กรมควบคุมโรค...เตือนคนไทย เตรียมรับมือ !!! พึงระวัง...7 โรคติดต่อเฝ้าระวัง ในปี 2561 !!! #รู้ก่อนปลอดภัยไร้อันตราย

ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมายได้ที่ https://www.facebook.com/partiharn99/

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค จัดแถลงข่าวเรื่อง “พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพที่สำคัญ พ.ศ.2561” ซึ่งกรมควบคุมโรคได้วิเคราะห์สถานการณ์ในระบบเฝ้าระวังต่างๆ เพื่อคาดการณ์แนวโน้มพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพที่สำคัญในปี 2561 โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ โรคติดต่อและโรคที่ไม่ติดต่อ  ดังนี้

กรมควบคุมโรค...เตือนคนไทย เตรียมรับมือ !!! พึงระวัง...7 โรคติดต่อเฝ้าระวัง ในปี 2561 !!! #รู้ก่อนปลอดภัยไร้อันตราย

1.โรคไข้เลือดออก จากข้อมูลในปี 2560 พบผู้ป่วย 50,033 ราย เสียชีวิต 59 ราย โดยตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมาพบโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มสูงอย่างต่อเนื่อง สำหรับการพยากรณ์โรค ปี 2561 คาดว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 50,000 ราย  และจะมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยจะพบผู้ป่วย 4,500–9,000 รายต่อเดือน และมีพื้นที่เสี่ยง 35 จังหวัดทั่วประเทศ  กรมควบคุมโรคมีมาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” คือ 1.เก็บบ้าน 2.เก็บขยะ และ 3.เก็บน้ำ เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา

2.โรคไข้หวัดใหญ่ จากข้อมูลในปี 2560 พบผู้ป่วย 189,870 ราย เสียชีวิต 54 ราย สำหรับการพยากรณ์โรค ปี 2561 คาดว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 220,000 ราย โดยจะพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในฤดูฝน ประมาณ 13,000-48,000 รายต่อเดือน ส่วนจังหวัดที่คาดว่าจะมีความเสี่ยงสูงมี 23 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  กรมควบคุมโรคมีมาตรการ “ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด” ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ดังนี้ 1.ปิด คือ ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม 2.ล้าง คือ ล้างมือบ่อยๆ 3.เลี่ยง คือ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย  4.หยุด คือ เมื่อป่วย ควรหยุดเรียน หยุดงาน

3.โรคมือ เท้า ปาก จากข้อมูลในปี 2560 พบผู้ป่วย 68,084 ราย เสียชีวิต 3 ราย การพยากรณ์โรค ปี 2561 คาดว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 94,000 ราย อาจมีผู้ป่วย 8,000–23,000 รายต่อเดือน ซึ่งโรคนี้ติดต่อโดยการสัมผัสกับน้ำมูก น้ำลาย น้ำในตุ่มพอง และอุจจาระของผู้ป่วย วิธีป้องกันคือ “รักษาความสะอาดร่างกาย หมั่นล้างมือบ่อยๆ และไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน หากมีเด็กในสถานศึกษาป่วยโรคมือ เท้า ปาก ต้องแยกเด็กป่วยออก 

กรมควบคุมโรค...เตือนคนไทย เตรียมรับมือ !!! พึงระวัง...7 โรคติดต่อเฝ้าระวัง ในปี 2561 !!! #รู้ก่อนปลอดภัยไร้อันตราย

4.โรคตาแดง จากข้อมูลในปี 2560 พบผู้ป่วย 105,415 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต การพยากรณ์โรค ปี 2561 คาดว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 146,000 ราย  อาจมีผู้ป่วย 8,000–35,000 รายต่อเดือน โรคนี้ติดต่อกันจากการสัมผัสกับน้ำตา หรือติดจากการใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกัน หลังติดเชื้อประมาณ 1-2 วัน จะมีอาการระคายเคืองตา น้ำตาไหล แสบตาเวลาถูกแสง มีขี้ตามากกว่าปกติ “ผู้ที่เป็นโรคนี้ ขอให้ใช้กระดาษทิชชูเช็ดขี้ตา ล้างมือฟอกสบู่บ่อยๆ ไม่ควรขยี้ตา  แยกของใช้ส่วนตัว”

