ย้อนรอยมหาสงครามเอเชียบูรพา แนวที่ ๕ กับจารกรรมในเมืองนครศรีธรรมราช ตอน ๒

ย้อนรอยมหาสงครามเอเชียบูรพา แนวที่ ๕ กับจารกรรมในเมืองนครศรีธรรมราช ตอน ๒

ย้อนรอยมหาสงครามเอเชียบูรพา แนวที่ ๕ กับจารกรรมในเมืองนครศรีธรรมราช ตอน ๒

บริษัทรับซื้อแร่โกโต คอนซือ หรือร้านสุนทรวานิช

 

                ดร.  เย็นใจ  เลาหวณิช ได้เขียนไว้ในหนังสืออนุสรณ์ของนายสุนทร เลาหวานิช เรื่อง  “แด่ป๋าของลูก” ไว้ดังนี้


              ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒  ป๋ามีธุรกิจค้าขายแร่กับญี่ปุ่น มีโรงงานแยกแร่ที่รับซื้อ
มาแล้วส่งไปขายในประเทศญี่ปุ่น โดยป๋าเป็นเอเย่นต์ พอเกิดสงคราม “ก่อนวันญี่ปุ่นขึ้น” ไม่กี่วัน  ทางตำรวจตั้งข้อหาว่าเป็นสายลับให้ญี่ปุ่น


              จึงนำป๋าไปขังไว้ที่สถานีตำรวจนครศรีธรรมราช ห้ามเยี่ยม ห้ามประกัน  และส่งกำลังตำรวจจำนวนหนึ่งไปล้อมและสังหารพ่อค้าญี่ปุ่นที่พักที่บ้าน ซึ่งมีโรงงานแยกแร่อยู่ในบริเวณเดียวกัน


              ปรากฏว่าหลังจากนั้นเพียงเล็กน้อย  ไทยยอมเป็นมิตรกับญี่ปุ่น ยอมให้ทหารญี่ปุ่นเข้าประเทศได้ เมื่อทหารญี่ปุ่นทราบว่า คนญี่ปุ่นถูกฆ่าตายก็โกรธจัด


              นายทหารญี่ปุ่นรีบไปที่โรงพัก  สั่งจับผู้บังคับการตำรวจและให้ปล่อยตัวป๋าออกมา  พร้อมทั้งซักถามถึงสาเหตุการตายของคนของเขา  แต่นายทหารญี่ปุ่นไม่รู้ภาษาไทย จึงต้องใช้ภาษาอังกฤษ โดยมีป๋าทำหน้าที่เป็นล่าม


              นายทหารญี่ปุ่นทราบตำรวจไทย เป็นฝ่ายยิงญี่ปุ่นตาย จึงโมโหชักดาบซามูไรเตรียมพร้อมที่จะตัดคอผู้บังคับการตำรวจในทันทีที่ได้รับการยืนยัน  

              ป๋าตระหนักในความวิกฤติของสถานการณ์ในเวลานั้นดี  และทราบระแคะระคายมาบ้างว่า ฝ่ายตำรวจเป็นผู้สังหารญี่ปุ่น หลายคนจนตายหมดสิ้นแต่ไม่ได้เห็นกับตา


              เพราะถูกจับกุมตัวมาก่อนหน้านั้น  เมื่อญี่ปุ่นซักถามนายตำรวจๆ ก็แก้ตัวว่า เป็นเพราะเกิดความเข้าใจผิด และฝ่ายญี่ปุ่นต่อสู้จึงเกิดการเสียชีวิตขึ้น 


              พูดไปพูดมาสักพัก ญี่ปุ่นโกรธจัดเงื้อดาบจะตัดคอนายตำรวจไทย  ป๋าเลยรีบห้ามว่าทำไม่ได้  เพราะบัดนี้ไทยกับญี่ปุ่นเป็นสัมพันธมิตรกันแล้ว  และช่วยอธิบายเพิ่มเติมว่า เป็นเหตุสุดวิสัย 
     

              ในที่สุดนายทหารญี่ปุ่นได้สติเลยไม่เอาเรื่องฝ่ายใดอีก  ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นเชื่อป๋ามากกว่าฝ่ายตำรวจ เห็นกับตาว่าตำรวจจับป๋ามาขังไว้ในโรงพัก  ป๋าจึงไม่น่าจะเป็นพวกเดียวกันกับตำรวจ


              เป็นอันว่าผู้บังคับการตำรวจคนนั้นรอดตายมาได้อย่างหวุดหวิดเต็มที่  นี่ถ้าป๋ามีความอาฆาตนายตำรวจตำรวจผู้นั้นเพียงแต่เฉยเสีย  ศีรษะเขาก็คงจะหลุดจากบ่าในบัดนั้นแน่”

