ย้อนรอยมหาสงครามเอเชียบูรพา แนวที่ ๕ กับจารกรรมในเมืองนครศรีธรรมราช ตอน ๓

ย้อนรอยมหาสงครามเอเชียบูรพา แนวที่ ๕ กับจารกรรมในเมืองนครศรีธรรมราช ตอน ๓

          บริษัทเคียวแอไค  ใน  ปี  พ.ศ.  ๒๔๘๑    รัฐบาลไทยสร้างถนนสายนคร-ปากพนัง  โดยมี
บริษัทเคียวแอไคแห่งประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ประมูลรับเหมา  เริ่มลงมือทำถนนใน  พ.ศ.  ๒๔๘๑
ตั้งต้นจากหัวถนน  ตำบลศาลามีชัย นายช่างและหัวหน้าใหญ่เป็นชาวญี่ปุ่นทั้งสิ้น 
           

         โดยตั้งแคมป์หรือสำนักงานของบริษัทที่หัวถนน  ซึ่งชื่อนายช่างญี่ปุ่นเท่าที่สืบได้จากคุณน้อม  ถาวรโต คนงานของบริษัทฯ ทราบชื่อว่าช่างใหญ่ชื่อฟูจิฮารา  นอกนั้นมีชื่อฮิโนมาตา โกจิ โอซาวา
     
          บริษัทเคียวแอไคเมื่อประมูลรับจ้างสร้างทางสายนคร -  ปากพนังแล้ว  ช่วงแรก  จากหัวถนนถึงหัวตรุดได้ให้นายกี่เป็นผู้รับเหมาต่อจากบริษัททำการสร้างทาง  ส่วนทางฟากตะวันออกของคลองหัวตรุด
  
         บริษัท ฯ  เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง สำหรับสะพานตั้งแต่สะพานหัวตรุดจนถึงปากพนังทุกสะพาน  นายอี.ซี  การ์เนีย  ลูกครึ่งไทย-ฝรั่งเศส  เป็นนายช่างผู้ควบคุมการก่อสร้าง
     
         ญี่ปุ่นที่นายช่าง   ผู้ควบคุมสโตร์ตลอดจนผู้ควบคุมเครื่องมือ  เครื่องจักรกล  ล้วนแต่
เป็นคนญี่ปุ่นทั้งสิ้น  บริษัทเคียวแอไคส่งมาสร้างถนนสายนคร-ปากพนังก็เพื่อร่วมสืบราช
การลับของไทยแล้วรายงานไปประเทศญี่ปุ่น

        การสร้างถนนสายนคร-ปากพนังคงเป็นแผนการยกพลขึ้นบกแผนหนึ่งเหมือนกัน  คือพยายามดำเนินการสร้างให้เสร็จใช้การได้โดยเร็วให้ถึงบ้านบางจาก  เพราะที่บางจากมีคลองใหญ่เรียกว่าคลองบางจากไหลออกสู่ทะเลที่ปากน้ำบางจาก
 

ย้อนรอยมหาสงครามเอเชียบูรพา แนวที่ ๕ กับจารกรรมในเมืองนครศรีธรรมราช ตอน ๓ ถนนปากพนัง-นครศรีธรรมราช ที่สร้างขึ้นเพื่อลำเลียงพล และยุทโปกรณ์เข้าสู่ตัวเมืองนครศรีธรรมราช


        ถ้าถนนทำเสร็จใช้การได้และไปสิ้นสุดที่บางจาก ทหารญี่ปุ่นจะยกพลขึ้นบกที่บางจากและเดินทัพเข้าเมืองนครศรีธรรมราชสะดวกมาก  เนื่องจากมีถนนเรียบร้อย
     
       นายน้อม ถาวรโต คนงานบริษัทเคียวแอไคเล่าว่าวันไหนเป็นวันหยุดพักไม่ทำงานก่อสร้าง 
     

       นายโอซาวา นายช่างสร้างทางคนหนึ่งจะชวนคนงานไปทะเลเพื่อตกปลา  การตกปลาทะเลของ นายโอซาวาก็เพื่อไปวัดระดับน้ำทะเล และทราบต่อมาว่าแท้จริงแล้วนายโอซาวาคือทหารเรือ  การวัดระดับน้ำทะเลก็เพื่อทราบกระแสน้ำเพื่อความสะดวกในการยกพลขึ้นบกนั้นเอง
     
        ก่อนทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ท่าแพ  เมื่อวันที่  ๘  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๘๑  บริษัทญี่ปุ่น
ได้ให้คนงานไทยเก็บเครื่องมือ  เครื่องจักรกลต่าง ๆ  ให้เรียบร้อย  และบอกกับคนงานไทยว่า
จะต้องเอาเครื่องมือ  เครื่องจักรกลต่างๆ  ตลอดจนรถยนต์ไปซ่อมแซมและฟิตเครื่องใหม่  

