น้ำพระทัยแห่งพระพุทธเจ้าหลวง!! จากลายครามจีนสู่ชื่อบ้านนามเมืองแห่งสยาม นามมงคลพระราชทาน "ถนนรอบพระราชวังดุสิต" ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน !!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

น้ำพระทัยแห่งพระพุทธเจ้าหลวง!! จากลายครามจีนสู่ชื่อบ้านนามเมืองแห่งสยาม นามมงคลพระราชทาน "ถนนรอบพระราชวังดุสิต" ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน !!

              ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ประมาณปี ๒๔๓๐ มีกระแสนิยมเครื่องลายครามจีนอันอย่างมาก ถึงกระทั่งว่ามีการจัดประกวดกันอย่างคึกคักโดยจัดการประกวดขึ้นแบไทยๆ ถึงกับเกิดพระราชบัญญัติการตัดสินเกิดขึ้น นอกจากนี้ เมื่อในปี ๒๔๔๑ แพทย์ประจำพระองค์ได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ว่า ในพระบรมมหาราชวังที่ประทับนั้น มีพระตำหนักนั้นมีคาวมแออัดปิดทางลม อบอ้าว เป็นเหตุทำให้พระเจ้าอยู่หัวทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ประชวรอยู่เป็นประจำ จึงควรเสด็จประพาสไปประทับในที่โล่งแจ้งบ้าง จึงโปรดเกล้าฯให้ซื้อที่ชายทุ่งระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมไปจดคลองสามเสน แล้วสร้างพลับพลาที่ประทับชั่วคราวขึ้น รับสั่งว่าที่นี่เย็นสบายดี พระราชทานนามว่า "สวนดุสิต" ซึ่งเป็น พระราชวังสวนดุสิตในปัจจุบัน และในขณะที่มีการสร้างพระราชวังดุสิตนี้ เป็นช่วงเวลาที่ กระแสเครื่องลายครามจีน กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ด้วยเหตุนี้เอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าพุทธเจ้าหลวง จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามของถนนรอบพระราชวังดุสิต เป็นชื่อของ ชุดลายครามจีนทั้งหมด 

 

น้ำพระทัยแห่งพระพุทธเจ้าหลวง!! จากลายครามจีนสู่ชื่อบ้านนามเมืองแห่งสยาม นามมงคลพระราชทาน "ถนนรอบพระราชวังดุสิต" ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน !!

             เช่น ถนนบรรทัดทอง ประแจจีน สะพานขาว ถนนสังคโลก สะพานซางฮี้ ฯลฯ ชื่อเหล่านี้ อาจฟังแปลกหู แต่คือชื่อถนนที่หลงเหลือมาจากเมื่อครั้งล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ สร้างพระราชวังดุสิต มีการสร้างถนน และสะพาน เชื่อมต่อสู่ภายนอกหลายเส้นหลายสาย ในขณะนั้น ในราชสำนักกำลังนิยมเล่นเครื่องโต๊ะลายคราม หรือที่เรียกว่า เครื่องกิมตึ๋ง ซึ่งมาจากยี่ห้อ 金堂福記 กิมตึ้งฮกกี่ ในเมืองจีน ผู้ผลิตเครื่องถ้วยลายครามที่เจ้านายและขุนนางในกรุงสยามนิยมสั่งเข้ามาเล่นกันในยุคนั้น รัชกาลที่ ๕ ซึ่งทรงมีพระราชนิยมในเครื่องโต๊ะเหมือนหัน จึงทรงพระราชทานนามถนน สะพานต่างๆ เหล่านี้ตามชื่อ ลาย และ สีเครื่องถ้วย เช่น ลายบรรทัดทอง ประแจจีน ลายฮก ลก ซิ่ว หลายๆ ชื่อ เปลี่ยนไปแล้วในปัจจุบัน

       ต่อมา ใน สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีประกาศให้เปลี่ยนชื่อ ถนนโดยรอบพระบรมมหาราชวัง จำนวน ๑๕ สาย ได้แก่ .... 

๑.ถนนซังฮี้  เกี่ยวพันกับเครื่องกิมตึ้ง ซึ่งเป็นชื่อเครื่องถ้วยชามของประเทศจีน ซังฮี้ แปลว่า ความยินดี มา ๒ อย่างพร้อมกัน ซัง แปลว่า คู่ ฮี่ แปลว่า ความยินดี เช่น ได้ลูกชาย พร้อมกับได้เลื่อนตำแหน่ง อย่างนี้ เรียก ซังฮี้ (ความยินดี มา ๒ อย่างพร้อมกัน) ต่อมา ร.๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อไปเป็น "ถนนราชวิถี"

 

น้ำพระทัยแห่งพระพุทธเจ้าหลวง!! จากลายครามจีนสู่ชื่อบ้านนามเมืองแห่งสยาม นามมงคลพระราชทาน "ถนนรอบพระราชวังดุสิต" ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน !!

