STAR WARS ปกรณัม  ปรัชญาในความบันเทิง

ปรัชญาที่แฝงมาในความบันเทิง

STAR WARS ปกรณัม  ปรัชญาในความบันเทิง

             พระเจ้ายังไม่ตาย ธรรมะไม่ได้หายไปไหน แต่ยังคงอยู่ดีมีสุขนอกโบสถ์วิหาร อารามคามเขต ที่ปักป้าย “เขตศาสนา” เอาไว้ “เมื่อโบสถ์ (หรือวัด) ไม่ใช่ที่คนส่วนใหญ่อยากไปค้นหาความหมายกันมากนัก  หนังก็จะเข้ามาทดแทน” 
           

             ณ กาแล็กซี่ที่แสนห่างไกลออกไป.. ในภาพยนตร์ที่มี “สาวก” นับล้านทั่วโลกเฝ้ารอชม “STAR WARS”
           

             STAR WARS เป็นศาสนาหรือไม่? ท่านอาจพบคำตอบเชิงปรัญชญาใน ๒๔ ประเด็นใน “ปรัชญา STAR WARS” ดังต่อไปนี้... 
     

            “ผมใส่สิ่งที่เรียกว่า “พลัง” เข้าไปในหนัง เพื่อกระตุ้นจิตวิญญาณในตัวเด็ก ๆ ให้เชื่อในพระเจ้า” จอร์จ ลูกัส
    
     ๑. ศาสตราจารย์ จอห์น วู้ด แห่งมหาวิทยาลัยเบย์เลอร์ รัฐเท็กซัส กล่าวว่า 
     “มีเส้นขนานมากมายในการนำเสนอสัญลักษณ์ทางศาสนา กับมโนคติ เรื่องที่คนสังเกตเห็น แฟนที่งมงายกับหนังเรื่องนี้ ค้นพบสิ่งที่เปรียบเหมือน “นิกายใหม่” สำหรับพวกเขา ให้ความหมายอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่าภาพลักษณ์ที่เห็น เมื่อเข้าไปสู่จักรวาลของ STAR WARS บางทีมันมีความหมายลึกล้ำกว่าสำหรับบางคน”
     
     ๒. นักบัลเล่ต์ ชาวอังกฤษวัย ๒๑ ปี กล่าวว่าตนใช้ “พลัง” เหมือนภาพยนต์สตาร์วอร์ เพื่อตั้งสมาธิในการแสดงของเขาเสมอ
     
     ๓. ฉากที่ ลุค สกายวอล์คเกอร์ มองดูมือจักรกลของตนใน JEDI แล้วตระหนักว่าเขากำลังเป็นเหมือนพ่อ คือ จะกลายเป็นครึ่งคนครึ่งเครื่องจักร... ทำให้สาวก STAR WARS วัยสามสิบรายหนึ่งกล่าวว่า 
     “นั่นเตือนให้คิดว่า เมื่อคุณกำลังแสวงหาเป้าหมายของชีวิต อย่าให้การเดินทางเปลี่ยนแปลงคุณไปสู่สิ่งที่คุณไม่อยากเป็น และพ่ายแพ้ต่อเป้าหมายของการเดินทางนั้น”
    
     ๔. ในฝาผนังของนักศึกษามหาวิทยาลัยในอเมริกามีโปสเตอร์แผ่นใหญ่เขียนติดไว้ว่า 
     “เมื่อฉันเรียนรู้ชีวิต ฉันเรียนจาก STAR WARS”
    
     ๕. แต่...ถามว่า แล้วตัวละครต่างๆ ใน STAR WARS เช่น “ลุค สกายวอล์คเกอร์” “ดาร์ธ เวเดอร์” “เจ้าหญิงอมิดาลา” “ฮันโซโล” ฯลฯ หรือแม้แต่ “โยดา” นับถือศาสนาอะไร? 
     คริสต์? พุทธ? อิสลาม? เต๋า? หรืออะไรอื่น


     ๖. ถ้า.. มีศาสนาในจักรวาล STAR WARS ศาสนานั้นก็คงเป็นศาสนาที่แปลก! เพราะไร้แท่นบูชาธูปเทียนเครื่องหอม ไร้พิธีกรรม ไร้การสวดมนต์ เข้าโบสถ์ อีกทั้งยังเป็นศาสนาที่ไม่ขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี!
    