        แต่แท้จริงแล้ว  จารกรรมญี่ปุ่นที่มารับสร้างถนนได้เตรียมรถยนต์ไว้สำหรับทหารญี่ปุ่นที่ยกพลขึ้นบกได้ใช้  แต่มีนายช่างไทยที่ทางราชการส่งมาควบคุมการสร้างทางของบริษัทเคียวแอไค ชื่อคุณอัมพร  เถลิงรัศมีบอกกับคนไทยว่า  
     
     “อย่าพยายามรีบเก็บเครื่องมือ  ให้เก็บช้าๆ  ประวิงเวลาไว้”
(นายน้อม ถาวรโด ผู้เล่า)  เข้าใจว่า  นายช่างอัมพร  เถลิงรัศมี คงรู้แผนญี่ปุ่นในการยกพลขึ้นบกที่นครศรีธรรมราชเป็นแน่ 
     
     นายช่างและเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นในบริษัทเคียวแอไคทุกคนคงเป็นแนวที่  ๕  หรือหน่วยสืบราชการลับ
      
     โดยปกติบริษัทเคียวแอไคของญี่ปุ่น ที่มาสร้างทางสายนคร-ปากพนัง จะมีตำรวจของ


      สถานีตำรวจภูธรนครศรีธรรมราชผลัดเปลี่ยนกันมารักษาการณ์ ที่แคมป์ หรือที่ทำการของบริษัท
ที่หัวถนนเป็นประจำวันทุกวัน

          เช้าของวันที่  ๘  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๔๘๔  แตรเดี่ยวของสถานีตำรวจภูธรนครศรีธรรมราชถูกเป่าเป็นสัญญาณว่าเกิดเหตุการณ์สำคัญด้วยกองทหารญี่ปุ่นบุกท่าแพ พ.ต.อ.หลวงแสง นิติศาสตร์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรภาค  ๘  ได้ออกคำสั่งให้เปิดคลังอาวุธ จ่ายปืนให้ตำรวจอยู่เวรคนละ  ๑  กระบอก  เป็นปืนเล็กยาวแบบ  ๘๓  และกระสุนคนละ  ๖o นัด
     

          ตำรวจหนึ่งหมู่ได้รับคำสั่งให้ไปควบคุมญี่ปุ่นที่บริษัทเคียวแอไคที่หัวถนนมี  ร.ต.ต. สวัสดิ์  
ปิ่นประไพเป็นหัวหน้า
 มีพลฯ แช่ม   ช่องสกุล ,  พลฯ หนูกลิ่น,  พลฯ กังวล, พลฯ ประมวล,
พลฯ ตะปา  วิสุทธิกาญจน์  และคนอื่นๆ  อีก

          ร.ต.ต.  สวัสดิ์  ปิ่นประไพ ได้นำกำลังตำรวจพร้อมอาวุธจำนวน  ๑๒  คน  ออกจากสถานี
ตำรวจ  เดินมาถึงสะพานนครน้อย ฯ พบรถยนต์แม่ค้าปลาจะนำไปขายตลาดเช้าวัดเสาธงทอง 

          ร.ต.ต.  สวัสดิ์  ได้ให้แม่ค้าขนสินค้าลงจากรถ และแจ้งแก่คนขับว่าญี่ปุ่นโจมตีประเทศไทยด้วย มีการยกพลขึ้นบกที่ท่าแพ  ตนได้รับคำสั่งผู้บังคับบัญชาให้ไปควบคุมตัวชาวญี่ปุ่นที่หัวถนนจึงขอใช้รถยนต์นำตำรวจไปหัวถนนด้วย
     
         เมื่อ  ร.ต.ต.  สวัสดิ์  พร้อมด้วยตำรวจมาถึงบริษัทเคียวแอไคที่หัวถนน  พลฯ ตะปา  วิสุทธิกาญจน์ เล่าว่า 
     
        “เห็นรถยนต์บรรทุกของบริษัทเคียวแอไคที่ใช้สำหรับสร้างทางประมาณ  ๑๐  คัน  จอดเชียงรายเป็นระเบียบ และมีธงชาติญี่ปุ่นปักไว้ทุกคันแล้ว"  
     

         ร.ต.ต.  สวัสดิ์  นำกำลังตำรวจขึ้นไปบนสำนักงานของบริษัทได้เข้าไปพบญี่ปุ่น  ๒  คนที่นั่งอยู่ที่โต๊ะทำงานของบริษัทคือ เอ็ช.ซี  ฮารา และไมโนมาตา ชาวญี่ปุ่นทั้งสองได้พูดอะไรก็ไม่ทราบกับ ร.ต.ต.  สวัสดิ์