5.โรคอาหารเป็นพิษ จากข้อมูลในปี 2560 พบผู้ป่วย 101,000 ราย เสียชีวิต 3 ราย การพยากรณ์โรค ปี 2561 คาดว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 100,000 ราย  อาจมีผู้ป่วย 9,000–11,000 รายต่อเดือน กรมควบคุมโรค ขอให้ประชาชนใช้มาตรการ “สุก ร้อน สะอาด”  คือ “รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ด้วยความร้อน ไม่มีแมลงวันตอม ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ และรักษาสุขอนามัย “

6.โรคไข้ฉี่หนู จากข้อมูลในปี 2560 พบผู้ป่วย 3,257 ราย เสียชีวิต 59 ราย โดยพบว่าภาคใต้จะมีจำนวนผู้ป่วยสูงในช่วงเดือนพฤศจิกายน–มกราคม ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีจำนวนผู้ป่วยสูง การพยากรณ์โรค ปี 2561 คาดว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 5,000 ราย กรมควบคุมโรค แนะนำประชาชน “หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำย่ำโคลนที่ชื้นแฉะ หากจำเป็นควรสวมรองเท้าบู๊ทหรือถุงพลาสติกสะอาดที่หาได้ในพื้นที่ หากมีบาดแผลที่เท้าหรือที่บริเวณขา ขอให้ใช้ถุงพลาสติกห่อหุ้มขาและเท้า”

7.โรคเมลิออยโดสิส จากข้อมูลในปี 2560 พบผู้ป่วย 3,140 ราย เสียชีวิต 68 ราย พบผู้ป่วยมากในช่วงฤดูฝนของทุกปี สำหรับการพยากรณ์โรค ปี 2561 คาดว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 3,000 ราย โดยในช่วงฤดูฝนอาจมีผู้ป่วยประมาณ 200-300 รายต่อเดือน โรคนี้ติดต่อจากการสัมผัสดินหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ เชื้อเข้าทางบาดแผล ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน และผู้ที่มีบาดแผลควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินหรือแหล่งน้ำ เช่น “ในนาข้าว ซึ่งเป็นแหล่งที่มีโรคชุกชุม  ควรสวมรองเท้าบู๊ท”

กรมควบคุมโรค...เตือนคนไทย เตรียมรับมือ !!! พึงระวัง...7 โรคติดต่อเฝ้าระวัง ในปี 2561 !!! #รู้ก่อนปลอดภัยไร้อันตราย

นอกจากนี้ “นพ.สุวรรณชัย” ยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับการพยากรณ์โรคไม่ติดต่อและภัยสุขภาพ มี 2 เรื่อง ดังนี้ 

1. การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรในช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์  ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2560 ที่ผ่านมา พบจำนวนผู้บาดเจ็บทุกกรณี 28,504 ราย และเสียชีวิต 553 ราย (ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข) และยังพบว่ามีการใช้แอลกอฮอล์ 30.5% พาหนะที่เกิดเหตุส่วนใหญ่คือรถจักรยานยนต์ 80.3% ส่วนยานพาหนะที่มีสัดส่วนการเสียชีวิตสูงสุดคือรถตู้สาธารณะ 48.2%

2. การป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจในช่วงปัญหาหมอกควันภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะในเดือนมกราคม–เมษายนของทุกปี ที่เป็นช่วงอากาศหนาวเย็น อุณหภูมิต่ำและมีหมอกควันหนาขึ้น มีผลกระทบทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจ โรคปอดบวม/ปอดอักเสบ โรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ หอบหืด และปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน (เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน พะเยา แพร่) การคาดการณ์จะมีจำนวนผู้ป่วยประมาณ 56,000-90,000 ราย

กรมควบคุมโรค...เตือนคนไทย เตรียมรับมือ !!! พึงระวัง...7 โรคติดต่อเฝ้าระวัง ในปี 2561 !!! #รู้ก่อนปลอดภัยไร้อันตราย

อ้างอิงข้อมูลจาก - กรมควบคุมโรค