     ๗. ไบรอัน ซิงเกอร์ (ผู้กำกับหนัง The Usual Suspects, X-men) กล่าวว่า STAR WARS ชวนให้นึกถึง“เทพนิยาย” และ ทัศนะทางศาสนา โดยใช้วิธีการที่เข้าถึงเด็กๆ ได้ง่าย 
     มันเป็นเรื่องในทำนองเดียวกับตำนานพระเจ้าอาร์เธอร์ และอัศวินโต๊ะกลมผสมแนวคิดเรื่องศาสนาในส่วนที่เกี่ยวกับ “พลัง”

    ๘. “ผมใส่สิ่งที่เรียกว่า “พลัง” เข้าไปในหนังสือเพื่อกระตุ้นจิตวิญญาณในตัวเล็กๆ ให้เชื่อในพระเจ้า (หรือสิ่งที่เราอธิบายไม่ได้ แต่มีความสำคัญในการทำให้เรามีชีวิตที่มั่นคงและสมดุล) 
มากกว่าจะเชื่อในระบบศาสนาใดศาสนาหนึ่งโดยเฉพาะ” ลูกัสกล่าว 
     “เด็กๆ จะได้เริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับความเร้นลับ และปกรณัมของชีวิต..” 

      ๙. กระนั้น.. ลูกัสก็ยอมรับว่า “พลัง” ถูกหยิบยืมมาจากทัศนะ “พระเจ้า” ของชาวตะวันออก และ “มีสัมพันธ์กับ “ฌานสมาบัติ” ในศาสนาพุทธโดยเฉพาะ”
    
      ๑๐. “Episode I ชาติกำเนิดของ “อนาคิน สายวอล์คเกอร์” ทำให้หลายคนนึกถึง “พรหมจรรย์กำเนิด” (Virgin brith) ของพระเยซู”
     รวมถึงเรื่องราวคำพยากรณ์ของเจได เกี่ยวกับ “ผู้ถูกเลือก” ก็โยงใยไปได้ถึงคำพยากรณ์ เรื่อง “พระผู้มาโปรด” (Messiah) หรือแม้แต่ “พระศรีอริย์” 
    
      ๑๑. คำว่า “Darth Vader” แยกออกได้เป็น dark (ความมืด) + death (ความตาย) + star (ดวงดาว) + invader (การรุกราน)
    
     ๑๒. คำว่า “Sith” น่าจะมาจาก sin (บาป) + sinister (น่ากลัว เลวร้าย) + sick (ความป่วยไข้)
        
     ๑๓. ส่วนคำว่า “Jedi” บ้างว่ามาจากภาษาญี่ปุ่น “เจไดเกกิ” แต่บ้างก็ว่าน่าจะมาจากนักบวช เยซูอิต (Jesuit)
    
     ๑๔. คำร้องบทเพลง Duel of the Fates ใน Episode I มาจากบทกวีที่ชื่อ The Battle of the trees ซึ่งมีใจความว่า “Under the tougue root, a fight most dread, And another rages behind in the head” โดยจอห์น วิลเลี่ยม ผู้ประพันธ์ดนตรี ย่อเอาคำว่า “mostdread/inside the head” 
     

     มาแปลเป็นภาษาสันสกฤตว่า “คารา มาธา คารา ราธามา” ทั้งนี้ “คารา” หมายถึงความชั่วร้าย “มาธา” หมายถึง ศีรษะ และ “ราธามา” คือราชรถ รวมความแล้วน่าจะแปลได้ว่า “ความชั่วร้ายอยู่ในหัวของเจ้านั่นแหละ”
    
     ๑๕. “ดาร์ มอล” ที่เขาที่ศีรษะ ซึ่งลูกัสกล่าวเป็นสิ่งที่ปรากฏเหมือนกันในความเป็น “มาร” ในแทบทุกศาสนาและความเชื่อ (ลูซิเฟอร์, ซาตาน)
    
     ๑๖. “โยดา” เปรียบเหมือนตัวแทนของ ปรมาจารย์เชน และพ่อหมอเคลติกโบราณ (ที่ชาวดรุอิกเชื่อว่าสถิตอยู่ในป่าศักดิ์สิทธิ์) ไปในคราวเดียวกัน
     
