Star Wars ปกรณัม อนาคิน...วีรบุรุษผู้พ่ายแพ้ II

Star Wars ปกรณัม อนาคิน...วีรบุรุษผู้พ่ายแพ้ II

          ส่วน Chris Foxwell เขียนบทความเรื่อง “Anakin’s Fall : A Hypothesis” อธิบายความว่าอะไรหรือเหตุการณ์ใดที่เป็นชนวนให้ "อนาคิน" กลายเป็น ดาร์ธ เวเดอร์?
    

          เขาบอกว่าสาเหตุที่ทำให้อนาคินตกไปสู่ด้านมืดนั้น ไม่ใช่แค่ความเกลียดชังที่มากล้น (great hatred) เท่านั้น แต่ต้องเป็น “ความเกลียดชังที่เข้าใจได้” (justified hatred)...

          อนาคินใฝ่ฝันจะเป็น “เจได” ตั้งแต่เด็ก ความศรัทธาที่เขามีต่อ “เจได” ย่อมไม่เลือนหายไปได้ง่ายๆ

         อะไร ?..... ก็แล้วแต่ที่ทำให้ เขาหันกลับมาเข่นฆ่าพวกเดียวกันเอง ย่อมต้องมี “น้ำหนัก”  ที่พึ่งเข้าใจได้ด้วยเหตุปัจจัยทั้งปวง
    

          สำหรับตัวของอนาคินเอง เขามิได้เห็นด้านมืดของพลังเป็นฝ่าย “มาร”(evil) แต่เห็นเป็น “วิถีที่ลัดสั้น”  (“ง่ายกว่า” หรือ “เร็วกว่า” ในคำพูดของโยดา) ในการบรรลุเป้าหมายในเบื้องต้นเขา 

เขาจะมีความมุ่งหวังที่ดีเป็นมูลฐาน แต่กลับถูก “ล่อล่วง” ด้วยด้านมืดของพลัง
    

          ด้วยเหตุนี้ ตัวละครอย่างอนาคินนั้นจะไม่ถูกนับว่าเป็น “ฝ่ายมาร” (เช่น จักรพรรดิหรือแจ็บบา เดอะฮัตต์ ) แต่ถือเป็น “วีรบุรุษผู้พ่าย”  

          ซึ่งไม่ว่าสิ่งเลวร้ายอันใดจะเกิดขึ้นก็ตามคนดูก็ยังรู้สึกสงสารและอาจรู้สึกว่าหากตนตกอยู่ในสถานการณ์ แบบเดียวกันก็อาจจะตัดสินใจแบบเดียวกันกับอนาคิน...

          สำหรับการสรุปประเด็นต่างๆ ในตำนานจักรวาลเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “วีรบุรุษผู้พ่ายแพ้” เรื่อง “รักต้องห้าม” และเรื่อง “มาร” อย่างเป็นองค์รวม เมื่อลองไปค้นๆ ดู

          ก็พบว่าบทความขนาดยาวชื่อ “TO BE A JEDI” ของพอล เอฟ แมคโดนัลด์ นั้นดูจะเข้าเค้าครอบคลุมประเด็นมากที่สุด
    

แม็คโดนัลด์เริ่มต้นด้วยคำถามสำคัญว่า “อะไรคือนิยาม  “ตัวตน” ของเจได?
 

          แน่นอนว่า “เจได” เป็นอัศวินผู้พิทักษ์จักรวาล แต่อะไรคือ “ตัวตน” ของพวกเขา? ชื่อเสียงเรียงนาม?(โยดา โอบี-วันหรืออนาคิน) สถานะระหว่าง “อาจารย์” กับ “ศิษย์”? หรือความรู้สึกเชื่อมต่อเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ประกอบพื้นฐานของจักรวาลที่เรียกว่า “พลัง”?

          แม็คโดนัลด์บอกว่าใน Episode I-II นั้นมีความชัดเจนว่าเกิด “วิกฤตตัวตน” (crisis of identity) ขึ้นในหมู่เจได โดยเฉพาะเจได หนุ่มที่มีชื่อว่า “อนาคิน สกาย วอล์คเกอร์”

         โดยสรุปก็คือเราจะพบว่า “วีรบุรุษ”

 

 

ติดตามอ่านหัวข้อที่เกี่ยวข้องได้ที่

http://www.tnews.co.th/contents/396199

http://www.tnews.co.th/contents/396258

http://www.tnews.co.th/contents/393982

http://www.tnews.co.th/contents/393957

http://www.tnews.co.th/contents/396445

http://www.tnews.co.th/contents/396448

http://www.tnews.co.th/contents/396456