ย้อนรอยมหาสงครามเอเชียบูรพา แนวที่ ๕ กับจารกรรมในเมืองนครศรีธรรมราช ตอน ๓
นาย H.C. Hara (เข้าใจว่าเป็นชื่อย่อจากภาษาญี่ปุ่น)

 

          เห็นแต่ ร.ต.ต. สวัสดิ์ พยักหน้า แล้วตำรวจที่ไปด้วยยิงปืนใส่ญี่ปุ่นเสียชีวิต  ฝ่ายตำรวจระบุว่าทั้งสองขัดขืนการจับกุม  จากนั้น  ร.ต.ต.  สวัสดิ์  ได้ออกคำสั่งให้ตำรวจที่ไปด้วยจัดการฝังศพนายช่างญี่ปุ่นทั้งสองข้าง ๆ  แคมป์ที่ทำการของบริษัทนั่นเอง (พลฯ แช่ม ช่องสกุล เป็นผู้เล่า)

           

         แล้วยกกำลังกลับสถานีตำรวจภูธรนครศรีธรรมราชรายงานผลการปฏิบัติงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบต่อไป

     
          พอมีคำสั่งหยุดยิงจากรัฐบาลไทยและอนุญาตให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทย
ได้  ภายหลังจากเสียงปืนสงบลงทั้งสองฝ่ายแล้ว  ทหารญี่ปุ่นได้เข้ามาพักอาศัยในโรงทหาร
ของมณฑลทหารบกที่ ๖  (ปัจจุบันเป็นกองทัพภาคที่ ๔)  ตั้งแต่กองทหารปืนใหญ่  ป. พัน
๑๕  ตลอดถึง  ร.พัน  ๓๙  (ร.๑๕  พัน  ๒ )

          ทหารไทยและครอบครัวจะต้องอพยพจากโรงทหาร และบ้านพัก ให้พ้นจากเขตทหาร โดยได้เข้ามาอยู่ในตัวเมืองพนครฯ พักตามวัดบ้าง โรงเรียนบ้าง ช่วงนี้นี่เองที่ยุวชนทหาร หน่วยฝึกยุวชนทหารที่ ๕๕ ได้ช่วยกันขนยุทธภัณฑ์ต่างๆ ที่สำคัญ เช่นเอกสาร แผนที่ น้ำมัน ปืน กระสุน ออกจากเขตทหารอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
     
        ส่วนไหนที่ขนไปไม่ได้ก็จะทำให้เสียสภาพเช่น ถอดเอายางรถยนต์ออก ที่ถอดออกไม่ทันก็เอามีดประจำตัวกรีดให้เป็นรอยรั่ว

ย้อนรอยมหาสงครามเอเชียบูรพา แนวที่ ๕ กับจารกรรมในเมืองนครศรีธรรมราช ตอน ๓ การโจมตีทางบกจะเป็นไปได้ง่ายหากทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ถนนปากพนัง-นครศรีธรรมราช

 

          นายทหารผู้บังคับบัญชานำทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก ที่ท่าแพได้เข้าพบ  พ.ต.อ. หลวงแสง  

นิติศาสตร์ ได้มีการเจรจาเรื่องยิงญี่ปุ่นที่สร้างทางตาย  ให้ตำรวจขุดศพ  เอ็ช.ซี.ฮารา  และไมโนมาโตที่ฝั่งไว้ที่หัวถนนมาเก็บไว้ที่วัดท่ามอญ (วัดศรีทวี)  ในตอนเย็นวันนั้นเอง

          พอมีประกาศหยุดยิงจากรัฐบาลไทยอนุญาตให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทย  และเปิดการเจรจาระหว่าง  พลตรี หลวงเสนาณรงค์  ผู้บัญชาการมณฑลทหารที่  ๖  กับฝ่ายนายทหารญี่ปุ่นที่บริเวณสโมสรนายทหาร  มณฑลทหารบกที่  ๖  
     
     
         ในตอนบ่ายวันนั้นก็ได้มาขุดศพพ่อค้าญี่ปุ่นที่รับซื้อแร่ที่ฝังที่วัดชะเมา  แล้วนำศพไปเก็บไว้ด้วยกันกับศพของพนักงานบริษัทเคียวแอไคที่วัดท่ามอญ  (วัดศรีทวี) ได้มีการเปิดการเจรจากันขึ้นระหว่าง พ.ต.อ. หลวงแสงนิติศาสตร์  ผู้บังคับการตำรวจภูธรภาค  ๘  กับนายทหารญี่ปุ่น  นายทหารญี่ปุ่นแสดงอาการเกรี้ยวกราด  มีความโกรธมากที่ตำรวจไทยฆ่าคนของเขา  และต้องการเอาตัวตำรวจไทยผู้ยิงมาลงโทษ
     