 

๒.ถนนฮก มาจากเครื่องลายครามที่เป็นเทพเจ้าถือม้วนกระดาษหรืออุ้มเด็กด้วย หมายถึงความสุขสมหวัง มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนศรีอยุธยาเขตดุสิต บริเวณวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ไปถึงคลองคลองผดุงกรุงเกษม เป็นถนนที่อยู่ในเขตดุสิตตลอดทั้งสาย ถนนนครปฐมรวมระยะทางได้ ๐.๖๖๘ กิโลเมตร ความกว้างถนน ๒๓.๐๐ เมตร ต่อมา ร.๖ ทรงโปรดเกล้าให้เปลี่ยนชื่อเป็น "ถนนนครปฐม"

น้ำพระทัยแห่งพระพุทธเจ้าหลวง!! จากลายครามจีนสู่ชื่อบ้านนามเมืองแห่งสยาม นามมงคลพระราชทาน "ถนนรอบพระราชวังดุสิต" ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน !!

 

๓.ถนนลก  ชื่อถนนลกเป็นภาษาจีนมาจากชื่อภาพเครื่องลายครามที่มีภาพลก คือ เทพเจ้าจีนใส่หมวกมีใบพัด ๒ ข้าง หรือกวางอยู่ด้วย กวางกับหมวกนั้นมีความหมายว่าเกียรติยศ ซึ่งเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นถนนในโครงการถนนอำเภอดุสิต โดยได้ทรงริเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระราชวังดุสิตใน พ.ศ. ๒๔๔๑ ต่อมา ร.๖ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนลก ตั้งแต่ถนนลูกหลวงถึงถนนเตชะวณิช เพราะมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ซึ่งพระราชทานนามว่า "ถนนพระรามที่ ๕"

 

น้ำพระทัยแห่งพระพุทธเจ้าหลวง!! จากลายครามจีนสู่ชื่อบ้านนามเมืองแห่งสยาม นามมงคลพระราชทาน "ถนนรอบพระราชวังดุสิต" ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน !!

 

๔.ถนนซิ่ว มาจากลายครามที่มักเป็นรูปชายชราศีรษะล้านและงอกสูงขึ้นไป หนวดเคราขาว ถือผลท้อและไม้เท้า ยืนอยู่ใต้ต้นสนใหญ่ ซึ่งต้นสน ผลท้อ และความชรา หมายถึงความเป็นผู้มีอายุยืน ตัดจากสะพานยมราชขนานทางรถไฟไปถึงคลองสามเสน  โปรดเกล้าให้เปลี่ยนชื่อเป็น “ถนนสวรรคโลก”

น้ำพระทัยแห่งพระพุทธเจ้าหลวง!! จากลายครามจีนสู่ชื่อบ้านนามเมืองแห่งสยาม นามมงคลพระราชทาน "ถนนรอบพระราชวังดุสิต" ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน !!

 

๕.ถนนดวงตะวัน ชื่อถนนมาจากเครื่องลายครามของจีนที่มีภาพดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นจากทะเล มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนราชปรารภ เขตราชเทวี ไปสิ้นสุดที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ร.๖ โปรดเกล้าให้เปลี่ยนเป็น "ถนนศรีอยุธยา"

น้ำพระทัยแห่งพระพุทธเจ้าหลวง!! จากลายครามจีนสู่ชื่อบ้านนามเมืองแห่งสยาม นามมงคลพระราชทาน "ถนนรอบพระราชวังดุสิต" ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน !!

 

๖. ถนนดวงเดือน จากเครื่องลายครามที่มีรูปพระจันทร์ ที่มีพลังอำนาจทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลง หมายถึงบันดาลโชคลาภให้ขึ้นลงได้ คนจีนจึงมีประเพณีไหว้พระจันทร์ ตัดจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปจดถนนซิ่ว เปลี่ยนชื่อเป็น "ถนนศุโขทัย"

น้ำพระทัยแห่งพระพุทธเจ้าหลวง!! จากลายครามจีนสู่ชื่อบ้านนามเมืองแห่งสยาม นามมงคลพระราชทาน "ถนนรอบพระราชวังดุสิต" ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน !!