ย้อนรอยมหาสงครามเอเชียบูรพา แนวที่ ๕ กับจารกรรมในเมืองนครศรีธรรมราช ตอน ๒  การสู้รบกันดุเดือดระหว่างทหารไทย และทหารญี่ปุ่น โดยมีแนวที่ ๕ หรือจารชนชาวญี่ปุ่นคอยส่งข่าว

 

          คุณลุงนิเวส อัจจิทมางกูรซึ่งเป็นลุงของผู้เขียนเล่าว่าญี่ปุ่นที่มาตั้งบริษัทซื้อแร่ได้เช่าห้องแถวของคุณสุนทร เลาหวณิช ที่เชิงสะพานราเมศร์ มีจำนวนหลายคน และบริษัทได้มาก่อตั้ง ก่อนที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก เมื่อวันที่  ๘  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๘๔  
     

          ถ้าจำไม่ผิดก็ราว  พ.ศ.  ๒๔๘๒  รับซื้อแร่ดีบุก  และมีโรงงานแยกแร่อยู่ภายใน
บริษัทด้วยเพื่อส่งไปขายยังประเทศญี่ปุ่น  เข้าใจว่าคงส่งไปเพื่อนำแร่ดีบุกไปทำอาวุธใช้ในการสงคราม
         

        ญี่ปุ่นมารับซื้อแร่นี้คือ  หน่วยจารกรรมที่กองทัพญี่ปุ่นส่งเสริมหน่วยจารกรรมเดิมที่มี
อยู่แล้ว เพื่อสืบราชการลับของทางราชการ
     

       บริษัทซื้อแร่นี้มีนายชิมาโนเป็นผู้จัดการ มีนายคิตามารุ ดำเนินการซื้อแร่บังหน้า  ส่วนหน้าที่อันแท้จริงคงทำหน้าที่สืบราชการลับหรือเป็นแนวที่ ๕  เช่นเวลาวันหยุดจะไปตกปลาที่ปากพูนเพื่อวัดระดับน้ำทะเล  ประมาณ  ๑  เดือนก่อนที่กองทัพลูกพระอาทิตย์จะยกพลขึ้นบกที่ท่าแพ นายชิมาโนได้หายไปจากบริษัทซื้อแร่ที่นครศรีธรรมราชแล้ว

ย้อนรอยมหาสงครามเอเชียบูรพา แนวที่ ๕ กับจารกรรมในเมืองนครศรีธรรมราช ตอน ๒ นายคิตามารุ แนวที่ ๕ จารชนชาวญี่ปุ่น

 

              ในเช้าวันที่  ๘  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๔๘๗  ได้มีคำสั่งให้ตำรวจชุดหนึ่งมาควบคุมคนญี่ปุ่นที่รับซื้อแร่ที่เช่าห้องแถวคุณสุนทร เลาหวณิช  เชิงสะพานราเมศวร์  ตำรวจที่มาควบคุมญี่ปุ่นนั้น เท่าที่จำได้มี จ่าตั้น พลฯ ช่วง 


              การควบคุมได้เรียกตัวพ่อค้าญี่ปุ่นซื้อแร่เหล่านั้น เพื่อจะนำไปควบคุมที่สถานีตำรวจ แต่อาจเป็นเพราะพูดกันไม่รู้เรื่อง ไม่ยอมให้จับกุมจึงเกิดการยิงกันขึ้น  ตามคำบอกเล่าของผู้ทราบเหตุการณ์ว่าญี่ปุ่นเสียชีวิต ๑  คน ชื่อคิตามารุได้นำศพไปฝังไว้ที่วัดชะเมา

 

เรียบเรียงจากสัมภาษท์ และบทความ
 

นิเวส อัจจิมางกูร
“แด่ป๋าของลูก” ดร.  เย็นใจ  เลาหวณิช 
นายน้อม ถาวรโด
แช่ม ช่องสกุล

 

(อ่านต่อ ตอนที่ ๓)

 

ติดตามบทความที่เกี่ยวข้องได้ที่

http://www.tnews.co.th/contents/395768

http://www.tnews.co.th/contents/395785

http://www.tnews.co.th/contents/396160

http://www.tnews.co.th/contents/392837
http://www.tnews.co.th/contents/395546
http://www.tnews.co.th/contents/395589
http://www.tnews.co.th/contents/395604
http://www.tnews.co.th/contents/395610
http://www.tnews.co.th/contents/395623
http://www.tnews.co.th/contents/393696

http://www.tnews.co.th/contents/393696

http://www.tnews.co.th/contents/393983

http://www.tnews.co.th/contents/392837