        การเจรจาพูดกันไม่รู้เรื่อง  เพราะ  พ.ต.อ. หลวงแสง นิติศาสตร์ พูดภาษาอังกฤษไม่ได้  ส่วนนายทหารญี่ปุ่นพูดภาษาอังกฤษด้วยความโมโหโกรธาจึงมีผู้ไปตามครูน้อม อุปรมัย ครูสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ มาเป็นล่าม
     
         ครูน้อม  อุปรมัยได้แปลข้อความที่นายทหารญี่ปุ่นพูดกับ  พ.ต.อ. หลวงแสงนิติศาสตร์คือแปลคำพูดทั้งสองฝ่ายที่โต้แย้งกัน  นายทหารญี่ปุ่นพูดด้วยอารมณ์โกรธจัด  ชักดาบซามูไรบ่อย  ๆ  พ.ต.อ.  หลวงแสงนิติศาสตร์ตอบโต้ครูน้อม อุปรมัย แปล และพูดข้อความที่ตอบโต้นั้นที่วัดท่ามอญ (วัดศรีทวี)  ต่างอ้างเหตุผลต่อกัน  ในที่สุดเหตุการณ์โต้แย้งได้ยุติทั้งสองฝ่าย  
     

ย้อนรอยมหาสงครามเอเชียบูรพา แนวที่ ๕ กับจารกรรมในเมืองนครศรีธรรมราช ตอน ๓ การลำเลียงพล และยุทโธปกรณ์ เป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะต้องใช้แรงคนในการขนย้ายแบกหาม

           เพราะไม่มีหลักฐานยืนยันว่าตำรวจกระทำเกินกว่าเหตุ  และเป็นเวลาติดพันการรบอยู่  มีภารกิจอื่นที่ต้องปฏิบัติมาก  พวกญี่ปุ่นให้ขุดศพชาวญี่ปุ่นที่เสียชีวิตมากระทำพิธีที่วัดท่ามอญ (วัดศรีทวี)  แล้วเลิกเจรจากัน
     
           หลังจากที่เผาศพแนวที่ ๕ หรือจารชนชาวญี่ปุ่นเสร็จ ได้มีการถ่ายรูปเพื่อทำเรื่องไปยังกรุงเทพฯ เนื่องจากกองทัพญี่ปุ่นบังคับให้รัฐบาลไทย ต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตพลเรือนชาวญี่ปุ่นที่เสียชีวิตในช่วงที่ญี่ปุ่นยกทัพขึ้นบก โดยเป็นจำนวนเงินศพละ ๑,๐๐๐ บาท
     
           ซึ่งได้ทำการถ่ายรูปหน้าร้านนายมาลู เพื่อยืนยันว่าคนญี่ปุ่นได้เสียชีวิตจริง หลังจากนั้นจึงมีการส่งกล่องใส่เถ้ากระดูก ห่อด้วยผ้าขาว กลับไปยังประเทศญี่ปุ่นต่อไป
     

           นับได้ว่า แนวที่ ๕ เป็น ชาวญี่ปุ่นกลุ่มแรกในไทยที่ต้องเสียชีวิตจากมหาสงครามเอเชียบูรพา และยังมีชาวญี่ปุ่นที่ต้องเดินทางกลับในรูปเถ้ากระดูกในกล่องห่อด้วยผ้าขาว เพียงเพื่อสังเวยกับสงครามรวบอำนาจให้เอเชียเป็นหนึ่งเดียวกันอีกมากมายมหาศาล

 

ย้อนรอยมหาสงครามเอเชียบูรพา แนวที่ ๕ กับจารกรรมในเมืองนครศรีธรรมราช ตอน ๓
     
เรียบเรียงจากสัมภาษท์ และบทความ
นิเวส อัจจิมางกูร
“แด่ป๋าของลูก” ดร.  เย็นใจ  เลาหวณิช 
นายน้อม ถาวรโด
แช่ม ช่องสกุล

 

 

ติดตามบทความที่เกี่ยวข้องได้ที่

http://www.tnews.co.th/contents/395768

http://www.tnews.co.th/contents/395785

http://www.tnews.co.th/contents/396160

http://www.tnews.co.th/contents/392837
http://www.tnews.co.th/contents/395546
http://www.tnews.co.th/contents/395589
http://www.tnews.co.th/contents/395604
http://www.tnews.co.th/contents/395610
http://www.tnews.co.th/contents/395623
http://www.tnews.co.th/contents/393696

http://www.tnews.co.th/contents/393696

http://www.tnews.co.th/contents/393983

http://www.tnews.co.th/contents/392837