 

 

๗.ถนนดวงดาว มาจากเครื่องลายครามที่มีลายดาว ในนิยายจีนมักกล่าวถึงดาวที่เป็นเซียนต่าง ๆ เช่น ไท้แป๊ะกิมแซ "แซ" แปลว่า ดาว มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนลูกหลวง (แยกประชาเกษม) ไปสิ้นสุดที่ถนนอำนวยสงคราม (แยกร่วมจิตต์) ใกล้ที่ทำการไปรษณีย์ดุสิต ร.๖ โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น "ถนนนครราชสีมา"

น้ำพระทัยแห่งพระพุทธเจ้าหลวง!! จากลายครามจีนสู่ชื่อบ้านนามเมืองแห่งสยาม นามมงคลพระราชทาน "ถนนรอบพระราชวังดุสิต" ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน !!

 

๘.ถนนพุดตาน มาจากเครื่องลายครามลายดอกพุดตานหรือดอกโบตั๋น ซึ่งจีนถือเป็นดอกไม้วิเศษ ต้นไม้อื่นรอบด้านจะโน้มหรือหันดอกเข้าหา ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจวาสนา มีเส้นทางตัดจากถนนซางฮี้ไปถึงคลองสามเสน ร.๖ ทรงโปรดเกล้าฯให้ เปลี่ยนชื่อเป็น "ถนนพิชัย"

 

น้ำพระทัยแห่งพระพุทธเจ้าหลวง!! จากลายครามจีนสู่ชื่อบ้านนามเมืองแห่งสยาม นามมงคลพระราชทาน "ถนนรอบพระราชวังดุสิต" ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน !!

 

๙.ถนนเบญจมาศ มาจากเครื่องลายครามที่มีลายดอกเบญจมาศ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีกลีบสลับซับซ้อน แสดงถึงความมั่งคั่ง เส้นทางตั้งแต่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ ไปจนถึงถนนศรีอยุธยา (ทางแยกหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า) โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อเป็น "ถนนราชดำเนิน" (ส่วนราชดำเนินนอก)

 

น้ำพระทัยแห่งพระพุทธเจ้าหลวง!! จากลายครามจีนสู่ชื่อบ้านนามเมืองแห่งสยาม นามมงคลพระราชทาน "ถนนรอบพระราชวังดุสิต" ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน !!

 

๑๐.ถนนประทัดทอง มาจากชื่อเครื่องลายครามที่มีภาพต้นประทัดทอง ภายหลังเรียกเพี้ยนเป็นบรรทัดทอง เป็นเส้นทางแยกจากถนนจรัสเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงถนนเตชะวณิช (สามแยกวัดสะพานสูง) ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น "ถนนพระรามที่๖"

 

น้ำพระทัยแห่งพระพุทธเจ้าหลวง!! จากลายครามจีนสู่ชื่อบ้านนามเมืองแห่งสยาม นามมงคลพระราชทาน "ถนนรอบพระราชวังดุสิต" ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน !!

 

๑๑.ถนนส้มมือ มาจากเครื่องลายครามที่เป็นภาพส้มมือ ซึ่งถือเป็นโอสถที่ทำให้อายุยืน เช่นเดียวกับผลท้อ เส้นทางตัดจากถนนสุโขทัยถึงคลองสามเสน ต่อมา ร.๖ โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น “ถนนสุพรรณ”

๑๒.ถนนใบพร มาจากมาจากเครื่องลายครามที่มีใบคล้ายว่าน เส้นทางจาก เริ่มตั้งแต่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจนถึงถนนราชวิถี ตัดหน้ารัฐสภา (ทางแยกอู่ทองใน) ส่วนถนนอู่ทองนอกมีระยะทางเริ่มตั้งแต่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนนครราชสีมา (ทางแยกอู่ทองนอก) ไปสิ้นสุดที่ถนนสามเสน โปรดเกล้าเปลี่ยนชื่อ เป็น "ถนนอู่ทองใน"

 

น้ำพระทัยแห่งพระพุทธเจ้าหลวง!! จากลายครามจีนสู่ชื่อบ้านนามเมืองแห่งสยาม นามมงคลพระราชทาน "ถนนรอบพระราชวังดุสิต" ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน !!