    ๑๗. “โควกอน จินน์” และ “โอบีวัน เคนโนบี” (ภาคชรา) เป็นสัญลักษณ์ของการชี้แนะ “พระเอก” สู่การผจญภัย และมอบ “สิ่งวิเศษ” ให้.. ตัวละครเหล่านี้มักคล้ายๆ กับฤาษี หรือพ่อมด เช่น พ่อมดเมอร์ลินในตำนานกษัตริย์อาเธอร์
    
     ๑๘.“ฮันโซโล” เปรียบเสมือนเอ็นกิดูในมหากาพย์กิลกาเมช ชาวเรืออาร์โกนอตในตำนานเจสันและขนแกะทองคำหรือเหล่าอัศวินโต๊ะกลมในตำนานกษัตริย์อาเธอร์ 

     ๑๙. “อนาคิน สกายวอล์คเกอร์” และ “ลุค สกายวอล์เกอร์” ต้อง “ละทิ้งบ้าน” เพื่อแสวงหาทางจิตวิญญาณ มีการผจญภัยถูกทดสอบ และได้รับชัยชนะ (หรืออาจพ่ายแพ้) เช่นเดียวกับการค้นหาขนแกะทองคำของเจสัน 
     

     การเดินทางกลับบ้านของโอดีสซีอุส การระเหเร่ร่อนของโมเสสก่อน “การอพยพ” , การถูกทดสอบของศาสดามุฮัมหมัด, ๔๐ วัน กลางทะเลทรายของพระเยซู และหนทางสู่การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
     
    ๒๐. หนังสือต่อไปนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยากเจาะลึกที่มาที่ไป ประเด็นเรื่องศาสนา ใน STAR WARS 
     “The Hero With Thousand Faces” หนังสือที่ดีที่สุดของ โจเซฟ แคมพ์เบลล์ 
     “The Golden Bough” ของ เซอร์ เจมส์ จอร์จ เฟรเซอร์
     “Zen and the Art of Archery” ของอูเกน เฮอร์ริเกล
     “Tree and Leaf” ของเจ อาร์ อาร’โทลคีน

    ๒๑. ใครจะว่า STAR WARS เป็นศาสนาหรือไม่? ลูกัสกล่าวว่า “ผมไม่เห็นว่า STAR WARS จะเกี่ยวกับศาสนาอย่างลึกซึ้ง ดังที่ว่ากัน 
     ผมมองเห็นว่าเป็นการเอาประเด็นต่างๆ ที่ศาสนาเคยพูดถึงแล้วมากลั่นกรองให้มีความทันสมัยและเข้าถึงได้ง่ายต่างหาก”
     
    ๒๒. แต่... “การปราศจากความสนใจในความลี้ลับของจิตเบื้องลึกของชีวิต จนเพียงพอที่จะตั้งคำถามว่า “ไม่มีพระเจ้าเลยใช่มั้ย” สำหรับผมแล้วเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุด

 
     คุณน่าจะพูดว่า “ผมกำลังค้นหาอยู่ ผมอยากรู้ในเรื่องนี้มาก และผมจะยังคงค้นหาต่อไปจนกว่าผมจะพบคำตอบและถ้าหากผมยังหาคำตอบไม่ได้ ผมก็จะพยายามไปเรื่อยจนกว่าจะตาย”
    
     ๒๓. และ... “ยากจะเชื่อได้ว่า STAR WARS ทำให้คนดูตระหนักถึง ทางเลือกในการค้นหาจิตวิญญาณของตนเอง ไม่ว่าเป็นหลักธรรมทางพุทธหรือเต๋า ก็นำไปสู่หนทางแห่งความสงบของจิตใจเช่นเดียวกัน…

    ๒๔. รวมทั้ง “ผมไม่อยากตื่นขึ้นมาแล้วพบตัวเราเองต้องอยู่ในโลกที่ปราศจากศาสนาโดยสิ้นเชิงโดยที่ “ความบันเทิง” ถูกเข้าใจว่าเป็น “ประสบการณ์ทางศาสนา” อย่างหนึ่ง
 

ติดตามอ่านบทความที่เกี่ยวข้องได้ที่

http://www.tnews.co.th/contents/396199

http://www.tnews.co.th/contents/396258

http://www.tnews.co.th/contents/393982

http://www.tnews.co.th/contents/393957

http://www.tnews.co.th/contents/396445

http://www.tnews.co.th/contents/396448

http://www.tnews.co.th/contents/396456