็แกะไม่ออก

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

น้อมกราบรำลึก!! วันละสังขาร สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เปิด..นิมิตหลวงปู่มั่น สมเด็จฯกอดตู้พระไตรปิฎกแน่น แกะเท่าไหร่ก็แกะไม่ออก

             สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะสงฆ์ เช่น ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช สังฆมนตรี รองประธานสังฆสภา กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นต้น

      สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีนามเดิมว่า พิมพ์ แสนทวีสุข เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๐ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ที่บ้านสว่าง ตำบลสว่าง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายทองกับนางนวล แสนทวีสุข เมื่อโตขึ้นได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดบ้านม่วงและโรงเรียนอุบลวิทยาคมตามลำดับจนจบชั้นมูล ข (เทียบเท่า ม.๒) เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๗ ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระราชมุนี (อ้วน ติสฺโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) เป็นสรณคมนาจารย์ และอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๐ ณ อุทกุกเขปสีมาในแม่น้ำมูล ที่บ้านโพธิ์ตาก ตำบลพิบูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระราชมุนี (อ้วน ติสฺโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า ธมฺมธโร

น้อมกราบรำลึก!! วันละสังขาร สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เปิด..นิมิตหลวงปู่มั่น สมเด็จฯกอดตู้พระไตรปิฎกแน่น แกะเท่าไหร่ก็แกะไม่ออก

            สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) ได้กราบนมัสการพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ครั้งแรกตั้งแต่สมัยที่ท่านบวชเป็นสามเณรที่วัดสุปปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งใน พ.ศ.๒๔๕๗ นั้น ท่านพระอาจารย์มั่นได้พำนักที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี

            พ.ศ.๒๔๖๐ สมเด็จฯ อุปสมบทเป็นพรรษาแรกนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นมีความประสงค์จะให้สมเด็จฯ ออกปฏิบัติธุดงค์ แต่ต่อมาท่านพระอาจารย์มั่นได้นิมิตเกี่ยวกับสมเด็จฯ ว่า "สมเด็จกอดตู้พระไตรปิฎกแน่น ท่านพระอาจารย์มั่นแกะมือสมเด็จฯ ออกจากตู้พระไตรปิฎก แม้ว่าแขนทั้งสองจะหลุดออกมา แต่ขาทั้งสองของสมเด็จฯ ยังเกาะเกี่ยวตู้พระไตรปิฎกอยู่ ท่านพระอาจารย์มั่นพยายามดึงอย่างไรก็ไม่ออก" เมื่อพิจารณาแล้ว ท่านพระอาจารย์มั่นก็ปล่อยให้สมเด็จฯ ศึกษาด้านพระปริยัติธรรมต่อจนสำเร็จนักธรรมชั้นตรีที่สำนักวัดสุปัฏนาราม

            จากนั้น สมเด็จฯ เข้ามาศึกษาต่อที่วัดบรมนิวาส ๑ พรรษา สอบเปรียญ ๓ ประโยคได้แล้วจึงย้ายมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ.๒๔๖๖ ถึง พ.ศ.๒๔๗๐ จนกระทั่งสอบได้เปรียญ ๖ ประโยค ช่วยกิจพระศาสนาตลอดมา ท่านแต่งหนังสือได้ ๒ เล่ม คือ ปัณณกวิธี และ คู่มือการเรียนไวยากรณ์ โดยให้โรงพิมพ์จัดพิมพ์และจำหน่าย หนังสือได้พิมพ์เผยแพร่หลายครั้งด้วยกัน ต่อมาภายหลังเจ้าของโรงพิมพ์เคยมาชักชวนให้ท่านลาสิกขา

 

น้อมกราบรำลึก!! วันละสังขาร สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เปิด..นิมิตหลวงปู่มั่น สมเด็จฯกอดตู้พระไตรปิฎกแน่น แกะเท่าไหร่ก็แกะไม่ออก

           ในขณะนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นได้เข้ามาพักที่วัดปทุมวนาราม พระนคร ได้เข้ามาเยี่ยมสมเด็จฯ (ซึ่งเป็นพระมหาพิมพ์) หลังจากที่สมเด็จฯ กราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว ท่านพระอาจารย์มั่นได้กล่าวขึ้นว่า

"ท่านมหาอย่าคิดนอกลู่นอกทาง ตังอกตั้งใจเรียนหนังสือช่วยพระศาสนา ช่วยหมู่คณะต่อไปอนาคต"

ความคิดทั้งหมดที่มีอยู่ภายในจิตใจของสมเด็จฯ ที่คิดจะลาสิกขานั้น ท่านพระอาจารย์มั่นทราบหมดทุกอย่าง ท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์อบรมสมเด็จฯ จนท่านเลิกล้มที่จะลาสิกขา ต่อมาสมเด็จฯ ท่านปรารภว่า

"ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราคิดอยู่ในจิตใจนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นทราบหมดทุกอย่าง เราเคารพท่านพระอาจารย์มั่นมากเหมือนพ่อแม่บังเกิดเกล้า และเราก็กลัวท่านมาก"

             พ.ศ.๒๔๘๐ ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ คณะสงฆ์มีความเห็นไม่ลงรอยกันในบางเรื่อง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศ โปรดให้สมเด็จฯ ไปกำกับดูแลที่วัดเจดีย์หลวง ให้เกิดความสามัคคีภายในวัด พรรษาแรกที่สมเด็จฯ ไปอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงนั้น คณะสงฆ์ยังไม่สามารถปรองดองกันได้ ทำให้สมเด็จฯ คิดหนักใจในเรื่องนี้ ประกอบกับท่านมีผู้คุ้นเคยเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และเป็นเจ้าเมืองทางเหนือหลายคนมาชวนท่านลาสิกขาไปรับราชการ ความคิดท่านในขณะนั้นเห็นว่า "ถ้ากลับไปวัดบวรนิเวศ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าที่ทรงมอบหมายงานให้ทำแต่ไม่สำเร็จนั้น คงไม่พอพระทัย" ครั้นจะกลับไปอยู่อุบลราชธานี บ้านเกิด ก็คิดว่า “เราคงจะโง่มากเกินไป” ท่านตัดสินใจว่าจะลาสิกขาเพื่อรับราชการทางเมืองเหนือ หลังจากปวารณาออกพรรษาแล้ว

 

น้อมกราบรำลึก!! วันละสังขาร สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เปิด..นิมิตหลวงปู่มั่น สมเด็จฯกอดตู้พระไตรปิฎกแน่น แกะเท่าไหร่ก็แกะไม่ออก

            ในวันหนึ่ง ท่านเตรียมลาสิกขา โดยท่านตั้งใจว่าเช้าวันรุ่งขึ้นท่านจะลาสิกขา และคืนวันนั้น ประมาณตี ๓ กว่า ท่านพระอาจารย์มั่นมาเคาะประตูกุฏิ สมเด็จฯ เห็นท่านพระอาจารย์มั่น ก็ตกใจมาก หน้าซีด เปิดประตูมือไม้สั่น ซึ่งขณะนั้นท่านพระอาจารย์มั่นได้มาพำนักบริเวณชานเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ปัจจุบันคือวัดสันติธรรม) ท่านจึงครองจีวรแล้วกราบองค์ท่านพระอาจารย์มั่น คำแรกที่ท่านพระอาจารย์มั่นพูดขึ้นคือ

"ท่านเจ้าคุณอย่าคิดนอกลู่นอกทาง งานทั้งหมดที่ท่านทำอยู่เวลานี้จะต้องสำเร็จหมดทุกอย่าง" 

             ท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์อบรมสมเด็จฯ จากตี ๓ กว่า ถึง ๘ โมงเช้า เรื่องอะไรที่สมเด็จฯ คิดในขณะที่สมเด็จฯ จำพรรษาที่วัดเจดีย์หลวงนั้น เหตุการณ์ทุกอย่างท่านพระอาจารย์มั่นทราบหมด เพราะท่านอาจารย์มั่นเล่าให้สมเด็จฯ ฟังว่าสมเด็จฯ คิดอะไรอยู่และจะทำอะไร ท่านพระอาจารย์มั่นบอกหมดทุกเรื่อง อธิบายหมดทุกอย่าง จนสมเด็จฯ รับปากกับท่านพระอาจารย์มั่นในทุกๆ เรื่อง และท่านไม่กล้าคิดลาสิกขาอีกเลยนับแต่นั้นมา

             มีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในเพศบรรพชิตของสมเด็จฯ ที่ได้เกี่ยวข้องกับท่านพระอาจารย์มั่นอยู่เสมอ ท่านพระอาจารย์มั่นได้มาช่วยเหลือค้ำจุนสมเด็จฯ ให้อยู่ในเพศพรหมจรรย์ได้ตลอด ชีวิตในร่มพระบวรพุทธศาสนา ซึ่งต่อมาสมเด็จฯ ได้ทำคุณประโยชน์และเป็นกำลังสำคัญของพระกัมมัฏฐานสายท่านพระอาจารย์มั่นเป็นอย่างมาก เหมือนคู่บารมีที่ต้องอุปถัมภ์เกื้อกูลกันมาตลอดเป็นดังเช่น "ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา" บุญที่เคยร่วมกันมาทั้งชาติปางก่อนและปัจจุบัน

           

น้อมกราบรำลึก!! วันละสังขาร สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เปิด..นิมิตหลวงปู่มั่น สมเด็จฯกอดตู้พระไตรปิฎกแน่น แกะเท่าไหร่ก็แกะไม่ออก

            สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม สอบได้สำเร็จภูมิเปรียญธรรม ๖ ประโยค ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระราชาคณะสามัญถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ เป็นลำดับมา รับ ภาระพระพุทธศาสนา ประกอบศาสนกิจเพื่อให้เป็นหิตานุหิตประโยชน์ แก่พุทธจักรและอาณาจักร และ รักษาสมณวัตร ระเบียบปฏิบัติ ประเพณีราชการมาโดยเรียบร้อย 

        ในด้านการปกครอง ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ เจ้าคณะอำเภอบางเขน ผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา รองเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ผู้ช่วยเจ้าคณะตรวจการภาค ๓ และ ๔ เจ้าคณะธรรมยุตผู้ช่วยภาค ๓-๔-๕ เจ้าคณะธรรมยุตภาค ๓-๔-๕ เจ้าคณะภาค ๘,๙,๑๐,๑๑ สมาชิกสังฆสภา สังฆมนตรี กรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต กรรมการคณะธรรมยุต เป็นพระอุปัชฌาย์ รองประธานสังฆสภา เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๕ เป็น แม่กองงานพระธรรมทูต และเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ สมเด็จพระสังฆราช ๓ ครั้ง นับแต่รับภาระธุระบริหารการคณะมาตลอดกาล ๔๑ ปี ไม่เคยลาออกและลาพัก 

 

น้อมกราบรำลึก!! วันละสังขาร สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เปิด..นิมิตหลวงปู่มั่น สมเด็จฯกอดตู้พระไตรปิฎกแน่น แกะเท่าไหร่ก็แกะไม่ออก

         ในด้านการศึกษา เป็นอุเทศาจารย์สอนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกธรรมและบาลี เป็นกรรมการ ตรวจธรรมสนามหลวง กรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวง เป็นผู้แทนรองแม่กองธรรมประจำ มณฑล อำนวยการสอบและตรวจธรรมสนามหลวง เป็นผู้จัดการศึกษาพระปริยัติธรรม เป็นครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูพระภิกษุวัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา และจัดตั้งโรงเรียนบาลมัธยมสมทบ สอบสำหรับพระภิกษุสามเณร เป็นกรรมการบริหารงานสภาการศึกษาของคณะสงฆ์ สอนศีลธรรม จรรยานักเรียน และสอนธรรมศึกษาแก่คณะครู 

         ในด้านการเผยแผ่ เป็นพระคณาจารย์เอกในทางเทศนา เอาใจใส่เทศนาสั่งสอนศีลธรรม จรรยาแก่ประชาชน จัดการอบรมศีลธรรมจรรยาแก่นักเรียน และให้แสดงตนเป็นพุทธมามกะโดย พระราชนิยม เป็นกรรมการจัดรายการกระจายเสียงในวันธรรมสวนะ กรมประชาสัมพันธ์ จัดให้ อุบาสกอุบาสิกามีประเพณี "อุโบสถสามัคคี" อบรมให้เกิดศรัทธาปสาทะในพระศาสนา และให้ประพฤติ ปฏิบัติชอบตามวัตถุประสงค์แห่งพระศาสนา รจนาหนังสือเกี่ยวกับหลักวิชาและศีลธรรม เช่น สากล ศาสนา ปัณณกเทศนาวิธี มงคลยอดชีวิต โลกานุศาสนี บทสร้างนิสัย และเรื่องอื่นอีก พิมพ์แจกจ่าย และอ่านทางวิทยุกระจายเสียงเพื่อให้ประชาชนได้อ่านและฟัง ถือปฏิบัติอบรมตนให้เป็นพลเมืองดี เป็น หัวหน้าคณะอบรมข้าราชการและประชาชนในเขต ภาค ๓-๔ เป็น ๒ ครั้ง

          ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ พระมหาพิมพ์ ธมฺมธโร ได้ไปดูแลกิจการคณะสงฆ์ที่วัดสุทธจินดาวรวิหาร จังหวัดนครราชสีมา ถึงปี พ.ศ.๒๔๘๐ ท่านถูกส่งไปดูแลคณะสงฆ์ที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ แล้วไปจัดการคณะสงฆ์ที่แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ จากนั้นย้ายมาอยู่วัดแสนสำราญ จังหวัดอุบลราชธานี จนกระทั่งรัฐบาลตั้งวัดพระศรีมหาธาตุขึ้น ท่านได้รับมอบหมายให้มาเป็นรองเจ้าอาวาส เมื่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เจ้าอาวาสมรณภาพ ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแทนสืบมาจนถึงแก่มรณภาพ  สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มรณภาพเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๗ เวลา ๐๙.๑๐ น. สิริรวมอายุ ๗๗ ปี พรรษา ๕๗

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://board.palungjit.com

                           เพจ เกร็ดธรรมะ ประวัติ พระกรรมฐาน

                           https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระมหาวีรวงศ์_(พิมพ์_ธมฺมธโร)