 

๑๓.ถนนคอเสื้อ มาจากการเขียนลายรูปค้างคาวต่อ ๆ กันในที่แคบ จึงกลายเป็นลายกระจังหรือที่เรียกว่า "คอเสื้อ" หมายถึง ฮก (ความสุข) ซึ่งเป็นหนึ่งลักษณะมงคลของจีนสามประการ ("ฮก ลก ซิ่ว" - ความสุข ลาภยศ อายุยืนนาน) เส้นทางจากถนนสามเสน ใต้ถนนศรีอยุธยา แขวงดุสิต ไปจนสุดถนนที่ทางรถไฟสายนครราชสีมา (ทางรถไฟสายเหนือก็เรียก) ณ แยกยมราชซึ่งเป็นหัวถนนเพชรบุรี โปรดเกล้าฯเปลี่ยนชื่อเป็น "ถนนพิษณุโลก"

น้ำพระทัยแห่งพระพุทธเจ้าหลวง!! จากลายครามจีนสู่ชื่อบ้านนามเมืองแห่งสยาม นามมงคลพระราชทาน "ถนนรอบพระราชวังดุสิต" ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน !!

 

๑๔.ถนนราชวัตร มาจากเครื่องลายครามลายลูกคลื่น แต่ไทยมองว่าเหมือนรั้ว จึงเรียกว่า ลายราชวัตร เส้นทางเริ่มต้นจากถนนพระรามที่ ๖ (ทางแยกโรงกรองน้ำ) ในพื้นที่แขวงสามเสนใน เขตพญาไท ไปทางทิศตะวันตก สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือพายัพ ร.๖ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลื่ยนชื่อ "ถนนนครไชยศรี"

 

น้ำพระทัยแห่งพระพุทธเจ้าหลวง!! จากลายครามจีนสู่ชื่อบ้านนามเมืองแห่งสยาม นามมงคลพระราชทาน "ถนนรอบพระราชวังดุสิต" ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน !!

 

๑๕.ถนนแระแจจีน มาจากลายที่เป็นรูปเหลี่ยมหักมุมไขว้กัน ใช้เป็นลายฉลุไม้ประกอบโต๊ะเครื่องตั้ง ที่ใช้บนเครื่องลายคราม เส้นทางเริ่มจากบริเวณถนนพิษณุโลกตัดกับถนนสวรรคโลกและถนนหลานหลวงที่ทางแยกยมราชในพื้นที่เขตดุสิตไปสิ้นสุดที่ทางแยกคลองตันซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนรามคำแหงและถนนสุขุมวิท ๗๑ (ปรีดี พนมยงค์) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเป็น "ถนนเพชรบุรี"

 

น้ำพระทัยแห่งพระพุทธเจ้าหลวง!! จากลายครามจีนสู่ชื่อบ้านนามเมืองแห่งสยาม นามมงคลพระราชทาน "ถนนรอบพระราชวังดุสิต" ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน !!

       

             นอกจากนี้แล้วยังมีถนนที่ถูกตั้งชื่อตามเครื่องลายครามจีน แต่ในปัจจุบันยังยังคงเรียกตามชื่อเดิม เนื่องจาก ไม่ได้มีการเปลี่ยนชื่อถนนแต่ยังคงใช้ชื่อเดิมอยู่คือ

- ถนนขาว ชื่อถนนมา จากเครื่องถ้วยที่มาจากเมืองกังไส เนื้อละเอียดเนียนเหมือนหยกขาว ตัดจากถนนซางฮี้ ขนานกับแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านหลังวชิรพยาบาล มาถึงถนนสุโขทัย 

 

น้ำพระทัยแห่งพระพุทธเจ้าหลวง!! จากลายครามจีนสู่ชื่อบ้านนามเมืองแห่งสยาม นามมงคลพระราชทาน "ถนนรอบพระราชวังดุสิต" ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน !!

 

- ถนนสังคโลก มาจากชื่อเครื่องลายครามของไทยสีเขียวหยก ที่ชาวสยามทำในสมัยกรุงสุโขทัย ตัดจากถนนสามเสนข้าง โรงพยาบาลวชิระฯ ด้านใต้ ไปเชื่อมถนนขาว

- ถนนทับทิม มาจากลายครามจีนที่เป็นลายทับทิม ซึ่งชาวจีนมีคตินิยมว่าเป็นผลไม้ที่มีเมล็ดมากและเป็นผลไม้มงคล หมายถึงการสืบแซ่วงศ์ตระกูลได้มาก เป็นถนนที่ตัดคู่ขนานกับถนนสุพรรณ